Uncategorizedผิดหรือไม่ ถ้าเจอผู้ประสบภัยแล้วไม่ช่วยเหลือ

ผิดหรือไม่ ถ้าเจอผู้ประสบภัยแล้วไม่ช่วยเหลือ

อาจจะปฏิเสธไม่ได้ว่าข่าวใหญ่ข่าวหนึ่งที่อยู่ในความสนใจของประชาชนในวินาทีนี้คือข่าวการเสียชีวิตของแตงโม นิดา โดยหนึ่งในข้อสงสัยใหญ่ของสังคมไทยต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นคงหนีไม่พ้นความสงสัยเกี่ยวกับพฤติกรรมที่มีความผิดวิสัยธรรมชาติของผู้ที่อยู่ร่วมเหตุการณ์หลาย ๆ คน คำถามที่หลายคนอาจถามนั่นคือ “ทำไมถึงไม่มีใครช่วย?”

ฝ่ายหนึ่งอาจจะตอบคำถามนี้ด้วยการย้อนกลับมาถามว่า “จำเป็นไหมที่จะต้องช่วย?”

คำตอบในทางกฎหมายนั้นก็อาจจะได้ว่า “จำเป็น”

เพราะตามประมวลกฎหมายอาณามาตรา 374 นั้น มีการระบุว่า

“ผู้ใดเห็นผู้อื่นตกอยู่ในภยันตรายแห่งชีวิต ซึ่งตนอาจช่วยได้โดยไม่ควรกลัวอันตรายแก่ตนเองหรือผู้อื่น แต่ไม่ช่วยตามความจำเป็น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” [1]

เราจึงจะเห็นได้ว่าหากคำถามมีอยู่ว่า “เมื่อเกิดเหตุการณ์ซึ่งมีผลถึงชีวิตแล้วจำเป็นต้องช่วยไหม?” ในกฎหมายอาญาของไทยนั้นกำหนดให้ผู้เห็นเหตุการณ์เข้าช่วยเหลือ เพราะหากไม่ช่วยแล้วก็จะมีโทษตามที่กำหนด
อย่างไรก็ตาม ในมาตรานั้นยังคงมีการขยายความถึงเงื่อนไขว่าเหตุการณ์นั้น ๆ จะต้องเป็นเหตุการณ์ที่ผู้เห็นเหตุการณ์พิจารณาแล้วว่าสามารถเข้าช่วยเหลือได้โดยไม่มีอันตรายต่อตนเองหรือผู้อื่นกฎหมายมาตรานี้จึงจะนำมาใช้ได้ เมื่อใช้เงื่อนไขดังกล่าวแล้ว ก็อาจจะได้คำตอบว่า “ไม่จำเป็นจะต้องช่วย”

แต่ไม่ว่าข้อเท็จจริงของเหตุการณ์อันน่าเศร้านี้จะออกมาเป็นอย่างไร เราก็ยังไม่สามารถด่วนสรุปได้จนกว่าจะคดีความจะสิ้นสุดตามกระบวนการยุติธรรม แต่ในบทความนี้เราจะมาทำความเข้าใจกันถึงที่มาที่ไปของหลักการ “หน้าที่พลเมืองดี” และหลักการอื่น ๆ ที่ใกล้เคียงกันว่าเป็นอย่างไร มีที่มาที่ไปอย่างไร และมีประเด็นใดที่ปัญหาในทางกฎหมายบ้าง

อย่างแรกเราควรจะต้องทำความเข้าใจก่อนว่าระบบกฎหมายของประเทศไทยในปัจจุบัน (รวมทั้งหลายประเทศทั่วโลก) นั้นมีการปรับใช้จากระบบกฎหมายของยุโรปเป็นหลัก หลักการ แนวคิด ปรัชญาต่าง ๆ ที่เป็นรากฐานนั้นจึงหนีไม่พ้นที่จะต้องมีการอ้างอิงถึงหลักการจากตะวันตก ซึ่งกรณีของหลักการ “หน้าที่พลเมืองดี” นั้นมีที่มาที่ไปจากหลักการทางกฎหมายของตะวันตกสองอย่างคือ กฎหมาย Good Samaritan และ หลักการ Duty to Rescue โดยหลักการหลังนี้จะมีความคล้ายคลึงกับมาตรา 374 ของประมวลกฎหมายอาญาของไทยที่สุด

เนื้อหาของกฎหมายอาญามาตรา 374 นั้นชี้ให้เห็นว่าผู้เห็นเหตุการณ์ที่เป็นอันตรายถึงชีวิตผู้ใดผู้หนึ่ง และไม่มีเงื่อนไขใดที่จะขัดขวางการเข้าช่วยเหลือผู้นั้น ก็มีความจำเป็นหรือมี “หน้าที่” ในการเข้าช่วยเหลือ ซึ่งนี่ก็ถือเป็นความหมายตรงตัวของหลักการ Duty to Rescue นั่นคือ “หน้าที่ในการเข้าช่วยเหลือ”

ส่วนกฎหมายที่เรียกว่า Good Samaritan Law นั้นคือกฎหมายที่ไม่ได้กำหนดว่าประชาชนทั่วไปนั่นมีหน้าที่ในการเข้าช่วยเหลือ แต่กลับกัน คือเป็นกฎหมายที่มีฐานอยู่บนหลักการที่ตรงกันข้าม ว่าประชาชนทั่วไปนั้นไม่มีหน้าที่ใด ๆ ในการเข้าช่วยเหลือผู้ประสบภยันตรายถึงชีวิต และเป้าหมายของกฎหมาย Good Samaritan Law นั้นกลับเป็นกฎหมายที่ปกป้องผู้ที่ “เลือก” ที่จะเข้าช่วยเหลือผู้อื่น ว่าเขาจะต้องได้รับความคุ้มครองหากผู้ประสบภัยนั้นกลับต้องการหันกลับมาฟ้องร้องผู้ช่วยเหลือเขาในทางใดทางหนึ่ง

กล่าวอย่างสรุปคือ หลักการ Duty to Rescue นั้นคือการที่กฎหมายกำหนดให้ประชาชนช่วยเหลือผู้ประสบภยันตรายถึงชีวิต หากภัยนั้นไม่ได้กระทบตัวเขาด้วย และกำหนดโทษผู้ที่ไม่เข้าช่วย ในขณะที่กฎหมาย Good Samaritan Law นั้นเป็นการให้ความคุ้มครองผู้เข้าช่วยไม่ให้ถูกฟ้องร้อง แต่ก็ไม่ได้มีการบังคับว่าจะต้องช่วย

ความแตกต่างระหว่างหลักกฎหมายทั้งสองนั้นก็เพราะบริบทของสังคมที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะในเรื่องกระบวนการยุติธรรมและระบบกฎหมาย กล่าวคือ ระบบกฎหมายแบบซีวิลลอว์ (Civil Law) สำหรับหลักการ Duty to Rescue และระบบกฎหมายแบบคอมมอนลอว์ (Common Law) สำหรับกฎหมาย Good Samaritan Law ซึ่งทั้งสองระบบนั้นก็มีข้อดีและข้อเสียต่างกันไป

ระบบ Civil Law ที่ใช้หลักการ Duty of Rescue นั้นก็เน้นให้เป็นหน้าที่ของประชาชนทุกคนที่จะสามารถช่วยได้ และมีโทษหากไม่ยอมเข้าช่วย ในขณะที่ระบบ Common Law นั้นใช้กฎหมาย Good Samaritan ที่ไม่ได้กำหนดให้มีการช่วยเหลือใด ๆ แต่ก็ปกป้องผู้ที่เป็นพลเมืองดีเมื่อเขาได้เข้าไปช่วยเหลือ

สำหรับประเทศไทยแล้ว อย่างที่ได้กล่าวไป ระบบกฎหมายของเรานั้นคือแบบ Civil Law และประมวลกฎหมายก็ได้มีการบัญญัติใช้หลักการ Duty of Rescue เอาไว้แล้ว ดังนั้นความสำคัญจึงอยู่ที่การปรับใช้ในรายละเอียดให้ดีขึ้น ให้ครอบคลุมขึ้น และให้เหมาะสมกับกาลสมัย

อย่างที่มีข้อเสนอแนะในบทความเรื่อง “ความเหมาะสมในการลงโทษบุคคลที่ไม่กระทำหน้าที่พลเมืองดี: ศึกษาประมวลกฎหมายอาญามาตรา 374” ที่ตีพิมพ์ลงในวารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 เดือนกรกฎาคม-ธันวาคม 2562 [2] ซึ่งเสนอว่าอาจจะต้องมีการพิจารณาในการปรับเปลี่ยนถ้อยคำให้รัดกุมมากขึ้น เช่นคำว่า “ผู้ใดเห็นผู้อื่นตกอยู่ในภยันตรายแห่งชีวิต” ซึ่งในปัจจุบัน การ “เห็น” นั้นก็สามารถเห็นได้ผ่านเทคโนโลยีต่าง ๆ เช่น การฉายภาพวิดีทัศน์ถ่ายทอดสด การเห็นเพียงอย่างเดียวจึงอาจจะเป็นถ้อยคำที่กว้างเกินไป หรือคำว่า “ภยันตรายแห่งชีวิต” นั้นก็อาจจะเป็นเงื่อนไขที่จำกัดเกิดไป เพราะหากมีผู้ที่ตกอยู่ในภยันตรายอื่น ๆ ที่ไม่ถึงกับชีวิตแต่ก็มีความร้ายแรงเช่นกัน อาทิ การข่มขืนหรือการประทุษร้ายอย่างรุนแรง ผู้เขียนบทความนั้นจึงนำเสนอว่าอาจจะต้องเปลี่ยนเป็นคำว่า “ภยันตรายอย่างแจ้งชัดและใกล้จะถึง” แทน

มาถึงตรงนี้เราก็อาจจะเห็นได้ว่าการเข้าช่วยเหลือผู้คนในห้วงเวลาที่สำคัญ โดยเฉพาะในเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตนั้น แม้จะมีความละเอียดอ่อน และมีประเด็นต่าง ๆ ในทางตัวบทกฎหมายที่อาจจะยังต้องพัฒนาให้ดีขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ แต่หลักการในกฎหมายที่มีอยู่นั้นก็มีความสำคัญ ตามที่ผู้เขียนบทความกล่าวปิดท้ายเอาไว้ว่า “เมื่อพิจารณาเหตุผลและความจำเป็นในการบัญญัติหน้าที่ทางศีลธรรมในการให้ความช่วยเหลือผู้ซึ่งตกอยู่ในอันตรายตลอดจนเพื่อรักษาความสงบสุขและความปลอดภัยในชีวิตและร่างกายของคนในสังคมจึงควรที่จะต้องมีกฎหมายกำหนดหน้าที่พลเมืองดีในการให้ความช่วยเหลือผู้อื่นต่อไป”

ไม่ว่าการช่วยเหลือผู้คนนั้นมีเงื่อนไขเช่นใด แต่ทั้งในทางศีลธรรมอันดีและในทางกฎหมายบ้านเมืองนั้น เราทุกคนมีหน้าที่ในการช่วยเหลือคนอื่นที่ตกอยู่ในเหตุสุดวิสัยทั้งสิ้น

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า