Articlesนโยบายวิภาค ผู้ว่า ฯ กรุงเทพมหานคร EP4: วิเคราะห์นโยบาย กรุงเทพฯ ต้องไปต่อ ของ อัศวิน ขวัญเมือง กลุ่มรักษ์กรุงเทพ

นโยบายวิภาค ผู้ว่า ฯ กรุงเทพมหานคร EP4: วิเคราะห์นโยบาย กรุงเทพฯ ต้องไปต่อ ของ อัศวิน ขวัญเมือง กลุ่มรักษ์กรุงเทพ

จากนโยบายการหาเสียงของผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในตอน 4 ได้เลือกคุณอัศวิน ขวัญเมือง ในฐานะตัวแทนผู้สมัครแบบอิสระที่มีนโยบายการหาเสียงต่าง ๆ ในการนำเสนอออกมาสู่สังคม

โดยนโยบายที่เป็นนโยบายหลักที่ผู้สมัครได้นำเสนอออกมา คือ นโยบาย “กรุงเทพฯ ต้องไปต่อ” ซึ่งมีอยู่ 8 นโยบายหลัก คือ นโยบายเมืองป้องกันน้ำท่วม นโยบายเมืองเดินทาง นโยบายเมืองแห่งสุขภาพ นโยบายเมืองใส่ใจ นโยบายเมืองแห่งการเรียนรู้ นโยบายเมืองปลอดภัย นโยบายเมืองดิจิทัล และนโยบายเมืองดูแลคนทุกกลุ่มทุกวัย ซึ่งเป็นนโยบายที่จะทำต่อเนื่องจากการบริหารก่อนหน้านี

และนโยบายที่ดูมีความน่าสนใจ คือ นโยบายแนวคิดการต่ออายุสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวอีก 30 ปีกับ BTS จากปี พ.ศ.2572 ที่จะหมดอายุสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนหลัก เป็นปี พ.ศ.2602 ที่จะครอบคลุมทั้งส่วนของรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนหลักและรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายทั้งหมด

ซึ่งเป็นนโยบายแนวคิดที่ไม่ค่อยพบเห็นมากนักในตัวผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนอื่น ๆ ส่วนใหญ่ที่มีมุมมองไม่เห็นด้วยกับการต่ออายุสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวไปอีก 30 ปี และมีการนำเสนอให้ประมูลหาผู้เดินรถใหม่หลังจากการหมดอายุสัมปทานเดิมหรือโอนกรรมสิทธิ์การกำกับดูแลรถไฟฟ้าสายสีเขียวให้หน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเข้ามาดูแลแทนเช่น รฟม. ที่อยู่ในการดูแลของกระทรวงคมนาคม

ทั้งนี้เรื่องของการต่ออายุสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียว 30 ปี จริง ๆ ถ้าจะเรียกว่าทางสองแพร่งก็ไม่ผิด เพราะถ้าต่ออายุสัมปทานรถไฟฟ้า ภาระหนี้สินที่กรุงเทพมหานครจะต้องแบกรับจากการก่อสร้างและการเดินรถในพื้นที่ส่วนต่อขยายเป็นจำนวนหลายแสนล้านบาทก็จะถูกโอนให้เป็นภาระของบีทีเอสแลกกับการที่ระบบรถไฟฟ้าสายสีเขียวทั้งหมดจะเป็นส่วนหนึ่งของสัมปทานฉบับใหม่ไปอีก 30 ปีจนถึงปี พ.ศ.2602

ขณะเดียวกันการไม่ต่ออายุสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียว 30 ปี และใช้วิธีการอื่น ๆ ในการแก้ไขปัญหาหนี้สินที่กรุงเทพมหานครจะต้องแบกรับเป็นจำนวนมหาศาลก่อนหน้า รวมทั้งการโอนระบบรถไฟฟ้าสายสีเขียวให้ รฟม. ดูแล ก็ถือว่าเป็นผลดีในอีกทางหนึ่งเพราะระบบรถไฟฟ้าทั้งหมดในกรุงเทพมหานครก็จะถูกดูแลโดยหน่วยงานเดียวคือ รฟม. ที่มีอำนาจกำกับดูแลและสามารถบูรณาการระบบรถไฟฟ้าเข้ารวมกันได้ทั้งหมด

แต่ต้องอย่าลืมว่า การแก้ไขปัญหาหนี้สินนับแสนล้านบาทในช่วงระยะสั้น หากภาครัฐหรือ รฟม. จะเป็นผู้แบกรับภาระหนี้ดังกล่าว ก็จะมีข้อครหาอยู่ว่าเป็นการนำงบประมาณมาเอื้อประโยชน์แก่คนในพื้นที่กรุงเทพมหานครและไม่ให้ความสำคัญกับคนในพื้นที่อื่น ๆ ของประเทศไทย

ซึ่งประเด็นการต่ออายุสัมปทาน 30 ปี หรือไม่ต่ออายุสัมปทานนั้น เป็นประเด็นที่สังคมได้ถกเถียงกันมานานในเรื่องข้อดีและข้อเสียของการตัดสินใจดังกล่าวที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ดังนั้น การตัดสินใจในเรื่องนี้ในอนาคตของกรุงเทพมหานครไม่ว่าจะต่อหรือไม่ต่ออายุสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวก็ตาม ย่อมมีผลกระทบต่อสังคมไม่ว่าทางใดก็ทางหนึ่ง

 

โดย ชย

อดีตวิศวกรโครงการ ระดับผู้จัดการ จบปริญญาตรีวิศวกรรมเครื่องกล จาก พระจอมเกล้าธนบุรี และ โท ด้าน Advanced Manufacturing Engineering จาก University of South Australia มีความสนใจในเรื่องประวัติศาสตร์ การเมือง และสวัสดิการสังคม

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า