News“ผมมั่นใจว่าผ่าน!” ‘เศรษฐา’ โต้ ‘ศิริกัญญา’ เชื่อ ‘ดิจิทัล วอลเล็ต’ จะโหวตผ่านในสภา

“ผมมั่นใจว่าผ่าน!” ‘เศรษฐา’ โต้ ‘ศิริกัญญา’ เชื่อ ‘ดิจิทัล วอลเล็ต’ จะโหวตผ่านในสภา

สืบเนื่องจากกรณีที่ น.ส.ศิริกัญญา ตันสกุล รองหัวหน้าพรรคก้าวไกล กล่าวถึงโครงการดิจิทัลวอลเล็ต แจกเงิน 10,000 บาท ว่าอาจไม่เกิดขึ้นจริง และอาจไม่ผ่านสภานั้น

 

วันที่ 13 พ.ย. 66 นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้กล่าวตอบโต้ว่า  “ผมมั่นใจว่าเสียงของผม อย่างพรรคร่วมรัฐบาลมี 320 เสียง ผมว่าเสียงของผมมั่นคง และเราทำงานเป็นทีม เชื่อว่าผ่าน”

 

นายเศรษฐายังกล่าวด้วยว่า ตนเองมีความมั่นใจว่าประชาชนจะได้รับเงินดิจิทัล 10,000 บาท แต่ที่ผ่านมาโครงการต้องล่าช้าเพราะรัฐบาลต้องการรับฟังความคิดเห็นจากทั้งหมด ทั้งเรื่องการออก พ.ร.บ. กำหนดเกณฑ์คนรวย การจำกัดรายได้ที่พูดคุยและถกเถียงกัน 

 

อีกทั้งยังมีความมั่นใจว่านโยบายนี้เป็นนโยบายที่ดี เหมาะสม และไม่เกี่ยวกับเรื่องเทคนิคหรือกฎหมาย รัฐบาลทำถูกต้องทั้งหมด และทางคณะกรรมการกฤษฎีกาคงจะให้ข้อคิดเห็นในเชิงที่เป็นบวกและเราสามารถทำโครงการนี้ได้ 

 

นายเศรษฐากล่าวต่อว่าถึงแม้ว่าประเทศเราจะไม่มี GDP ติดลบ แต่เราไม่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจ มี GDP เพียง 1.9 % ต่อปี ซึ่งประเทศอื่นโตกว่าเรา 2 เท่า คู่แข่งของเรามีการเติบโต และถ้าไม่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจ วันหนึ่งอาจไม่มีใครอยากมาลงทุนที่ไทย 

 

“รัฐบาลเชื่อว่าเราอยู่ในวิกฤตที่ต้องการการกระตุ้น แม้คนอื่นจะบอกว่าไม่จำเป็น ไม่ต้องใช้เงินขนาดนี้ กระตุ้นแค่คนจนที่มีรายต่ำจริงๆก็พอ หากเถียงกันไปอย่างนี้ก็ไม่จบ” นายเศรษฐา กล่าว

 

นายเศรษฐากล่าวต่อว่า โครงการไม่ได้มีเพียงการแจกเงิน แต่ยังมีโครงการ e-Refund หากมีการใช้จ่ายจะได้เงินคืนประมาณ 1 หมื่นบาท เทียบเท่ากับเงินในโครงการดิจิทัลวอลเล็ต อีกทั้งยังมีโครงการระยะยาวในกองทุนส่งเสริมการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมใหม่อีกด้วย

 

สำหรับข้อสงสัยเรื่องเงินฝาก 5 แสนบาทนั้น นายเศรษฐากล่าวว่า นับเฉพาะเงินฝากอย่างเดียว ไม่นับกองทุนรวมเพราะตรวจสอบไม่ได้ ส่วนเงินเกษียณ ถ้าไปในบัญชีก็นับรวมด้วย ส่วนเงินสดที่เก็บอยู่ที่บ้านไม่นับ และการตรวจสอบจะเริ่มตรวจตั้งแต่เดือนกันยายน 66 

 

สำหรับที่มาของการออก พรก. เงินกู้เพื่อใช้ในโครงการนั้น นายเศรษฐากล่าวว่า เป็นคำแนะนำของผู้ว่าธนาคารแห่งประเทศไทย เพราะขณะนี้ยังมีเพดานเงินกู้เหลืออยู่ และการกู้จะดันยอดหนี้สาธารณะจาก 61% เป็น 64% ต่อ GDP หากยกระดับ GDP ขึ้นไป สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อจีดีพีจะลดตามไป แม้หนี้จะเพิ่มแต่ถ้าจีดีพีมากกว่าหนี้จะลดลง



เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า