Articlesเช็คดูอีกรอบว่านักการเมืองที่เราชอบเข้าข่ายปีศาจประชานิยม (Demagogue) บ้างหรือเปล่า?

เช็คดูอีกรอบว่านักการเมืองที่เราชอบเข้าข่ายปีศาจประชานิยม (Demagogue) บ้างหรือเปล่า?

26 สิงหาคม 1789 “ประกาศสิทธิมนุษยชนและพลเมือง” ถูกตีพิมพ์เผยแพร่ต่อสาธารณชนโดยสภาแห่งชาติของฝรั่งเศส ซึ่งถูกจัดตั้งขึ้นหลังเหตุการณ์ทลายคุกบาสตีล (14 กรกฎาคม) บรรยากาศแรกเริ่มของฝรั่งเศสในระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญเต็มไปด้วยความเป็นประชาธิปไตยที่สงบและสันติ เกิดกลุ่มการเมืองที่รวมตัวกันเป็นคลับ เพื่อแบ่งปันและพัฒนาแนวคิด อุดมคติที่ตนเชื่อมั่น และแนวคิดแต่ละชุด ต่างถูกนำไปถกเถียงกันในสภา เพื่อหาทางออกร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มชนที่มาจากขุนนาง พระ หรือสามัญชน ต่างถกเถียงหารือร่วมกันอย่างเท่าเทียมในสภา

ทว่าในเวลาไม่กี่ปีให้หลัง แม็กซิมิเลี่ยน โรแบสปิแยร์ (Maximilien Robespierre) กลับสร้างตนเองขึ้นเป็นผู้นำ ปลุกปั่นมวลชนด้วยความกลัว ซึ่งทำให้ฝรั่งเศสที่เคยสุขสงบเปลี่ยนปลายเป็นบ้าคลั่งไร้สติ ผู้คนต่างพากันฆ่ากันไปมา ในนามของ “เสรีภาพ ความเสมอภาค และภราดรภาพ” คนแบบโรแบสปิแยร์นี้เองที่นักวิชาการเรียกว่า “เดมาก๊อก (Demagogue)”

พจนานุกรมภาษาอังกฤษ ฉบับมหาวิทยาลัยอ๊อกฟอร์ด ให้ความหมายของคำ “เดมาก๊อก” แบบกลาง ๆ ว่า “ผู้นำทางการเมืองที่ได้รับการสนับสนุนโดยใช้การโต้แย้งตามอารมณ์มากกว่าเหตุผล” แต่ เจมส์ เฟนิมอร์ คูเปอร์ (James Fenimore Cooper) เขียนถึงใน “American Democrat (1838)” บท “On Demogogues” ว่า “เดมาก๊อก ความหมายที่สำคัญยิ่งของคำ ๆ นี้คือ ผู้นำฝูงสัตว์” เนื่องจาก เดมาก๊อกนั้น นำอารมณ์ด้านมืดของมนุษย์มาใช้หาผลประโยชน์ทางการเมืองของตนเสมอ และมวลชนภายใต้การนำของเดมาก๊อกนั้น ป่าเถื่อน คลุ้มคลั่ง ไม่ต่างอะไรกับฝูงสัตว์เลย

ในปัจจุบัน ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศน์และสื่อโซเชียลมีเดีย ที่ทำให้เทคนิกของเดมาก๊อกกลายมาเป็น “อาวุธทางการสื่อสาร” ที่เป็นอันตรายต่อระบอบประชาธิปไตยอย่างยิ่งยวด

แล้วเราจะแยกแยะพวกเดมาก๊อกได้อย่างไร ?

การแยกแยะขั้นพื้นฐานของเจมส์ เฟนิมอร์ คูเปอร์ ซึ่งยังคงใช้ได้ดีจนปัจจุบัน บ่งชี้ลักษณะของพวกเดมาก๊อกไว้ดังนี้

  1. บอกว่าตนเองเป็นคนทั่วไปที่พยายามต่อสู้กับชนชั้นสูง (แบ่งแยกชนชั้น)
  2. พยายามใกล้ชิดประชาชนจนผิดสังเกต
  3. อาศัยความสนิทสนมกับประชาชนในการกอบโกยผลประโยชน์
  4. อาศัยมวลชนในการข่มขู่ทำลายกฎระเบียบ ล้มล้างกฎหมาย ทำลายสถาบันหลักของประเทศ

และลักษณะการสื่อสารของพวกเดมาก๊อกนั้นมักจะใช้วิธีเปรียบเทียบสิ่งที่แตกต่างกัน (apples and oranges) ความจริงครึ่งเดียว (half-truths) ความน่าเชื่อถือปลอมๆ (false authority) เสนอทางเลือกที่น่าลำบากใจสองทางปลอมๆ (false dilemma) การทำให้ฝ่ายตรงข้ามเป็นปีศาจหรือสิ่งที่ชั่วร้าย (demonization) ยกประเด็นด้วยคำถามที่แฝงเร้นบางอย่าง (loaded question) ยกข้อเท็จจริงที่ไม่เกี่ยวมาพูด (unrelated facts) และสุดท้ายนิยมใช้กันมาก คือ การโจมตีในเรื่องส่วนตัว (personal attack)

โดยสรุปแล้ว เดมาก๊อก คือ “ปีศาจประชานิยม” ที่มีความมุ่งหมายอันชั่วร้ายในทางการเมือง เป็นศัตรูของระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริง ประชาชนจึงควรมีความรู้เท่าทัน เพื่อเปิดโปงและกำจัดปีศาจร้ายเหล่านี้ เพื่อความสงบสุขของสังคมต่อไป

ความจริงของโลกที่ยอมรับได้ยากที่สุด คือ ความจริงที่ขัดต่อความเชื่อของตน

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า