Newsสิทธิของผู้ต้องหา เจ้าหน้าที่ของรัฐไม่สามารถสวมเครื่องพันธนาการ ต่อผู้ต้องหาที่ไม่มีท่าทีจะขัดขืน/หลบหนีได้

สิทธิของผู้ต้องหา เจ้าหน้าที่ของรัฐไม่สามารถสวมเครื่องพันธนาการ ต่อผู้ต้องหาที่ไม่มีท่าทีจะขัดขืน/หลบหนีได้

ถือว่าเป็นเหตุการณ์ที่ได้รับความสนใจจากประชาชน ต่อกรณีการควบคุมตัวลุงเปี๊ยกของเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว เนื่องจากการกระทำดังกล่าวนั้น เป็นเหตุการณ์ที่ชวนให้เกิดคำถามถึงความเหมาะสม

 

แต่อย่างไรก็ดี เจ้าหน้าที่ตำรวจซึ่งมีหน้าที่ดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยของสังคม  ได้รับอำนาจให้สามารถควบคุมตัวผู้ต้องหาในคดีอาญา และในหลายเหตุการณ์ที่การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจเหล่านี้มีความจำเป็นที่จะต้องใช้กำลังในการควบคุมตัว ซึ่งในหลายครั้ง เป็นการกระทำที่ถูกศาลตัดสินในภายหลังว่าเป็นการกระทำที่เกินกว่าเหตุ และสั่งให้มีการลงโทษเจ้าหน้าที่ตำรวจเหล่านั้น

 

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ จึงได้ออกหนังสือคู่มือ “การนำยุทธวิธีตำรวจมาใช้ให้สอดคล้องกับหลักกฎหมายว่าด้วยการค้น การจับ การควบคุม” ทั้งเพื่อเป็นการสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องแก่เจ้าหน้าที่ตำรวจในการปฏิบัติงาน และเพื่อแจกจ่ายให้แก่ประชาชนผู้มาขอรับบริการจากโรงพัก ได้เข้าใจถึงสิทธิของตนเอง

สำหรับกรณีลุงเปี๊ยก ซึ่งถือเป็น “ผู้ถูกจับกุม” หรือ “ผู้ถูกเชิญตัว” นั้น ผู้ถูกจับกุมจะต้องได้รับการแจ้งจากเจ้าหน้าที่ตำรวจเสียก่อนว่าตนเองนั้นถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจเชิญตัวไปให้ปากคำ โดยการเชิญตัวดังกล่าว ต้องเป็นการเชิญเชิญตัวตามคำสั่งศาลให้จับ หรือถูกออกหมายจับ เว้นแต่จะเป็นการกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายวิสามัญอาญา มาตรา 78 (1) – (4) ซึ่งเป็นเหตุอันควรให้เจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมได้โดยไม่ต้องมีหมายศาล

 

สำหรับผู้ถูกเชิญตัวนั้น หากมิได้แสดงท่าทีขัดขืน ให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ เจ้าหน้าที่ย่อมไม่สามารถใช้ความรุนแรง หรือใช้เครื่องพันธนาการใด ๆ ได้ ซึ่งกรณีนี้มีตัวอย่างให้เห็นแล้วตามฎีกาที่ 590/2485, 2357/2522 และ 7530/2482 ซึ่งทั้ง 3 กรณีล้วนแต่มีข้อสรุปว่า ผู้ถูกจับกุมมิได้แสดงท่าทีขัดขืน เจ้าหน้าที่ของรัฐย่อมไม่สามารถล่ามเครื่องพันธนาการได้



อีกทั้งยังมีกรณีผู้ต้องหาฟ้องร้องว่าถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมด้วยการใส่กุณแจมือ ทำให้ตนเองได้รับความอับอาย และเป็นการกระทำที่เกินกว่าเหตุ ศาลตัดสินให้เจ้าหน้าที่ผู้จับกุมมีความผิด ถึงแม้ว่าจะไม่มีเจตนาแกล้งเป็นส่วนตัวอีกด้วย (ฎีกาที่ 744/2501)

 

ทั้งหมดนี้ สามารถสรุปได้ว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจ และเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง ถึงแม้ว่าจะมีอำนาจหน้าที่ในการควบคุมตัวผู้กระทำความผิด แต่การจับกุมดังกล่าวนั้น ต้องไม่เป็นการกระทำที่เกินกว่าเหตุ และไม่ละเมิดต่อหลักสิทธิมนุษยชน

 

หากผู้ถูกเชิญตัวหรือถูกจับกุม มิได้แสดงท่าทีว่าจะขัดขืนหรือหลบหนี เจ้าหน้าที่ย่อมไม่สามารถที่จะใช้เครื่องพันธนาการ

 

สำหรับการคลุมถุงดำนั้น “ถุงดำ” มิได้ปรากฏว่าเป็นเครื่องมือในการควบคุมตัวผู้ต้องหาที่ได้รับการอนุญาต ซึ่งถ้าหากผู้ถูกจับกุมจะแสดงท่าทีขัดขืน การล่ามพันธนาการตามระเบียบการ ก็น่าจะเพียงพอแล้ว อีกทั้งยังเข้าข่ายกระทำความผิดตาม พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปราม การทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 ได้อีกด้วย





อ้างอิง
[1] พลตำรวจตรีชัยชนะ ลิ้มประเสริฐ (พ.ศ. 2565), “การนำยุทธวิธีตำรวจมาใช้ให้สอดคล้องกับหลักกฎหมายว่าด้วยการค้น การจับ การควบคุม”, สำนักงานตำรวจแห่งชาติ 

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า