Articles“พาโลกป่าเถื่อนสู่อารยะ” แนวคิด ‘พันธกิจคนขาว’ ข้ออ้างการล่าอาณานิคมที่สืบทอดผ่าน NGOs

“พาโลกป่าเถื่อนสู่อารยะ” แนวคิด ‘พันธกิจคนขาว’ ข้ออ้างการล่าอาณานิคมที่สืบทอดผ่าน NGOs

พ.ศ. 2546 ประธานาธิบดีสหรัฐ จอร์จ บุช เดินทางเยือน ฟิลิปปินส์ ซึ่งในการเดินทางครั้งนี้ บุชกล่าวถึงประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ของฟิลิปปินส์-อเมริกันว่า

“อเมริกาภาคภูมิใจที่เป็นส่วนหนึ่งของเรื่องราวอันยิ่งใหญ่ของชาวฟิลิปปินส์” [1]

บุชอ้างถึงประวัติศาสตร์ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่อเมริกาและฟิลิปปินส์ร่วมมือกันต่อต้านกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่น แต่บุชกลับลืมไปว่า ก่อนหน้านั้นราว 50 ปี

“อเมริกันหักหลัง และล้มล้างเอกราชของฟิลิปปินส์”

ช่วง ค.ศ. 1896 ชาวฟิลิปปินส์ลุกฮือขึ้นปลดแอกตนเองจากการปกครองของสเปนที่นาวนานกว่า 300 ปี

ในขณะที่อเมริกาแผ่ขยายอิทธิพลของตนเองเข้ามาช่วงชิงดินแดนกับฟิลิปปินส์ อเมริกาและฟิลิปปินส์ร่วมมือกันขับไล่สเปนออกไปจากดินแดน แต่ในการลงนามสงบศึกระหว่างอเมริกากับสเปนที่ ปารีส วันที่ 10 ธันวาคม 1898 อเมริกาปฏิเสธที่จะยอมรับเอกราชของฟิลิปปินส์ และซื้อฟิลิปปินส์จากสเปนด้วยมูลค่า 20 ล้านดอลลาห์ [1] [3]

ถึงแม้จะไม่ได้รับการยอมรับ แต่ชาวฟิลิปปินส์ดำเนินการจัดตั้ง “สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (ที่1)” ในวันที่ 23 มกราคม 1899 แต่ใน 2 สัปดาห์ถัดมา เกิดเหตุ “บังเอิญ” ที่น่าอัศจรรย์ ในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ขึ้น 2 เหตุการณ์ บน 2 ซีกโลก

1) ช่วงเย็นตามเวลาฟิลิปปินส์ พลทหาอเมริกันนายหนึ่งเปิดฉากยิงใส่นายร้อยชาวฟิลิปปินส์ที่ไม่มีอาวุธ เป็นการจุดชนวนของสงครามฟิลิปปินส์ – อเมริกันขึ้น [4]

2) หนังสือพิมพ์ เดอะไทมส์ (ลอนดอน) ตีพิมพ์กวี “พันธกิจคนขาว (The White Man’s Burden)” เพื่อปลุกปั่นให้อเมริกายึดครองฟิลิปปินส์เป็นอาณานิคม และหนังสือพิมพ์ฉบับนี้ ถูกตีพิมพ์ในอเมริกาในวันถัดมา [5]

ช่างบังเอิญนัก!!! และเหตุอัศจรรย์ทั้งสองนี้ ทำให้อิสรภาพและเสรีภาพของชาวฟิลิปปินส์นั้นสุดแสนจะสั้น

และนี่คือ “สันดานอเมริกัน” เมื่อร้อยปีก่อนนั่นเอง

ทว่าหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เกิดขบวนการเรียกร้องปลดแอกชาติอาณานิคมให้เป็นเอกราช และโลกตกอยู่ภายใต้การกำกับของระเบียบโลกใหม่ใต้ร่มธงขององค์กรสหประชาชาติ

แต่ถึงจะเป็นเช่นนั้น “สันดานอเมริกัน” ก็ยังคงไม่เปลี่ยนแปลง

นิยามของคำ “ลัทธิล่าอาณานิคมใหม่ (neocolonialism)” ปรากฏครั้งแรกในปี 1965 ในหนังสือ “Neo-Colonialism, the Last Stage of Imperialism” ของควาเม อึงกรูมาห์ (Kwame Nkrumah) ประธานาธิบดีคนแรกของประเทศกานา โดยเขานิยามในคำนำว่า

“แก่นสารของการล่าอาณานิคมใหม่นั้นคือเมื่อรัฐหนึ่งตกอยู่ในการล่าอาณานิคมแบบนี้ ในทางทฤษฎีก็จะมีเอกราชและมีรูปลักษณ์ภายนอกเหมือนมีอธิปไตยตามแบบประเทศในสากล แต่ในความเป็นจริงระบบเศรษฐกิจและตามด้วยนโยบายทางการเมืองของรัฐนั้นกลับถูกชี้นำจากภายนอก” [6]

หรือโดยสรุป รูปแบบของการล่าอาณานิคมสมัยใหม่ เปลี่ยนจากการเข้ายึดครองด้วยกำลังทหาร เป็นการครอบงำทางเศรษฐกิจและการเมืองแทนนั่นเอง ซึ่งในปัจจุบันวิธีการครอบงำมีหลายวิธี แต่หนึ่งในวิธีที่ “ซึมลึก” อย่างที่สุด คือการดำเนินการผ่านองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร (Non-Governmental Organization; NGO) นั่นเอง

หลักฐานที่ชัดเจนของการแทรกแซงกิจการภายในผ่าน NGO คือในเดือนธันวาคม 2012 เมื่อเจ้าหน้าที่อัยการและตำรวจบุกเข้าตรวจค้นสำนักงานของ NGO ของกลุ่มที่เรียกตัวเองว่า “ฝ่ายประชาธิปไตย (Pro-Democracy)” พบเจ้าหน้าที่รัฐอเมริกัน 4 คน และพลเมือง 43 คน ซึ่งในนั้น 16 คนเป็นชาวอเมริกัน ทั้งหมดถูกตั้งข้อหา สนับสนุนเงินทุนผิดกฎหมาย เพื่อสนับสนุนการประท้วง ทางการสหรัฐ “จ่ายเงิน” สนับสนุนกิจการทางทหาร 1.3 พันล้านดอลลาร์ และเงินช่วยเหลือทางเศรษฐกิจ 250 ล้านดอลลาร์ แก่รัฐบาลอียิปต์ เพื่อแลกกับการปล่อยตัวคน [7]

ในบรรดาทั้ง 43 คน บางส่วนมีความเกี่ยวข้องกับ National Endowment for Democracy (NED) ซึ่งในแต่ละปี NED ได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐบาลอเมริกันมากกว่า 90% [7]

ในเหตุการณ์ประท้วงในฮ่องกง ปี 2014 (พ.ศ. 2557) ถึงแม้ว่า NED จะพยายามปฎิเสธความเกี่ยวข้องกับการประท้วง แต่ก็ยอมรับว่ามีการให้ทุนมูลค่า 695,031 ดอลลาร์ในปี 2013 เพื่อกิจกรรมประชาธิปไตยอื่น [8]

จากตัวอย่างเหล่านี้ เราจะเห็นถึง “ละครบทใหม่” ของอเมริกา ในคราบ “สันดานเดิม” ที่พัฒนาทักษะโจรให้สอดคล้องกับสภาวะที่เปลี่ยนไป

ข้ออ้าง “พันธกิจของคนขาว” มีข้ออ้างอันสวยหรู “เพื่อนำพาเหล่าคนเถื่อนไปสู่ความเป็นอารยะ”

แท้จริงแล้ว คือหน้ากากที่ปกปิดความตะกละ และกระหายเลือดไม่มีที่สิ้นสุดนั่นเอง

แขกไทยผู้ไปเรียนและใช้ชีวิตที่เมืองนอก ชอบศึกษาประวัติศาสตร์ ปรัชญา ศาสนา วัฒนธรรม สังคม เศรษฐกิจ การเมือง การต่างประเทศ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า