
เล็งดึงดูดนักลงทุน ‘บีโอไอ’ เตรียมเสนอนักลงทุนให้เข้ามาลงทุนใน อุตสาหกรรมดิจิทัล, อีวี และแลนด์บริดจ์
13 พ.ย. 66 นายนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ให้สัมภาษณ์ถึงกำหนดการของนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังว่านายก ฯ จะพบปะผู้บริหารระดับสูงของบริษัทเป้าหมายในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ดิจิทัล และ EV และพบปะกับผู้ประกอบการไทยในสหรัฐอเมริกา เพื่อสร้างศักยภาพความร่วมมือในอนาคต และผลักดันไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตอีวีในภูมิภาค
นายนฤตม์ กล่าวว่า ตลาดอีวีในไทยเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยช่วง 9 เดือนที่ผ่านมา มียอดจดทะเบียนรถอีวีมากกว่า 6,000 คัน เพิ่มขึ้น 7 เท่าเมื่อเทียบกับปีก่อน ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงที่สุดในภูมิภาค และเป็นจุดดึงดูดให้ผู้ผลิตยานยนต์อีวีเข้ามาเปิดตลาดลงทุนในประเทศไทย
อีกทั้งการประกาศมาตรการต่อเนื่องจาก อีวี 3 ของคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ (บอร์ดอีวี) ที่นายกฯ เป็นประธานเองก็แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของรัฐบาลไทยที่ต้องการให้ไทยเป็นผู้นำของภูมิภาคในการเป็นฐานผลิตอีวีและเป็นท็อปเท็นของโลก ซึ่งจะเป็นสร้างความมั่นใจให้แก่นักลงทุนในการเข้ามาลงทุนใรปะเทศไทยเพิ่มมากขึ้น
นายก ฯ มีกำหนดการจะพบกับผู้ประกอบการด้านดิจิทัล เช่น บริษัท อะเมซอน เว็บ เซอร์วิส (AWS) บริษัท Google และบริษัท ไมโครซอฟต์ โดยบริษัทอเมซอนที่ประกาศร่วมลงทุนในไทยในต้นปีหน้า ด้วยเม็ดเงินลงทุนกว่า 2 แสนล้านบาทเพื่อสร้าง data center 3 แห่ง
.
ส่วนบริษัท Google และบริษัทไมโครซอฟต์นั้น นายก ฯ จะพยายามดึงดูดให้บริษัทเหล่านี้ เข้ามาตั้งฐาน data center และคลาวน์ เซอร์วิสในไทย รวมถึงมาช่วยยกระดับเรื่องดิจิทัลอินฟอร์เมชั่น ซึ่งรวมไปถึงการพัฒนาบุคลากรด้านดิจิทัลด้วย
ด้านอิเล็กทรอนิกส์ นายกฯ จะพบบริษัท ADI และบริษัท HP ซึ่งมีความสในใจในประเทศไทยเพราะอิเล็กทรอนิกส์เป็นสินค้ายุทธศาสตร์ที่ประเทศทั่วโลกต้องการดึงให้ไปผลิตที่ประเทศตัวเอง โดยเฉพาะสมาร์ทอิเล็กทรอนิกส์ และที่ผ่านมาการผลิตในประเทศไทยเป็นการผลิตกลางน้ำ และรัฐบาลต้องการที่จะยกระดับการผลิตให้เข้าไปสู่ต้นน้ำมากขึ้น
นายนฤตม์ กล่าวว่าประเทศไทยมีโครงสร้างพื้นฐานที่มีความพร้อมมากที่สุดในภูมิภาค ไม่ว่าจะเป็นไฟฟ้า นิคมอุตสาหกรรม ท่าเรือ สนามบินที่มีคุณภาพ และซัพพลายเชนของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิสก์ที่มีผู้ผลิตชิ้นส่วนกว่า 2,000 ราย ที่มีทักษะสูง มีประสบการณ์ทำงานกับบริษัทระดับโลกมาหลาย 10 ปี อีกทั้งยังมีความต้องการพลังงานสะอาด และความเป็นกลางทางคาร์บอน ซึ่งจะเป็นจุดแข็งที่สำคัญในการดึงดูดนักลงทุน
ส่วนปัญหาค่าแรงของไทย จะไม่สร้างความกังวลใจต่อบริษัทเหล่านี้ เนื่องจากเน้นใช้เทคโนโลยีขั้นสูงและนวัตกรรม มีความต้องการแรงงานที่มีขีดความสามารถสูงมากกว่า อีกทั้งไทยเปิดช่องให้มีการนำเข้าบุคลากรหลายสาขาจากต่างประเทศ เพื่อมาพัฒนาอุตสาหกรรมให้เติบโตอย่างรวดเร็ว โดยมีไทยเป็นศูนย์กลาง และเมื่อธุรกิจเหล่านี้มีการขยายฐานการผลิตจะทำให้เกิดการจ้างงาน
ทั้งนี้ บีโอไอ ตั้งเป้าจะดึงบริษัทชั้นนำไม่น้อยกว่า 100 บริษัทภายใน 4 ปี เพื่อทำให้ให้เกิดการจ้างงานที่มีคุณค่าสูงกว่า 10,000 ตำแหน่ง ซึ่งในขณะนี้ประเทศไทยมีบริษัทชั้นนำที่ใช้เมืองไทยเป็นฐานมากมาย เช่น agoda ที่มีการจ้างงานคนไทย 1 พันคน ต่างชาติ 2 พันคน โดยมีการพัฒนาที่ประเทศไทย
สำหรับโครงการแลนด์บริดจ์ ก็เป็นอีกหนึ่งโครงการสำคัญที่จะมีการเชิญชวนนักลงทุนให้เข้ามาลงทุน ซึ่งโครงการแลนด์บริดจ์เป็นโครงการที่ใหญ่มากที่มีทั้งท่าเรือ การคมนาคมขนส่ง รวมถึงพื้นฐานอุตสาหกรรมบริเวณโดยรอบที่จะมารองรับกลุ่มงานอุตสาหกรรมที่มาลงในพื้นที่ตรงนี้