Uncategorizedนโยบายวิภาค ผู้ว่า ฯ กรุงเทพมหานคร EP1: วิเคราะห์นโยบาย 3P และบำนาญประชาชน ของ ศิธา ทิวารี พรรคสร้างอนาคตไทย

นโยบายวิภาค ผู้ว่า ฯ กรุงเทพมหานคร EP1: วิเคราะห์นโยบาย 3P และบำนาญประชาชน ของ ศิธา ทิวารี พรรคสร้างอนาคตไทย

จากนโยบายการหาเสียงของผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในตอน 1 ได้เลือกคุณศิธา ทิวารี ในฐานะตัวแทนผู้สมัครจากพรรคไทยสร้างไทยที่มีนโยบายการหาเสียงต่าง ๆ ในการนำเสนอออกมาสู่สังคม

 

โดยนโยบายที่เป็นนโยบายหลักที่ผู้สมัครได้นำเสนอออกมา คือ นโยบาย 3P ซึ่งประกอบด้วย People สร้างคน Profit สร้างมหานครแห่งความมั่นคงทางเศรษฐกิจ และ Planet สร้างคุณภาพชีวิตคนกรุงเทพอย่างยั่งยืน ซึ่งทั้งหมดนี้จะมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์เมืองโดยคนทุกคนในเมือง

 

และนโยบายที่มีความสนใจ คือ นโยบายบำนาญประชาชนเดือนละ 3000 บาท ซึ่งเป็นนโยบายที่มุ่งเน้นสนับสนุนทุกคนให้ได้รับรายได้พื้นฐานไม่ว่าจะเป็นกลุ่มใด และไม่จำเป็นว่าต้องเป็นผู้สูงอายุหรือผู้พิการจึงจะมีสิทธิ์ได้รับรายรับพื้นฐานถ้วนหน้า โดยแนวคิดรายรับพื้นฐานถ้วนหน้าเป็นแนวคิดที่เกิดขึ้นมานานแล้วในโลกและมีข้อถกเถียงในเรื่องแนวคิดนี้ในการสนับสนุนกลไกทางเศรษฐกิจของประเทศ

 

เพราะในมุมหนึ่ง นโยบายรายรับพื้นฐานถ้วนหน้า เป็นนโยบายทางเศรษฐกิจที่ดี เพราะจะเป็นการช่วยลดค่าใช้จ่ายของประชาชนโดยตรงและไม่ต้องมีกระบวนการคัดกลุ่มคนที่มีสิทธิ์ในรายรับดังกล่าวซึ่งจะเป็นลดต้นทุนของการดำเนินนโยบายดังกล่าว นอกจากนี้ยังเป็นการลดอคติของการเลือกสนับสนุนความช่วยเหลือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เพราะเป็นการตัดสินใจช่วยเหลือทุกกลุ่มคนให้ได้รับสิทธิ์ที่เท่าเทียมกัน

 

และนโยบายรายรับพื้นฐานถ้วนหน้าเป็นนโยบายที่มีจุดประสงค์ในการกระตุ้นเศรษฐกิจให้เติบโตจากภาคส่วนต่าง ๆ โดยเฉพาะภาคการบริโภค ที่นอกจากจะเป็นการเพิ่มเม็ดเงินเข้ามาในระบบเศรษฐกิจจากการสนับสนุนของภาครัฐแล้วนั้น ยังสามารถพัฒนากลายเป็นการเติบโตแบบตัวทบทวีคูณเพราะเม็ดเงินดังกล่าวก็จะไหวเวียนในระบบเศรษฐกิจที่จะยิ่งมีประสิทธิผลมากขึ้นไปอีก หากเป็นการบริโภคภายในประเทศ

 

แต่ในมุมหนึ่ง นโยบายรายรับพื้นฐาน เป็นนโยบายที่ถือว่ามีต้นทุนการดำเนินการที่สูงมาก เพราะจะต้องใช้เม็ดเงินเป็นจำนวนมหาศาลในการดำเนินนโยบายดังกล่าวโดยเฉพาะในประเทศที่ไม่ได้มีระดับรายได้สูงและมีจำนวนประชากรในอัตราจำนวนมาก ก็จะมีต้นทุนในการดำเนินโครงการนี้สูงเป็นหลักแสนล้านบาทต่อเดือนในกรณีที่จะดำเนินนโยบายในระดับประเทศ ซึ่งจะเป็นรายจ่ายสำคัญของประเทศในภายภาคหน้า

 

และอีกสิ่งหนึ่งที่ต้องพิจารณา คือ โครงการรายรับพื้นฐานโดยถ้วนหน้า หากจะมีการดำเนินการในระดับท้องถิ่น คือ กรุงเทพมหานคร จะสามารถดำเนินการได้จริงในหน้าที่ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครที่กฎหมายได้รองรับไว้หรือไม่ และหากจะดำเนินการต่อจริง การผลักดันนโยบายนี้จะมีต้นทุนค่าใช้จ่ายเท่าใด ดังนั้น นโยบายรายได้พื้นฐาน จึงเป็นเหรียญสองด้านที่มีทั้งข้อดีและข้อเสียในการดำเนินนโยบายเช่นนี้

 

โดย ชย

อดีตวิศวกรโครงการ ระดับผู้จัดการ จบปริญญาตรีวิศวกรรมเครื่องกล จาก พระจอมเกล้าธนบุรี และ โท ด้าน Advanced Manufacturing Engineering จาก University of South Australia มีความสนใจในเรื่องประวัติศาสตร์ การเมือง และสวัสดิการสังคม

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า