Newsโศกนาฏกรรมจากสงครามข่าวสาร และความเบาปัญญาของผู้นำ ผู้ตัดสินใจจากเสียงข่าวลือ จนเป็นเหตุให้ทหาร 4 แสนคนถูกฝังตายทั้งเป็น

โศกนาฏกรรมจากสงครามข่าวสาร และความเบาปัญญาของผู้นำ ผู้ตัดสินใจจากเสียงข่าวลือ จนเป็นเหตุให้ทหาร 4 แสนคนถูกฝังตายทั้งเป็น

ย้อนกลับไปในอดีต เมื่อ 262 ปีก่อนคริสตกาล ในประเทศจีนยุคสงครามรฐรัฐ (ชุนชิว) ซึ่งในเวลานั้นประเทศจีนแตกออกเป็น 7 รัฐ ทำสงครามรบพุ่งแย่งชิงความเป็นใหญ่ระหว่างกัน รัฐฉิน ซึ่งเป็นมหาอำนาจในสมัยนั้น ยกทัพรุกรานรัฐจ้าว โดยทั้งสองกองทัพตั้งประจันหน้ากันที่ช่องแคบฉางผิง ซึ่งปัจจุบันคือแนวเขตแดนระหว่างเมืองเกาผิง และเทศมณฑลฉางซี ในมณฑลส่านซี

 

หวังเฮ่อ แม่ทัพใหญ่รัฐฉี นำกำลังพล 555,000 นาย รบพุ่งชิงชัยกับ เหลียงป๋อ แม่ทัพใหญ่รัฐจ้าว ซึ่งคุมกำลัง 450,000 นาย ต่างฝ่ายต่างก็รบพุ่งกันอย่างยืดเยื้อ แต่เสมอกันมาตลอดเป็นระยะเวลายาวนานถึง 2 ปี 

 

แม่ทัพของทั้ง 2 ฝ่ายต่างก็เป็นแม่ทัพเจนศึกที่มีชื่อเสียงในหน้าประวัติศาสตร์ทั้งคู่ โดยเฉพาะเหลียงป๋อ แม่ทัพรัฐเจ้าที่ได้รับการยกย่องให้เป็น 1 ใน 4 แม่ทัพผู้ยิ่งใหญ่แห่งปลายยุคชุนชิวเลยทีเดียว และยุทธศาสตร์การรบของเหลียงป๋อในการศึกในครั้งนี้คือ การตั้งรับเพื่อถ่วงเวลาให้ทัพฉินหมดแรงไปเอง

ยุทธศาสตร์ของเหลียงป๋อนั้นถือได้ว่าถูกต้อง เนื่องจากทัพฉินต้องเดินทัพออกมาทำศึกนอกบ้านของตัวเอง มีค่าใช้จ่ายด้านเสบียงที่สูงกว่า ในขณะที่ทั้ง 2 ฝ่ายมีการใช้ชาวบ้าน มาเป็นกำลังรบ ซึ่งในเวลาปกติชาวบ้านเหล่านี้คือชาวนา ซึ่งเป็นผู้ผลิตหลักของรัฐในสมัยนั้นมาใช้ในอัตราที่ใกล้เคียงกัน

 

จึงกล่าวได้ว่ายิ่งตรึงทัพทำศึกยืดเยื้อ รัฐฉินจะประสบปัญหาด้านเศรษฐกิจสูงกว่า อีกทั้งยังต้องเผชิญหน้ากับความเสี่ยงที่จะถูกรัฐอื่นยกทัพเข้ารุกราน รัฐฉินเองก็ทราบดีว่าการทำศึกยืดเยื้อจะส่งผลร้ายต่อรัฐมากกว่า และร้อนใจยิ่งกว่า จึงดำเนินอุบายทางการเมืองเพื่อโค่นทำลายรัฐจ้าวจากภายในแทน

 

รัฐฉินทำ “สงครามข่าวสาร” กับรัฐจ้าว ด้วยการส่งคนไปปล่อยข่าวในรัฐจ้าวว่า “เหลียนป๋อ แก่และขี้ขลาดเกินกว่าที่จะสู้กับทัพฉิน” และ “ทัพฉินไม่เกรงกลัวเหลียนป๋อ แต่เกรงกลัวจ้าวคว่อมากกว่า”

 

จ้าวคว่อ เป็นบุตรชายของแม่ทัพจ้าวเชอ ซึ่งเจ้าเชอเป็นทั้งนักปกครอง และขุนพลผู้มีชื่อเสียงของรัฐจ้าว เคยมีประวัติรบชนะทัพฉินมาก่อน ในขณะที่จ้าวคว่อนั้น เป็นนักวิชาการด้านยุทธศาสตร์ที่มีชื่อเสียงในรัฐจ้าวในเวลานั้น ว่ากันว่าเขามีความสามารถในการถกการยุทธบนแผนที่ได้เก่งกาจ เก่งจนจ้าวเชอ ผู้พ่อยังสู้แพ้ แต่จ้าวคว่อนั้น ไม่มีประสบการณ์ในการคุมทัพออกสู้รับจริงเลยสักครั้งเดียว

 

ภายใต้การทำสงครามข่าวสารที่ได้ผลของรัฐฉิน ทำให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ถึงความเหมาะสมของเหลียงป๋อในการนำทัพสู้ศึกรัฐฉินในครั้งนี้ กษัตริย์จ้าวเสี้ยวเฉิง กษัตริย์แห่งรัฐจ้าวทรงเชื่อคำเหล่านั้น จึงทรงมีพระบรมราชโองการให้มีการเปลี่ยนตัวแม่ทัพ จากเหลียงป๋อ แม่ทัพเจนศึก เป็น จ้าวคว่อ นักวิชาการผู้ด้อยประสบการณ์

 

ทางฝ่ายรัฐฉิน เมื่อทราบว่ารัฐจ้าวมีการเปลี่ยนตัวแม่ทัพ ก็เปลี่ยนตัวแม่ทัพด้วยเช่นกัน โดยให้ “หวังฉี” ซึ่งเป็นอีก 1 ใน 4 แม่ทัพผู้ยิ่งใหญ่แห่งยุค และมีความสามารถด้าน “การสู้รบแบบทำลายล้าง (Battle of Annihilation)” มากกว่า หมายจะกวาดล้างทำลายทัพจ้าวให้ย่อยยับในการศึกครั้งนี้

 

เดือนกรกฎาคม 260 ปีก่อนคริสตกาล เมื่อทัพของหวังฉี และจ้าวคว่อเริ่มปะทะกัน การทำลายล้างแต่ฝ่ายเดียวของรัฐฉินก่อเริ่มขึ้น สถานการณ์ของรัฐจ้าวกลับกลายเป็นสิ้นหวัง จ้าวคว่อถูกปิดล้อม และถูกสังหารกลางสนามรบ ทหารจ้าวกว่า 4 แสนนายยอมจำนน และถูกสังหารทิ้งด้วยการฝังทั้งเป็น

 

แม้จนถึงในปัจจุบันนี้ เหตุการณ์ดังกล่าวยังถูกจัดอันดับให้เป็นเหตุการณ์สังหารหมู่ที่มีจำนวนผู้เสียชีวิตสูงที่สุดเป็นอันดับต้น ๆ ในประวัติศาสตร์โลก 

 



เรื่องราวข้างต้นนี้ ถือได้ว่าเป็นบทเรียนของการทำสงครามข่าวสาร (Information Warfare: IO) ยุคโบราณ ที่อาศัยการสร้างข่าวปลอม (Fake News) เพื่อทำลายฝ่ายตรงข้ามอย่างได้ผล อีกทั้งยังเป็นบทเรียนของผู้นำ ที่ตัดสินใจโดยไม่ยืนอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง ไม่เข้าใจยุทธศาสตร์การบริหารประเทศ แต่นำเสียงข่าวลือมาใช้ในการตัดสินใจ กษัตริย์จ้าวเสี้ยวเฉิง ทรงมีพระชนม์ชีพหลังเหตุการณ์ดังกล่าวต่อมาได้อีก 15 ปี ในขณะที่ประชาชนของพระองค์กว่า 4 แสนนายคือผู้รับกรรม

 

ถึงแม้ว่าในปัจจุบัน โลกของเราจะมีระบอบประชาธิปไตย มีผู้นำที่มาจากการตัดสินใจเลือกของประชาชน แทนการสืบทอดอำนาจโดยสายเลือดแล้วก็ตาม แต่สัจธรรมเรื่อง “ผู้นำโง่เราจะตายกันหมด” นั้นเป็นนิรันดร์ เรื่องนี้จึงถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งข้อเตือนใจสำหรับประชาชนด้วยเช่นกันว่า ถ้าหากเราเลือกผู้แทน หรือผู้นำที่ไม่มีความสามารถ สุดท้ายก็จะเป็นตัวประชาชนเองนั่นแหละที่จะต้องรับกรรม

ดังนั้น เพื่อให้ระบอบประชาธิปไตยของประเทศมีประสิทธิภาพ ประชาชนทุกคนในฐานะผู้ตัดสินใจเลือกผู้แทนของตน จึงควรมีความเข้าใจในแนวทางการบริหารและพัฒนาประเทศ เพื่อการเลือกผู้นำที่ดี มีความสามารถที่จะนำพาประเทศชาติไปสู่ความรุ่งเรือง

 

โดย ศิราวุธ ภุมมะกสิกร

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า