Newsเปิดเอกสารลับ ธปท. กังวลต่อมาตรการพักชำระหนี้เกษตรกร ชี้ ไม่ใช่มาตรการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน ขาดมาตรการช่วยเหลือที่เป็นรูปธรรม

เปิดเอกสารลับ ธปท. กังวลต่อมาตรการพักชำระหนี้เกษตรกร ชี้ ไม่ใช่มาตรการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน ขาดมาตรการช่วยเหลือที่เป็นรูปธรรม

วันที่ 29 ก.ย. 66 สำนักข่าวฐานเศรษฐกิจเผยแพร่เอกสารลับจาก ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เพื่อประกอบการพิจารณาในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 26 ก.ย. 66 เพื่อประกอบการพิจารณามาตรการพักชำระหนี้เกษตรกร

 

ทั้งนี้ ในวันที่ 26 ก.ย. 66 ครม. มีมติเห็นชอบมาตรการพักชำระหนี้ให้กับลูกหนี้รายย่อยเป็นเวลา 3 ปี ตามนโยบายรัฐบาลระยะที่ 1 โดยรัฐบาลจะจัดสรรงบประมาณมาชดเชยภาระดอกเบี้ยให้กับ ธ.ก.ส.วงเงิน 11,096 ล้านบาท และอีก 1,000 ล้านบาท ใช้ในโครงการการพัฒนาศักยภาพเพื่อฟื้นฟูลูกหนี้ ธ.ก.ส.ที่เข้าร่วมมาตรการดังกล่าว

 

ซึ่งทาง ธปท. ได้แสดงข้อกังวลผ่านหนังสือลับ แสดงความกังวลเกี่ยวกับมาตรการพักชําระหนี้เกษตรกร เนื่องจากแนวทางในภาพรวมอาจยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาหนี้เกษตรกรได้อย่างยั่งยืน ใน 3 ประเด็น ซึ่งฐานเศรษฐกิจรายงานถึง ทั้ง 3 ประเด็นดังนี้

 

“ประเด็นที่ 1 : การพักชําระหนี้ไม่ควรเป็นเครื่องมือหลักของรัฐในการแก้ไขปัญหาหนี้สินให้กับเกษตรกรทุกกลุ่ม จากสถานการณ์หนี้ในปัจจุบัน รัฐควรให้ความสําคัญกับการแก้ไขปัญหาให้แก่กลุ่มหนี้เรื้อรังที่มีจํานวนกว่าครึ่งของลูกหนี้ ธ.ก.ส. ที่มีภาระหนี้สูงจนไม่สามารถชําระหนี้เพื่อลดต้นเงิน และไม่สามารถแก้ไขหนี้ด้วยตนเองได้ ซึ่งยังไม่มีนโยบายช่วยเหลืออย่างเป็นรูปธรรม (policy gap)

 

ประเด็นที่ 2 : การพักชําระหนี้ในครั้งนี้เป็นการพักหนี้แบบวงกว้าง ดังนั้นภายใต้งบประมาณที่จํากัด รัฐจึงกําหนดกลุ่มเป้าหมายตามยอดหนี้คงค้างไม่เกิน 300,000 บาท ทําให้การช่วยเหลือไม่ตรงจุด ทําให้รัฐไม่สามารถให้ความช่วยเหลือแก่กลุ่มลูกหนี้ที่ควรได้รับความช่วยเหลือได้อย่างทั่วถึง และครอบคลุม

 

ประเด็นที่ 3 : การพักหนี้โดยไม่มีกลไกจูงใจให้ลูกหนี้ที่มีศักยภาพยังชําระหนี้ต่อเนื่อง จะส่งผลต่อวินัยทางการเงินของลูกหนี้ ทําให้ลูกหนี้ที่เคยมีพฤติกรรมชําระหนี้ดีอาจหยุดชําระหนี้ เกิดปัญหา moral hazard ช่วยให้ลูกหนี้ตกอยู่ในวังวนหนี้โดยไม่จําเป็น และกลายเป็นหนี้เรื้อรังมากขึ้น ซึ่งจะกลายเป็นภาระของภาครัฐและ ธ.ก.ส. ในระยะข้างหน้า”

นอกจากนี้ ฐานเศรษฐกิจยังรายงานถึงแนวทางเพิ่มเติมเพื่อป้องกันมิให้ปัญหาหนี้เกษตรกรเรื้อรังและรุนแรงมากขึ้น โดยมีข้อความว่า

 

“1. กําหนดแนวทางแก้ไขหนี้จะต้องสอดคล้องกับศักยภาพและปัญหาของลูกหนี้แต่ละกลุ่ม โดยควรให้ความสําคัญกับการช่วยเหลือกลุ่มลูกหนี้เรื้อรัง (persistent debt) ที่การพักหนี้จะยิ่งทําให้ความเป็นหนี้เรื้อรังยืดเยื้อขึ้น แต่ควรส่งเสริมให้ ธ.ก.ส. ปรับโครงสร้างหนี้ให้สอดคล้องกับศักยภาพลูกหนี้อย่างทั่วถึง รวมทั้งรัฐควรมีมาตรการช่วยแบ่งเบาภาระหนี้ที่ทําให้ลูกหนี้สามารถลดภาระหนี้ได้ในระยะยาว

 

  1. การพักหนี้ในครั้งนี้ ควรมีกลไกสร้างแรงจูงใจให้ลูกหนี้ที่มีศักยภาพยังชําระหนี้ต่อเนื่อง โดยออกแบบมาตรการที่ให้ผลตอบแทนแก่ลูกหนี้มากพอที่จะยังชําระหนี้ต่อ ซึ่งอาจทําได้ โดย หากลูกหนี้ชําระหนี้ระหว่างเข้าร่วมมาตรการให้ตัดชําระต้นทั้งจํานวน และรัฐอาจมีมาตรการ จูงใจเพิ่มเติม เช่น การให้เงินสมทบเพิ่มเติมเป็นสัดส่วนของการชําระหนี้ เป็นต้น

 

  1. การพักหนี้ในครั้งนี้ ควรเป็นการพักระยะสั้นเพียง 1 ปี เพื่อเตรียมความพร้อมสําหรับ การดําเนินมาตรการช่วยเหลือเฉพาะกลุ่มในระยะต่อไป โดยในระหว่างพักชําระหนี้ต้องกําหนดให้ ธ.ก.ส. ประเมินความสามารถในการชําระหนี้ของลูกหนี้ และปรับปรุงโครงสร้างหนี้เฉพาะรายให้แก่ลูกหนี้ ทุกรายให้แล้วเสร็จก่อนสิ้นสุดระยะเวลาพักชําระหนี้ในปีแรก รวมถึงจัดเตรียมแนวทางและระบบงาน สําหรับดําเนินมาตรการช่วยเหลือเฉพาะกลุ่มลูกหนี้ที่มีปัญหาได้อย่างทั่วถึงในระยะต่อ ๆ ไป เพื่อป้องกัน คุณภาพสินเชื่อที่อาจกลายเป็นหนี้ด้อยคุณภาพเฉียบพลัน (NPL cliff effect) หลังสิ้นสุดมาตรการ

 

  1. การพักหนี้ในครั้งนี้จะสัมฤทธิผลได้ รัฐจะต้องให้ความสําคัญกับการประชาสัมพันธ์ และสื่อสารทําความเข้าใจกับลูกหนี้ถึงเจตนารมณ์และเงื่อนไขของโครงการอย่างชัดเจน ครบถ้วน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง 2 ประเด็นหลัก ที่แตกต่างออกไปจากมาตรการในอดีต ได้แก่

    1 เกษตรกรต้องสมัคร เข้าร่วมโครงการ และต้องดําเนินการตามเงื่อนไขที่กําหนด

    2 เมื่อเกษตรกรเข้าโครงการรัฐยังสนับสนุน ให้ลูกหนี้ยังชําระหนี้โดยมีมาตรการจูงใจ โดยการสื่อสารต้องทําให้ชัดเจนตั้งแต่ การประกาศนโยบายในวงกว้างจากรัฐบาล การสื่อสารมาตรการของ ธ.ก.ส. ไปยังประชาชนและพนักงานสาขาของ ธ.ก.ส. รวมถึง พนักงานสาขา ธ.ก.ส. จะต้องชี้แจงและให้ข้อมูลที่ครบถ้วนต่อลูกหนี้ที่แจ้งความประสงค์เข้าร่วมโครงการเพื่อให้ลูกหนี้สามารถวางแผนบริหารจัดการหนี้ได้อย่างเหมาะสม

 

  1. กําหนดแผนการติดตามและประเมินประสิทธิภาพโครงการอย่างต่อเนื่อง และรายงานต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นประจํา เพื่อประเมินผลสําเร็จของโครงการ ความคุ้มค่าของงบประมาณ รวมทั้ง ติดตามการฟื้นฟูการประกอบอาชีพของลูกหนี้ว่าเป็นไปตามเจตนารมณ์ของโครงการหรือไม่ 

 

เช่น การติดตามว่าเม็ดเงินที่รัฐได้ช่วยลดภาระการชําระหนี้ให้แก่เกษตรกร รวมถึงสินเชื่อเพื่อฟื้นฟูการประกอบ อาชีพที่มีการตั้งวงเงินเพิ่มเติมนั้น ได้นําไปลงทุน ปรับเปลี่ยน หรือขยายการลงทุนในการประกอบอาชีพและปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตให้ดียิ่งขึ้นตามเป้าประสงค์ของโครงการหรือไม่ เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการทบทวนรายละเอียดของโครงการในระยะต่อไป”

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า