Newsชี้ WorkpointTODAY ให้ข้อมูลบิดเบือน กรณี พ.ร.บ. กู้เงิน 2 ล้านล้าน ในสมัยที่นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ดำรงค์ตำแหน่งรมว.คมนาคม

ชี้ WorkpointTODAY ให้ข้อมูลบิดเบือน กรณี พ.ร.บ. กู้เงิน 2 ล้านล้าน ในสมัยที่นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ดำรงค์ตำแหน่งรมว.คมนาคม

เมื่อวาน (24 พ.ค.)  ผู้ใช้เฟสบุค Traipop Srikeawnit โพสต์พาดพิง WorkpointTODAY ว่านำเสนอข้อมูลเท็จ โดยชี้แจงว่า กฎหมายกู้เงิน พ.ร.บ. 2 ล้านล้าน ในสมัยที่นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ดำรงค์ตำแหน่งรมว.คมนาคม นั้นขัดต่อรัฐธรรมนูญ และมีความพยายามทำลายความโปร่งใส พยายามฉ้อราษฎร์บังหลวง พยายามทำลายวินัยการคลัง และอาจส่อที่จะเกิดทุจริตแบบที่เคยเกิดกับคดีจำนำข้าวจนเกิดความเสียหายหลายหมื่นล้านบาท

มิได้เป็นเพราะศาลรัฐธรรมนูญกล่าวว่าทำถนนลูกรังให้หมดไปจากประเทศไทย ก่อนที่จะคิดถึงระบบรถไฟความเร็วสูง ตามที่ WorkpointTODAY นำเสนอแต่อย่างใด

โดยผู้ใช้เฟสบุค Traipop Srikeawnit โพสต์ข้อความทั้งหมด ดังนี้

“WorkpointTODAY นำเสนอข้อมูลเท็จนะครับ

Highligh : การที่กฎหมายกู้เงิน พรบ. 2 ล้านล้านไม่ได้ไปต่อ ไม่ใช่เพราะเหตุผล เพราะถนนลูกรังยังไม่หมดไป ตามที่สื่อและสังคมบางส่วนพยายามที่จะบิดเบือนเพื่อกลบเกลื่อนความรับผิดชอบของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ซึ่งมีชัชชาติเป็น รมว.คมนาคม ณ ขณะนั้น ซึ่งมีส่วนทำให้โครงการก่อสร้างล่าช้า เพราะต้องชะลอโครงการต่าง ๆ ไว้ก่อนเพื่อที่จะออกกฎหมายนี้

ตัวกฎหมายกู้เงินนี้ ขัดต่อรัฐธรรมนูญ และมีความพยายามทำลายความโปร่งใส พยายามฉ้อราษฎร์บังหลวง พยายามทำลายวินัยการคลัง และอาจส่อที่จะเกิดทุจริตแบบที่เคยเกิดกับคดีจำนำข้าวจนเกิดความเสียหายหลายหมื่นล้านบาท

โดยรัฐธรรมนูญปี 2550 มาตรา 169 ระบุชัดเจนว่า #การจ่ายเงินแผ่นดิน จะกระทำได้ก็เฉพาะที่ได้อนุญาตไว้ในกฎหมาย 4 ฉบับดังนี้

1. งบประมาณรายจ่าย

2. วิธีการงบประมาณ

3. เกี่ยวด้วยการโอนงบประมาณ

4. ว่าด้วยเงินคงคลัง

แต่ พรบ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาทนั้น เป็นกฎหมายที่อยากจะนำเงินแผ่นดินไปจ่าย แต่กลับไม่อยู่ 4 กลุ่มประเภทตามที่ รธน. 50 มาตรา 169 บัญญัติไว้ ด้วยเหตุนี้จึงกล่าวได้ว่า พรบ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท ขัดและแย้งกับรัฐธรรมนูญ 2550 หมวด 8

– รายละเอียด –

– บทนำ –

สาระสำคัญทำไมหมวด 8 (มาตรา 166 – 170) รธน. ปี 50 จึงสำคัญมากในระบบการคลังของไทย นั่นเพราะ

1. ความโปร่งใส (TRANSPARENCY) รัฐบาลมีหน้าที่นำ เสนอร่าง พรบ.งบประมาณรายจ่าย เพื่อให้รัฐสภาผ่านเป็นกฎหมายหรือเพื่อทราบในกรณีที่เป็นเงินนอกงบประมาณ ซึ่งจะต้องแสดงรายละเอียดต่างๆ และเปิดเผยต่อสาธารณะ ทำ ให้สามารถ ตรวจสอบได้

 

2. การถ่วงดุล (CHECKS AND BALANCES) แม้ว่าอำนาจการเห็นชอบงบประมาณรายจ่าย เป็นของรัฐสภา แต่ รัฐธรรมนูญ 2550 หมวด 8 ก็มีการกำหนดเงื่อนเวลา และกติกา เงื่อนไขต่างๆ เพื่อให้สมาชิกรัฐสภา องค์กรอิสระ และรัฐบาลต้องทำ งานร่วมกัน ในการพิจารณางบประมาณรายจ่าย

 

เพื่อให้สามารถผ่านเป็นกฎหมายบังคับใช้ได้ อย่างเหมาะสม และเพียงพอต่อการบริหารราชการแผ่นดิน ทำให้ ไม่เกิดกรณีเช่น การปิดชั่วคราว (Temporary Shutdown) ของหน่วยราชการ ของสหรัฐอเมริกาในเดือนตุลาคม 2556 อันเนื่องจากรัฐบาลไม่อาจบรรลุข้อตกลง กับฝ่ายค้านในสภาได้ทันเวลา

 

3. การรักษาความมั่นคงของระบบการคลัง (FISCAL INTEGRITY) การใช้จ่ายและการบริหาร การเงินของหน่วยงานของรัฐต่าง ๆ ทั้งที่ผ่านงบประมาณแผ่นดิน และนอกงบประมาณ ต้องอยู่ในกรอบวินัยการเงินการคลัง ทั้งนี้เพื่อป้องกันมิให้มีการใช้จ่ายเกินตัว หากมีเหตุ จำ เป็นต้องใช้เงินคงคลังไปก่อน ก็ต้องหารายได้มาชดเชยให้ในปีถัดไปเพื่อไม่ให้ เงินคงคลังหร่อยหรอลง

 

4. ความคล่องตัว (FLEXIBILITY) แม้ว่าอำนาจการอนุมัติงบประมาณรายจ่าย อยู่กับรัฐสภา แต่ในบางกรณี เช่น กรณีฉุกเฉิน จำ เป็นเร่งด่วน หรือกรณีที่รัฐสภา อนุมัติงบประมาณรายจ่ายไม่ทันตามเวลาที่กำหนด ก็มีทางออกให้ฝ่ายบริหาร สามารถดำ เนินการเพื่อใช้งบประมาณรายจ่ายได้ และรายจ่ายพิเศษบางรายการที่ มีกฎหมายอนุญาตไว้

++++

ดังนั้น รัฐบาลมีหน้าที่ต้องบริหาร 2 ขา

ขาที่ 1 คือ บริหารรายได้ รวมถึงเงินกู้ ขาที่ 2 การบริหารรายจ่ายในบางประเภท โดยมีกฎหมายให้อำนาจรัฐบาลไว้ทั้ง 2 ขาซึ่งต้องกระทำภายใต้กรอบของกฎหมายที่วางไว้

โดยในส่วนขาที่ 2 การบริหารรายจ่ายนั้น รัฐบาลต้องจัดทำ “งบประมาณรายจ่าย” เพื่อขอความเห็นชอบจากรัฐสภาทุกปี ย้ำ ทุกปี ทั้งนี้ต้องมีการจัดทำประมาณการรายได้ ประกอบการพิจารณารายจ่ายด้วย จะได้รู้ว่า เกินดุล หรือขาดดุลมากน้อยเพียงใด

โดยกฎหมาย ได้กำหนดให้ รัฐบาลต้องจัดทำ “งบประมาณรายจ่าย” อยู่ในรูปแบบของพระราชบัญญัติ ที่ต้องผ่านสภา รัฐบาลจะไปมุบมิบออกกันเองไม่ได้ และที่สำคัญที่สุดเลย คือ มีกระบวนการที่ซับซ้อนและละเอียดกว่ากฎหมายโดยทั่วไป อาทิ รัฐบาลต้องมีรายละเอียดข้อมูล ต้องผ่านชั้นกรรมาธิการ ตรวจสอบทั้ง เหตุผล ความจำเป็น ความเหมาะสม ความพร้อมอย่างถี่ถ้วนที่สุด

อาจมีการขอให้เรียกหน่วยงานต่าง ๆ ที่เป็นฝ่ายปฎิบัติหรือใช้เงินนี้เข้ามาชี้แจงอีกด้วย หลังจากนั้นจึงจะเข้าสู่สภา และเมื่อผ่านสภา รัฐบาลถึงจะนำเงินไปใช้ได้

ซึ่งจะเห็นได้ว่า มีความซับซ้อน และมีรายละเอียดค่อนข้างเยอะ นั้นก็เพื่อให้การใช้จ่ายเงินแผ่นดินนั้นโปร่งใส และรักษาความมั่นคงทางการคลังให้มากที่สุด

หลังจากปูพื้นความรู้เบื้องต้นแล้ว คราวนี้เรามาเจาะลึกถึงตัว พรบ.กู้เงิน 2 ล้านล้านกันบ้าง

กฎหมายนี้ คืออะไร ? กฎหมายต้องการให้อำนาจรัฐบาลสามารถกู้เงินจำนวน 2 ล้านล้านบาทเป็นเวลา 7 ปีเพื่อไปสร้างระบบขนส่งทั่วประเทศ แปลว่า ?

  1. การกู้นี้ผูกพันวงเงินสูงมากถึง ร้อยละ 80 ของงบปี 56
  2. ผูกพันระยะเวลาไปถึงเกินรัฐบาลของยิ่งลักษณ์ และ กินไปถึงรัฐบาลอีก 2 ชุด
  3. กฎหมายนี้ทำตัวเองเป็น 2 หน้าที่ หน้าที่แรก คือ กฎหมายกู้เงิน หน้าที่ ที่สองคือ อนุมัติงบประมาณรายจ่ายด้วย เพราะมีบัญชีแนบท้ายที่กำหนดแผนงาน และวงเงิน ที่รวบอำนาจเบ็ดเสร็จให้รัฐบาลสามารถใช้จ่ายได้เลยทันที โดยไม่ผ่านประบวนการกลั่นกรองอย่างละเอียดถี่ถ้วนอย่างที่ พรบ.งบประมาณรายจ่าย จะต้องทำซึ่งผมได้อธิบายไปแล้วข้างต้น

จุดนี้นับว่าเป็นไพ่ตายสำคัญเลยทีเดียวที่ทำให้กฎหมายฉบับนี้ตกไป

พูดง่าย ๆ คือ กฎหมายนี้แทบจะทำตัวเป็นธานอส ที่เพียงแค่คุณดีดนิ้ว ผู้มีอำนาจก็สามารถอ้างเหตุใด ๆ ก็ได้ในการใช้จ่าย เพราะกฎหมายฉบับนี้มีแค่ แผนงาน (ที่ยังไม่ผ่านการกลั่นกรอง) และวงเงิน (ที่ยังไม่ผ่านการศึกษา)

และนั่น กฎหมายกู้เงิน 2 ล้านล้านนี้แทบจะทำให้ ความพยายามที่จะควบคุมการใช้เงินแผ่นดินต้องโปร่งใส และมั่นคงทางการคลังแทบจะไร้ความหมาย เพราะหากกฎหมายกู้เงินฉบับนี้ผ่านสภา รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ก็จะใช้แค่ มติ ครม. มากำหนดรายการจ่ายเงินกันเองได้อย่างอิสระ (ดึงเงินจากคลังมาได้โดยไม่ต้องผ่านสำนักงบประมาณ)

ถ้าเรายังจำกันได้ตอนที่สภามีการพิจารณางบประมาณรายจ่ายประจำปี มีการถ่ายทอดสด มีการอภิปรายงบแต่ละกระทรวงให้เราได้เห็นเพื่อความโปร่งใส นั่นแหละครับคือความสำคัญของการออกเป็น พรบ.งบประมาณฯ

แต่นี้ไม่ใช่ พรบ.กู้เงิน 2 ล้านล้าน กลับจะให้อำนาจฝ่ายบริหาร กู้เงินเอง จัดสรรงบเอง อนัมุติเงินเอง สั่งจ่ายเงินเอง แถมปรับเปลี่ยนรายการได้เองตามใจชอบ เช่นนี้ก็มันขัดแย้งกับหลักการของหมวด 8 รัฐธรรมนูญ ที่อยากให้การใช้จ่ายเงินแผ่นดินนั้น อยู่ในกรอบวินัยการคลัง โปร่งใส มีระบบถ่วงดุล

หากเราเปรียบเทียบการใช้จ่ายเงินแผ่นดินระหว่าง 2 กฎหมาย คือ พรบ.กู้เงิน 2 ล้านล้าน และ พรบ.งบปี 56 กลับพบว่า

พรบ.งบปี 56 มีแผนงานละเอียดถึง 990 แผนงาน สำหรับวงเงิน 2.4 ล้านล้านบาท แต่ พรบ.กู้เงิน 2 ล้านล้าน ที่ใช้วงเงินถึง 2 ล้านล้านกลับมีแผนงานเพียงแค่ 8 แผนงาน โอ้แม่เจ้า !!

โดยรัฐสภาซึ่งขณะนั้นคุมเสียงข้างมากโดยเพื่อไทยได้อนุมัติเงินก้อนใหญ่นี้ โดยมีแผนงานแค่ 8 แผนงาน และให้อำนาจรัฐบาลไปสั่งจ่ายกำหนดวงเงินที่มีผลในทางปฎิบัติเองภายหลังได้ การกระทำนี้จึงเปรียบเสมือน เขียนเช็คสั่งจ่ายใบใหญ่ 2 ล้านล้านบาท โดยไม่ระบุเงื่อนไขใด ๆ

– พาร์ทจบบทสรุป –

การที่กฎหมายกู้เงิน พรบ. 2 ล้านล้านไม่ได้ไปต่อ ไม่ใช่เพราะเหตุผล เพราะถนนลูกรังยังไม่หมดไป ตามที่สื่อและสังคมบางส่วนพยายามที่จะบิดเบือนเพื่อกลบความรับผิดชอบของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ซึ่งมีชัชชาติเป็น รมว.คมนาคม ณ ขณะนั้น ทำให้โครงการก่อสร้างล่าช้า เพราะต้องชะลอโครงการต่าง ๆ ไว้ก่อนเพื่อที่จะออกกฎหมายนี้

ตัวกฎหมายกู้เงินนี้ ขัดต่อรัฐธรรมนูญ มีความพยายามทำลายความโปร่งใส พยายามฉ้อราษฎร์บังหลวง พยายามทำลายวินัยการคลัง และอาจส่อที่จะเกิดทุจริตแบบที่เคยเกิดกับคดีจำนำข้าวจนเกิดความเสียหายหลายหมื่นล้านบาท

โดยรัฐธรรมนูญปี 2550 มาตรา 169 ระบุชัดเจนว่า #การจ่ายเงินแผ่นดิน จะกระทำได้ก็เฉพาะที่ได้อนุญาตไว้ในกฎหมาย 4 ฉบับดังนี้

  1. งบประมาณรายจ่าย 2. วิธีการงบประมาณ 3.เกี่ยวด้วยการโอนงบประมาณ 4. ว่าด้วยเงินคงคลัง

 

แต่ พรบ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาทนั้น เป็นกฎหมายที่อยากจะนำเงินแผ่นดินไปจ่าย แต่กลับไม่อยู่ 4 กลุ่มประเภทตามที่ รธน. 50 มาตรา 169 บัญญัติไว้ ด้วยเหตุนี้จึงกล่าวได้ว่า พรบ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท ขัดและแย้งกับรัฐธรรมนูญ 2550 หมวด 8

 

ปล. ในปัจจุบัน ก็มีโครงการรถไฟความเร็วสูง ไทย-จีน หรือ การก่อสร้างรถไฟทางคู่ทั่วประเทศ ซึ่งก็สามารถดำเนินการได้อย่างถูกต้อง โปร่งใส ไม่ขัดรัฐธรรมนูญ โดยไม่มีความจำเป็นต้องไปออก พรบ. กู้เงิน 2 ล้านล้านแบบในอดีตให้ผิดกฎหมาย จนเสียโอกาสการพัฒนาประเทศเลย

ดังนั้น หากจะโทษใครที่ทำให้โครงการ 2 ล้านล้านนั้นไม่ผ่าน อย่าโทษศาลรัฐธรรมนูญ เพราะศาลตัดสินได้ถูกต้องตามกฎหมายแล้ว แต่จงโทษรัฐบาลที่พยายามผลักดันกฎหมายฉบับนี้ จนทำให้ประเทศเสียหาย และโอกาส

 

ปล. ผมไม่ได้มีปัญหาส่วนตัวกับชัชชาตินะครับ ชื่นชมเป็นการส่วนตัวด้วย และอยากเห็นประเทศพัฒนา แต่ต้องไม่ใช่การบิดเบือนความผิด และโทษคนอื่นเพื่อให้ตัวเองพ้นผิด”

อดีตวิศวกรโครงการ ระดับผู้จัดการ จบปริญญาตรีวิศวกรรมเครื่องกล จาก พระจอมเกล้าธนบุรี และ โท ด้าน Advanced Manufacturing Engineering จาก University of South Australia มีความสนใจในเรื่องประวัติศาสตร์ การเมือง และสวัสดิการสังคม

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า