News5 ประเด็นท้าทายประเทศไทย อดีตผู้ว่า ธปท. ชี้ 5 โจทย์โครงสร้างประเทศเพื่อการพัฒนา

5 ประเด็นท้าทายประเทศไทย อดีตผู้ว่า ธปท. ชี้ 5 โจทย์โครงสร้างประเทศเพื่อการพัฒนา

 นายวิรไท สันติประภพ อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และประธานกรรมการบริหารมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ร่วมการประชุมประจำปี 2666 ของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เมื่อวันที่ 18 ก.ย. 66 โดยกล่าวถึง 5 โจทย์ท้าทายประเทศไทยเพื่อเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประเทศให้เท่าทันโลก ซึ่งมีใจความสรุปดังนี้


1 โครงสร้างภาคการผลิต
—-

ผลิตภาพ (Productivity: อัตราส่วนชี้วัดประสิทธิภาพการผลิต โดยเปรียบเทียบระหว่างมูลค่าที่ได้ กับปัจจัยที่ใช้เพื่อการผลิตสินค้าและบริการนั้น ๆ) ของหลายภาคการผลิตของไทยอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับประเทศคู่แข่ง ซึ่งหลายประเทศในภูมิภาคของเรามีการพัฒนาในขณะที่ไทยเรายังติดกับดักด้านนี้อยู่

 

ในภาคเกษตรของไทย ซึ่งหลายคนฝากชีวิตเอาไว้นั้นมีอัตราผลผลิตต่อไร่ที่ต่ำมาก แทบจะทุกพืชหลัก ต่ำกว่าประเทศคู่แข่งสำคัญของเรา ในขณะที่ภาคการบริการของเรา ยังคงติดอยู่กับการบริการพื้นฐานดั้งเดิม แม้แต่ภาคการท่องเที่ยวของเราเองก็มีผลิตภาพที่ต่ำ ไม่ได้เป็นบริการดิจิทัลสมัยใหม่ ส่วนอุตสาหกรรมพื้นฐานของกลุ่ม SME เราเองก็ติดกับดักผลิตภาพเช่นกัน

 

นี่เป็นโจทย์สำคัญมากว่า ทำอย่างไร ที่จะทำให้ผลิตภาพของเราเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะในภาคเศรษฐกิจที่คนจำนวนมากฝากชีวิตไว้

 


2 โครงสร้างของระบบรัฐ


โครงสร้างของระบบรัฐของไทย ระบบราชการ ระบบรัฐวิสาหกิจ เป็นโครงสร้างหรือกรอบอำนาจหน้าที่ต่างๆ ยังถูกสร้างขึ้นตามแบบโลกเดิม ไม่ได้เอื้อกับการทำงาน ที่จะตอบโจทย์โลกแบบใหม การทำงานแบบใหม่ของประเทศ หรือของโลก วิธีการแก้ปัญหาของเรา คือ การตั้งคณะกรรมการฯ และมีคณะกรรมการฯเต็มไปหมด มีแต่กิจกรรม แต่จะไม่มีผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น เป็นปัญหาความล้มเหลวในการประสานงาน (Coordination failure) ที่ใหญ่มาก

 

ปัญหานี้จะเป็นปัญหาที่เราจะขับเคลื่อนเรื่องใหม่ ซึ่งต้องอาศัยการมองจากหลากหลายมิติ มีการประสานพลังจากหลากหลายมิติ


3 ระบบนิติรัฐ และการคอร์รัปชัน  



4-5 ปีที่ผ่านมา เราจะเห็นว่าสถานะของประเทศไทยไม่ได้ดีขึ้น และไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างจริงจังเลยในเรื่องคอร์รัปชัน  อีกทั้งมีหลายเหตุการณ์ที่คนแคลงใจระบบนิติรัฐ’ของไทยมากขึ้นด้วย การคอร์รัปชัน ทำลายการแข่งขัน ทำลายผลิตภาพ เพราะการแข่งขันไม่ได้ตั้งอยู่ที่ความสามารถแต่ขึ้นอยู่กับความสามารถในการเข้าถึงอำนาจ หรือวิธีการใต้โต๊ะได้มากกว่า

 

การคอร์รัปชันทำลายความไว้วางใจ (Trust) ทำให้คนไม่กล้าทำอะไรใหม่ ๆ ในระบบราชการเองก็จะกังวล กลัวกันมากว่า ถ้าจะทำเรื่องใหม่ๆ จะเป็นที่ครหา จนทำให้เราไม่สามารถทำอะไรใหม่ ๆ ได้

 

4 สังคมผู้สูงอายุ


ประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์แบบ แต่ไม่มีความพร้อมในหลากหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสวัสดิการของภาครัฐที่ไม่สามารถดูแลผู้สูงอายุได้ และเวลาที่เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุตลาดจะเล็กลงเรื่อยๆ เมื่อตลาดเล็กลง ความสามารถในการแข่งขันของประเทศก็จะลดลง

 

ในอีก 10 ปีข้างหน้า คนทำงาน 1 คนต้องมีขีดความสามารถในการผลิตได้สูงขึ้นเพื่อหารายได้ให้มากขึ้น เพื่อการเลี้ยงดูผู้สูงอายุ ทั้งผู้สูงอายุในครอบครัวที่เป็นทางตรง และต้องเสียภาษีเพื่อให้รัฐมาจัดสวัสดิการให้ผู้สูงอายุอื่นๆของประเทศ ถ้าเราไม่สามารถแก้ปัญหาเรื่องผลิตภาพได้ ปัญหาสังคมผู้สูงอายุจะเป็นปัญหาใหญ่มากๆ


5 การเปลี่ยนแปลงสภาวะภูมิอากาศ (Climate Change)


ในด้านนี้ประเทศไทยยังขาดการปรับตัวหรือการวางแผน รับมือ ปรับตัวให้เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงสภาวะภูมิอากาศ ซึ่งจะมีปัญหาใหม่ที่จะกระทบต่อชีวิตของพวกเราทุกคน และวิถีการทำธุรกิจอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ถ้าเราไม่มีแผนการปรับตัวให้ดี คนที่เดือดร้อนมากที่สุด คือ คนที่อยู่ฐานล่างของสังคม ซึ่งเขามีภูมิคุ้มกันค่อนข้างน้อย ไม่สามารถลงทุนในการปรับตัวได้


เรื่องพลังงาน ประเทศไทยเราพึ่งพลังงานจากประเทศเพื่อนบ้านในสัดส่วนที่มาก ประเด็นเรื่องภูมิรัฐศาสตร์ (geopolitics) จึงมีบทบาท และเราต้องบริหารความเสี่ยงในเรื่องนี้

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า