Articles“สงครามนอกแบบ” ของสหรัฐอเมริกา ยุทธวิธีปั่นหัวประเทศเป้าหมายเพื่อผลประโยชน์ของตนโดยไม่จำกัดวิธีการ ทั้งใช้ทหารหรือไม่ใช้ทหารก็ได้

“สงครามนอกแบบ” ของสหรัฐอเมริกา ยุทธวิธีปั่นหัวประเทศเป้าหมายเพื่อผลประโยชน์ของตนโดยไม่จำกัดวิธีการ ทั้งใช้ทหารหรือไม่ใช้ทหารก็ได้

“สงครามเดี๋ยวนี้เขาไม่ใช้กำลังกันแล้ว” “สมัยนี้เขาทำสงครามเศรษฐกิจกัน” “เราจะไปรบกับใคร?” คำพูดประมาณนี้ถูกกล่าวขึ้นอย่างซ้ำ ๆ ในปัจจุบัน อย่างไรก็ตามจากสถานการณ์ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในประเทศยูเครน และรวมทั้งความขัดแย้งในอดีตอันใกล้ที่ผ่านมาทั่วโลกโดยเฉพาะในตะวันออกกลาง หรือในแอฟริกา อเมริกาใต้ กระทั้งในภูมิภาคใกล้เคียงของเรา ๆ นี้ แสดงให้เห็นว่าการใช้กำลังทางทหารนั้นยังเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของการทำสงครามในยุคปัจจุบันอยู่ดี เน้นที่คำว่า “ส่วนหนึ่ง”

เพราะแม้ว่าคำพูดที่กล่าวไปในตอนแรกนั้นอาจจะไม่ตรงกับความเป็นจริงเสียทั้งหมด มันก็อาจจะยังมีเศษเสี้ยวของความเป็นจริงอยู่ในนั้น นั่นเพราะการสงครามในยุคปัจจุบันนั้นไม่เพียงแต่จะจำกัดอยู่ภายในการใช้กำลังทหารสนามรบแล้ว แต่ยังเกี่ยวข้องกับด้านอื่น ๆ อีกด้วย พูดอีกอย่างก็คือ การทำสงครามไม่ได้อยู่แต่กับทหารเท่านั้น และสนาบรบนั้นก็ขยายตัวออกมา ไม่ได้เกิดขึ้นแต่ในพื้นที่ที่มีการปะทะกันอีกต่อไปแล้ว อาจจะกล่าวได้ด้วยซ้ำว่าสงครามนั้นอยู่รอบตัวเรา แม้ว่าเราอาจจะไม่รู้ตัว

อย่างไรก็ดี การขยายความหมายของคำว่า “สงคราม” ออกจากขอบเขตการใช้กำลังทางการทหารนั้น ทำให้เกิดคำถามต่อมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ว่า แล้วสิ่งใดบางที่ควรจะถูกรวมอยู่กับคำว่า “สงคราม” ที่กว้างขึ้นนี้?

สำหรับประเทศหนึ่งที่เข้าร่วมและก่อสงครามเยอะที่สุดในประวัติศาสตร์ยุคสมัยใหม่ นั้นก็คือประเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกา การหาคำตอบให้กับคำถามนี้ก็มีอย่างชัดเจนมายาวนานแล้ว ไม่ว่าจะจากนักวิชาการและนักวิเคราะห์ด้านการทหาร องค์กรและกลุ่มผู้ศึกษานำเสนอนโยบายต่างประเทศ หรือกระทั้งนักยุทธศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญภายในกองทัพของสหรัฐอเมริกาเองก็มีความพยายามในการนิยามศัพท์และพัฒนาทฤษฎีเกี่ยวกับการทำสงครามแบบใหม่นี้เอาไว้อย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น “สงครามนอกแบบ” (หรือ สงครามนอกระบบ ; unconventional warfare, UW), “สงครามรุ่นที่สี่” (หรือ สงครามรูปแบบที่สี่ ; fourth-generational warfare, 4GW), “สงครามอสมมาตร” (asymmetric warfare), หรือ “สงครามลูกผสม” (hybrid warfare)

ตัวอย่างเช่น คำว่า “สงครามนอกแบบ” หรือ UW ในความเป็นจริงแล้วได้มีการอธิบายไว้อย่างชัดเจนถึงในเอกสารที่เรียกว่า “บรรณสารหลักนิยมร่วม” หรือ Joint Doctrine Publications ซึ่งคือเอกสารภายในกองทัพของสหรัฐฯที่ใช้เป็นหลักการในการปฏิบัติการทางทหารของทุกเหล่าทัพ ในฉบับ JP 3-05 เรื่อง หน่วยรบพิเศษ เผยแพร่เมื่อปีค.ศ. 2011 [1] ความว่า

“UW คือ กิจกรรมที่กระทำขึ้นเพื่อสนับสนุนให้ขบวนการต่อต้านหรือกลุ่มก่อความไม่สงบ สามารถที่จะบีบบังคับ, รบกวน, หรือ โค่นล้มรัฐบาลหนึ่ง ๆ หรือฝ่ายรุกราน ด้วยปฏิบัติการผ่าน หรือพร้อมไปกับ กองกำลังใต้ดิน, กองกำลังสนับสนุน, หรือกองกำลังกองโจรในเขตศัตรู สหรัฐสามารถทำ UW ได้ภายในทุก ๆ ความขัดแย้งที่ใช้อาวุธ ทั้งในยุทธการหลัก หรือปฏิบัติการแบบจำกัดต่าง ๆ สหรัฐเคยทำ UW เพื่อสนับสนุนขบวนการก่อความไม่สงบที่พยายามโค่นล้มรัฐบาลที่เป็นปฏิปักษ์และรวมทั้งสนับสนุนขบวนการต่อต้านเพื่อต่อสู้กับฝ่ายผู้รุกราน (เช่น กลุ่มคอนทราของประเทศนิการากัว หรือ กลุ่มมุจญาหิดีนของประเทศอัฟกัน) UW นั้นเคยถูกใช้อย่างประสบความสำเร็จมาแล้วต่อกลุ่มฏอลิบานในช่วงแรกของปฏิบัติการ ENDURING FREEDOM ในประเทศอัฟกานิสถาน UW แบบนั้นเป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพในการกดดัน ทั้งทางตรงและทางอ้อม ต่อรัฐที่เป็นปฏิปักษ์หรือฝ่ายที่รุกราน”

ไม่เพียงเท่านั้น ในเอกสารฉบับนี้ยังมีการกล่าวถึงผลประโยชน์ที่สหรัฐจะได้รับจากการปฏิบัติการ UW ที่ประสบความสำเร็จว่า “เมื่อสงครามนอกรูปแบบได้ถูกวางแผนและเริ่มปฏิบัติการอย่างเหมาะสม ก็จะช่วยสร้างเงื่อนไขการแก้ปัญหาวิกฤตการระหว่างประเทศที่จะมีผลดีกับสหรัฐหรือพันธมิตร โดยไม่มีความจำเป็นที่จะต้องใช้กำลังทหารปกติ…การปฏิบัติการสงครามนอกแบบนั้นจะมีประโยชน์ในทางการทหารและการเมือง ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงความสมดุลของอำนาจระหว่างรัฐอธิปไตยต่าง ๆ ได้”

อีกคำอธิบายเกี่ยวกับการทำสงครามในปัจจุบันนั้นก็คือทฤษฎี “สงครามรุ่นที่สี่” หรือ 4GW โดยในบทความของสถาบันแมคเคนซี (Mackenzie Institute) ซึ่งเป็นสถาบันคลังสมองด้านนโยบายความมั่นคงทางภูมิรัฐศาสตร์ ได้อธิบายไว้อย่างรวบรัดว่า “แก่นความคิดของ 4GW นั้นคือ [เส้นแบ่งระหว่าง]การเมืองและการสงครามนั้นถูกทำให้ไม่ชัดเจน (เบลอ) และสิ่งที่เป็นหัวใจของการต่อสู้กลับเป็นการเข้าแย่งชิงพื้นที่ในมโนคติของความคิดความอ่านของประชาชนทั้งหมด…รางวัลที่แท้จริงคือความเห็นด้วยของผู้ชม…ในความขัดแย้งเช่นนี้ สิ่งสำคัญคือผู้ชมกลุ่มไหนที่ฝ่ายเราพยายามทำให้[พวกเขา]สนใจ และเราหวังที่จะได้ความสนใจของพวกเขาอย่างไร” [2]

ดังนั้นเมื่อการเมืองกับสงครามนั้นถูกทำให้ไม่มีเส้นแบ่งระหว่างกัน มันจึงมีความจำเป็นอย่างมากในการสนับสนุนให้ประชาชนมีความรู้เท่านั้นถึงสภาวะที่ไม่ชัดเจนระหว่างทั้งสองสิ่งนี้ ว่าสงครามนั้นกำลังเกิดขึ้นรอบ ๆ ตัวเราโดยที่เราอาจจะมองไม่เห็น กระนั้นก็ไม่ใช่ว่าจะไม่มีใครในสังคมที่จะมองไม่เห็นสิ่งนี้เกิดขึ้น

และเมื่อพูดถึงเรื่องสงครามและความมั่นคงแล้วนั้น จะมีภาคส่วนไหนอีกในสังคมที่มีภารกิจและความจำเป็นในการรับรู้เรื่องเหล่านี้ นอกเสียจากกองทัพไทย

ดังนั้นการที่อดีตผบ.ทบ.ท่านก่อน คือ พลเอก อภิรัชต์ คงสมพงษ์ ได้มีการปาฐกถาในประเด็นนี้อย่างชัดเจน เมื่อปีหลายปีที่ผ่านมา [3] นั้นถือว่าสัญญาณดีที่ทำให้เห็นว่าแม้สงครามอาจจะกำลังคลืบคลานเข้ามาในชีวิตประจำวันของคนในสังคมเราอย่างเงียบ ๆ กองทัพไทยยังคงเป็นหนึ่งในเสาหลักในการปกป้องความมั่นคงของชาติ และหากประชาชนคนไทยได้รู้เท่าทันในเรื่องนี้ร่วมไปกับกองทัพด้วยแล้ว ก็จะยิ่งทำให้อธิปไตย เอกราช และความมั่นคงของชาตินั้นยังเข้มแข็งต่อไป

และเครื่องมือสำคัญที่จะทำให้คนไทยได้รู้เท่าทันในเรื่องเหล่านี้ นั่นก็คือสื่อที่มีคุณภาพ คือสื่อที่ให้ความสำคัญและเห็นคุณค่าของอธิปไตย เอกราช และความมั่นคงของชาติ ตามที่บทความของสถาบันแมคเคนซีกล่าวปิดท้ายเอาไว้ว่า “ปัจจุบันสื่อที่มีความรู้เท่าทันนั้นเป็นส่วนสำคัญสำหรับความมั่นคงในสังคม”

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า