Articlesยังสงสารอยู่ไหม? ถ้ารู้ ‘ความจริง’ ที่ว่า ‘ตายายเก็บเห็ด’ อายุเพียง 48 ปีโค่นต้นไม้ไป 700 ต้นทำป่าเสียหาย 72 ไร่ จน’ยาก’ที่จะฟื้นคืนกลับมาได้อย่างสมบูรณ์ดังเดิม

ยังสงสารอยู่ไหม? ถ้ารู้ ‘ความจริง’ ที่ว่า ‘ตายายเก็บเห็ด’ อายุเพียง 48 ปีโค่นต้นไม้ไป 700 ต้นทำป่าเสียหาย 72 ไร่ จน’ยาก’ที่จะฟื้นคืนกลับมาได้อย่างสมบูรณ์ดังเดิม

ผู้เขียนเชื่อว่า ทุกท่านแทบทุกคนน่าจะรู้จักคดีสองผัวเมียมอดไม้ที่ลักลอบตัดไม้ในพื้นที่ป่าสงวนจนถูกจับ เมื่อช่วงปี 2553 หรือในอีกชื่อหนึ่งคือ สุดยอดคดีไร้สาระระดับมหากาพย์ที่ไม่มีอยู่จริง หรือที่สื่อกับโซเชี่ยวทั้งหลายตั้งชื่อเล่นอันแสนบิดเบือนว่า “คดีตายายเก็บเห็ด” ทำให้สองผัวเมียคู่นี้กลายเป็นผู้บริสุทธิ์ในสายตาของสังคมไป ในขณะที่ เจ้าหน้าที่รัฐและศาล ถูกมองว่ารังแกคนจน ผู้สูงอายุที่เพียงเข้าไปเก็บเห็ดในป่ามายังชีพเท่านั้น ซึ่งเป็นอะไรที่บิดเบือนข้อเท็จจริงและสร้างความเข้าใจผิดให้กับสังคมเป็นอย่างมากโดยเฉพาะสังคมไทยที่มีอคติไม่ชอบเจ้าที่เป็นทุนเดิม บูชาคนจน และเสพติดดรามา เพราะทั้งคู่นอกจากไม่ได้เก็บเห็ดแล้ว อายุของพวกเขาก็แค่ 48 ปีเท่านั้น ไม่ได้แก่แต่อย่างใด และการกระทำของพวกเขาที่ลักลอบตัดต้นไม้ป่าเป็นวงกว้างทำให้มีผลกระทบต่อสภาพนิเวศน์ทางธรรมชาติ และทำให้ป่าไม้ยากที่จะฟื้นคืนสมบูรณ์ได้ถือเป็นคดีร้ายแรง [1]

การที่มนุษย์เรานั้นจะมีอารมณ์โมโหเมื่อเห็นความอยุติธรรมในสังคมนั้นถือเป็นเรื่องปกติเพราะมนุษย์มีอารมณ์ความรู้สึกที่ซับซ้อนต่างจากสัตว์เป็นธรรมชาติ และอันที่จริงมันก็แสดงให้เห็นว่าผู้มีอารมณ์นั้นยังมีคุณธรรมอยู่จากการที่ต่อต้านความไม่เป็นธรรมสังคม ถึงอย่างไรก็ดี ข่าวร้าย สังคมไทยเราคงไม่อาจเจริญได้ถ้าคนไทยเราใช้อารมณ์เป็นตัวตัดสินทุกเรื่อง

ในความเป็นจริงนั้นใคร ๆ เขาก็มีอารมณ์กันได้ทั้งนั้น ไม่จำเป็นต้องเรียนรู้ ไม่จำต้องผ่านการขัดเกลาทางสังคม อยู่เฉย ๆ ก็มีได้ การใช้อารมณ์ตัดสินโดยเพราะรับรู้ข่าวสารจากที่ได้ยิน ได้เห็น ได้ฟังเอง ในฐานะบุคคลที่สามมันก็ไม่ต่างจากการตัดสินโดยเอาตัวเองเป็นที่ตั้งเลย หรือที่เราเรียกว่าตัดสินแบบอัตวิสัย [2] นั่นแหละ

เมื่อเราเอาตนเองเป็นที่ตั้งแต่เพียงอย่างเดียวแล้ว การตัดสินของเรามันก็ไม่ต่างจากการเล่นบทเป็นศาลเตี้ยดี ๆ นั่นเอง ถ้าให้สังคมที่ชักจูงกระแสด้วยเหตุผลแบบนี้แล้วทำให้เกิดความยุติธรรมได้จริงก็คงดี เหล่าผู้พิพากษา อัยการ เจ้าหน้าที่ตำรวจ ทั่วโลกคงไม่ต้องอ่านหนังสือกฎหมายกันหลังขดหลังแข็งเพื่อสอบให้ผ่าน ให้สื่อกับโซเชียลตัดสินกันเอง ที่สำคัญไม่ต้องเอาภาษีชองประชาชนมาจ้างคนพวกนี้ด้วย ประหยัดงบได้หลายแสนล้านบาทต่อปีแน่นอน ถ้ามันง่ายขนาดนี้ก็คงดีไม่น้อย แต่ความจริงมันไม่ใช่ เป็นไปไม่ได้

รู้หรือไม่ว่าทำไมการผดุงความยุติธรรมในโลกนี้มันถึงไม่ง่ายขนาดนั้น เพราะเราจะให้ความยุติธรรมกับใครได้เนี่ย มันต้องมีการตัดสิน และการตัดสินที่ว่าจะทำได้ก็ต้องมีการแสวงหาข้อเท็จจริงให้ยุติเสียก่อนว่าเกิดอะไรขึ้น ซึ่งอะไร ๆ ก็ตามในโลกนี้บางอย่างล้วนไม่เป็นไปตามที่เห็น ได้รับรู้ หรือได้ยิน มาจากสื่อในแต่แรกแน่นอน แต่สื่อทุกวันนี้แทนที่จะเสนอข้อเท็จจริงล้วน ๆ กลับมีการใส่สีตีใข่ แสดงความคิดเห็นส่วนตัวเข้าไปเยอะมาก ทั้ง ๆ ที่ตัวเองไม่ใช่พนักงานสอบสวนหรือศาล แต่อย่างใด [2] แทนที่จะเสนอแต่ข้อเท็จจริงตามที่ได้รับมาล้วน ๆ ทำให้เกิดการบิดเบือนสร้างข้อเท็จจริงจริงที่ไม่มีขึ้นอย่างในกรณี ‘ตายายเก็บเห็ด’ อย่างที่เห็น [3]

ถ้าจะให้อธิบายเพิ่มขึ้นอีกว่าทำไมเราไม่ควรตัดสินความจริงใด ๆ จากความรู้สึก นั่นก็คือ เพราะ ‘ผัสสะ’ ของเราทุกคนถูกบิดเบือนได้เสมอ ผัสสะ (sensation) ที่ว่าเนี่ยความสามารถของเราในการรับรู้นั่นแหละ เช่น ได้ยิน ได้เห็น ได้ฟัง รวมไปถึงความรู้สึก เป็นต้น [4] พอบางคนได้ยินอะไรที่มันเร้าความรู้สึก เช่น ตายาย คนจน หรือ มีกระแสสังคมออกมา มันก็ทำให้การรับรู้ความจริงของเราถูกบิดเบือน ตายายก็ไม่ใช่ เก็บเห็ดก็ไม่ได้เก็บจริง แต่เราอาจเชื่อไปกับกระแสสังคมแล้วเพราะเราเกิดอารมณ์ความรู้สึกสงสารคนจน นำไปสู่สิ่งที่เรารู้กันดีว่า ‘อคติ’ และตัวอคตินี้เองจะนำไปสู่การตัดสินการวิจารณ์ที่ผิดเพราะขาดการคิดแบบวิพากษ์ เช่นในคดีลวงโลกคดีนี้

แต่เจ้าหน้าที่กับศาล นั้นต่างกับสื่อ เพราะเขาต้องทำงานตามที่ระบุไว้ในกฎหมายและระเบียบไม่ใช่ตามความรู้สึก การทำงานของพวกเขาต้องมีการสืบสวนและหาความจริงก่อนเสมอด้วยผู้เชี่ยวชาญที่ฝึกมาทำหน้าที่โดยเฉพาะ มีการตรวจสอบข้อมูลจากพยานหลักฐานที่น่าเชื่อถือ ไม่ใช่จากที่ฟังจากสื่อหรือโซเชียลพวกเขาต้องรับผิดชอบหากคดีออกมาผิดพลาด พวกเขาต้องผ่านการฝึกฝนและอบรมมาต่างจากชาวบ้านและสื่อทั่วไปถึงจะทำหน้าที่ได้ ถึงแม้ว่าเราอาจจะได้ยินเรื่องของเจ้าหน้าที่ที่มันไม่ดีบ้างละ แต่นั่นมันก็ไม่ใช่ส่วนใหญ่ และไม่ได้สะท้อนภาพรวมขององค์กรด้วย ดังนั้นแล้ว เราก็ควรให้เจ้าหน้าที่จัดการไปตามกฎหมายน่าจะดีที่สุด ผิดก็ว่าไปตามผิด ถูกก็ว่าไปตามถูก กฎหมายกำหนดไว้แล้วว่าหากผิดจะต้องเจออะไร เพราะเราทุกคนอยู่ภายใต้กฎหมายเหมือนกัน ไม่มีใครอยู่เหนือกฎหมาย

ลองคิดเล่น ๆ ดูซิว่าถ้าหากเราอยู่ในสังคมที่ตัดสินข้อเท็จจริงไปตามสื่อกับกระแสสังคมที่ไหลไปตามความรู้สึกและอารมณ์ หลังจากรับรู้ข้อเท็จจริงไปเพียงแค่บางส่วนและภายนอกเท่านั้น ไม่มีกระบวนวิธีพิจารณา ไม่มีการสอบสวนเชิงลึก การรวบรวมพยานหลักฐานแต่อย่างใด ถ้าแบบนี้ใครเล่นละครเก่ง มีฐานะยากจน ทำตัวน่าสงสาร หรือใครรวยหน่อยซื้อสื่อได้ให้คอยบิดเบือนข้อเท็จจริงก็กลายเป็นผู้บริสุทธิ์ตลอด สังคมแบบนี้ยังมีความยุติธรรมอยู่ไหม คิดว่าน่าอยู่ไหม ลองถามใจตัวเองดู ถ้าไม่อยาก ไม่ชอบก็อย่าไปตามกระแสสังคมหรือใช้อารมณ์ในการตัดสิน ไม่เช่นนั้นเรานี่เองที่เป็นผู้สนับสนุนให้เกิดสังคมแบบนี้ขึ้นมา

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า