Newsก้าวไกลหนุนซื้อเรือรบ ‘วิโรจน์’ ชี้ไทยซื้อเรือฟรีเกตมูลค่า 17,000 ล้าน เป็นเรื่องคุ้มค่า และเป็นครั้งแรกที่มีการต่อเรือในไทย ทำให้เกิดการจ้างงาน

ก้าวไกลหนุนซื้อเรือรบ ‘วิโรจน์’ ชี้ไทยซื้อเรือฟรีเกตมูลค่า 17,000 ล้าน เป็นเรื่องคุ้มค่า และเป็นครั้งแรกที่มีการต่อเรือในไทย ทำให้เกิดการจ้างงาน

สืบเนื่องจากกรณีที่กองทัพเรือได้ยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมาธิการ (กมธ.) พิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 ในโครงการจัดหาเรือฟริเกต 17,000 ล้านบาท เมื่อวันที่ 5 มี.ค. 2567 แต่ถูกปฏิเสธ

 

โดย น.ส.พนิดา มงคลสวัสดิ์ สส.สมุทรปราการ พรรคก้าวไกล ระบุว่า สียดายที่ปีนี้เราจะไม่ได้เรือฟริเกตมาเพิ่มขีดความสามารถของกองทัพเรือ” เนื่องจากตั้งงบประมาณไม่ทันปี67 และ 68 แต่ให้เสนอมาในปี 69 ซึ่งจะเป็นปีที่ รล. รัตนโกสินทร์ ปลดระวางพอดี

 

ในขณะที่นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อพรรคก้าวไกล และประธาน กมธ.ทหาร สภาผู้แทนราษฎร โพสต์เฟสบุ๊กเมื่อวันที่ 1 มี.ค. 2567 ระบุว่า กมธ.ทหาร ไม่คัดค้านการจัดซื้อเรือฟริเกต เนื่องจากเป็นการต่อเรือในประเทศไทย ก่อให้เกิดการจ้างงาน และการถ่ายทอดเทคโนโลยี

 

“นับเป็นการต่อเรือรบขนาดใหญ่ขนาดนี้ครั้งแรกในประวัติศาสตร์ ซึ่งทำให้เกิดการจัดจ้าง และจัดซื้อภายในประเทศมูลค่าหลายพันล้านบาท และยังมีคุณูปการด้านการถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านวิศวกรรมการต่อเรือภายในประเทศ ส่งผลเชิงบวกต่อเศรษฐกิจ และการพัฒนาของประเทศในระยะยาว” นายวิโรจน์ระบุ

 

และในวันที่ 29 ก.พ. 2567 นายวิโรจน์ยังได้ชื่นชมแผนการจัดซื้อเครื่องบินรบรุ่น F-16 จากอเมริกา และ กริฟเพนจากสวีเดนของกองทัพอากาศไทยว่ามีความโปร่งใสและรอบคอบ

 

การเปลี่ยนแปลงท่าทีของพรรคก้าวไกลจากเดิมที่เคยคัดค้านอย่างสุดตัวโครงการจัดซื้อเรือดำน้ำ มาเป็นการสนับสนุนการจัดซื้อเรือฟริเกต ซึ่งมีราคาแพงกว่าถึง 1 หมื่นล้านบาท ถึงแม้ว่าจะเป็นพรรคผู้นำฝ่ายค้าน ทำให้เกิดการตั้งข้อสังเกตว่าเป็นเพราะว่าเป็นยุทโธปกรณ์ของฝั่ง NATO หรือไม่

 

เนื่องจากมีรายงานว่าเรือรบที่ถูกเสนอให้พิจารณานั้นเป็นเรือรบจาก 6 ประเทศได้แก่ ฮอลแลนด์ เยอรมัน  สเปน  อตาลี ตุรกี และเกาหลีใต้ และรายได้ที่คาดว่าจะได้คืนกลับมาจากการจ้างงานนั้นมีการประมาณการว่าจะมีมูลค่า 3 พันล้านบาท


ซึ่งนี่เป็นสิ่งที่ตอกย้ำความเห็นจากสื่อจีน ที่เผยแพร่ข่าวเมื่อวันที่ 24 ต.ค. 2566 ว่ามีเงามืดของนักการเมืองในประเทศไทยที่มีจุดยืนโปรตะวันตกเข้ามามีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อเรือดำน้ำไทย อีกทั้งยังระบุว่าในช่วงที่ผ่านมากองทัพเรือไทยมีแผนเพิ่มเรือฟริเกตจาก 4 เป็น 8 ลำ แต่ฝ่ายนิติบัญญัติของไทยยังคงขัดขวางแผนการซื้อเรือฟริเกตจีน

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า