Newsนักวิทยาศาสตร์ LGBTQ เรียกร้อง ‘ไม่ระบุเพศ’ ซากโครงกระดูกมนุษย์

นักวิทยาศาสตร์ LGBTQ เรียกร้อง ‘ไม่ระบุเพศ’ ซากโครงกระดูกมนุษย์

The College Fix เว็บไซต์ข่าวอนุรักษ์นิยมของอเมริการายงานเมื่อวันจันทร์ (18 ก.ค.) ที่ผ่านมา ว่า นักเคลื่อนไหวและนักวิชาการ LGBT จำนวนหนึ่งกำลังเรียกร้องให้ นักมานุษยวิทยาไม่ระบุซากโครงกระดูกมนุษย์ว่าเป็น ‘ผู้ชาย’ หรือ ‘ผู้หญิง’ โดยอ้างว่า เนื่องจากไม่มีทางรู้ได้ว่าซากมนุษย์ดังกล่าว มีอัตลักษณ์ทางเพศเป็นอย่างไร 

นอกจากนี้ ยังมีกลุ่ม Trans Doe Task Force ซึ่งอ้างว่า มาตรฐานปัจจุบันในการระบุตัวตนของมนุษย์ทางนิติเวช สร้างความเสียหายให้กับศพที่อัตลักษณ์ทางเพศไม่สอดคล้องเพศทวิลักษณ์ (gender binary) พร้อมทั้งเรียกร้องให้มีการขยายแนวทางในการระบุตัวตนของศพ โดยอิงตาม ‘เบาะแสตามบริบท’ เช่น ‘เสื้อผ้า’ ซึ่งสามารถสะท้อนอัตลักษณ์ทางเพศของศพได้

ในขณะเดียวกัน นักโบราณคดีบางคนก็พยายามที่จะต่อต้านการยัดเยียดเรื่องอัตลักษณ์ทางเพศในแวดวงโบราณคดี

ศ.เอลิซาเบธ ไวส์ นักโบราณคดีแห่งรัฐซานโฮเซ กล่าวกับ The College Fix ว่า “การเรียกร้องไม่ให้ระบุเพศโครงกระดูกเป็นเรื่องเหลวไหล และเป็นการก้าวถอยหลังสำหรับวิทยาศาสตร์”

โดยให้เหตุผลว่า การระบุเพศทางชีววิทยา สามารถป้องกันความเข้าใจผิดที่สร้างความเสียหายต่อผู้หญิง พร้อมยกตัวอย่างว่า นักมานุษยวิทยายุคแรกบางคนระบุเพศโครงกระดูกเพศหญิงที่ดูแข็งแรงบึกบึนว่าเป็นเพศชาย จึงทำให้เกิดการเหมารวมว่า ผู้หญิงไม่ได้ทำงานหนักเหมือนผู้ชาย

“นักมานุษยวิทยาชีวภาพและนักโบราณคดีทำงานอย่างหนักมาเป็นเวลานาน เพื่อกำหนดลักษณะทางกายภาพที่ถูกกำหนดโดยเพศ โดยไม่คำนึงถึงเวลาและวัฒนธรรม ซึ่งการเคลื่อนไหวของกลุ่ม LGBT ดังกล่าว จะลบล้างความก้าวหน้านี้ และเป็นการก้าวถอยหลังสำหรับวิทยาศาสตร์และผู้หญิง” 

ไวส์ กล่าวเสริมว่า การระบุเพศโครงกระดูก เป็นทักษะที่สำคัญในด้านนิติเวช ซึ่งการด้อยค่าทักษะดังกล่าวจะส่งผลเสียต่อการสืบสวนคดีอาญา และเป็นสาเหตุทำให้เหยื่อและครอบครัวไม่ได้รับความยุติธรรม พร้อมกล่าวทิ้งท้ายว่า การเคลื่อนไหวของกลุ่ม LGBT ดังกล่าว เป็นการยัดเยียดอุดมการณ์ ‘woke’ ในที่ที่ไม่สมควร อีกครั้ง

อ้างอิง :

https://www.breitbart.com/tech/2022/07/18/lgbt-activists-push-to-bar-anthropologists-from-identifying-human-remains-as-male-or-female/

อดีตวิศวกรโครงการ ระดับผู้จัดการ จบปริญญาตรีวิศวกรรมเครื่องกล จาก พระจอมเกล้าธนบุรี และ โท ด้าน Advanced Manufacturing Engineering จาก University of South Australia มีความสนใจในเรื่องประวัติศาสตร์ การเมือง และสวัสดิการสังคม

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า