Newsความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครนยกระดับ ทำราคาน้ำมันขึ้น ย้ำเตือนข้อเท็จจริงที่ว่า ตลาดน้ำมันเปลี่ยนแปลงได้ทุกเมื่อ

ความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครนยกระดับ ทำราคาน้ำมันขึ้น ย้ำเตือนข้อเท็จจริงที่ว่า ตลาดน้ำมันเปลี่ยนแปลงได้ทุกเมื่อ

ความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครนยกระดับ ทำราคาน้ำมันขึ้น ย้ำเตือนข้อเท็จจริงที่ว่า ตลาดน้ำมันเปลี่ยนแปลงได้ทุกเมื่อ จากปัจจัยที่ส่งผลกระทบ

 

หลังจากเหตุการณ์โจมตีสะพานไครเมีย (Crimean Bridge หรือ สะพานข้ามช่องแคบเคียร์ช; Kerch Strait Bridge) ซึ่งส่งผลให้รถไฟขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงของรัสเซียนั้นลุกไหม้เสียหายและบางส่วนของสะพานนั้นถล่มลง ซึ่งแม้ว่าทางยูเครนจะไม่ออกมาแสดงความรับผิดชอบว่าเป็นผู้สั่งการ ฝ่ายรัสเซียก็ได้เปิดฉากตอบโต้เหตุการณ์นี้ด้วยการยิงขีปนาวุธโจมตีพื้นที่หลายแห่งในยูเครน ซึ่งหลายสำนักข่าวนั้นชี้ให้เห็นว่า “เป็นการโจมตีครั้งใหญ่ที่สุดนับจากช่วงแรก ๆ ที่สงครามเปิดฉากขึ้น”

 

ถ้าเราพิจารณาถึงการเรียกระดมกำลังพลของรัสเซียในช่วงเดือนกันยายนที่ผ่านมาร่วมไปด้วย รายงานข่าวนี้เป็นสัญญาณให้เห็นถึงการยกระดับและการเปิดฉากความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย – ยูเครนระลอกใหม่ โดยพัฒนาการหลาย ๆ อย่างของวิกฤตการณ์ในครั้งนี้นั้นเกิดผลกระทบในหลายประเด็นและกระทบต่อหลายฝ่าย ไม่ใช่เพียงแต่ประเทศคู่ขัดแย้งและประเทศใกล้เคียงในทวีปยุโรปเท่านั้น แต่ยังรวมถึงประเทศอื่น ๆ ที่ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องโดยตรงด้วย โดยเฉพาะถ้าเรากล่าวถึงผลกระทบด้านพลังงาน เนื่องจากสถานะของประเทศรัสเซียในการเป็นผู้ส่งออกพลังงานเจ้าใหญ่ที่สุดเจ้าหนึ่งของโลก

 

เช่นเดียวกับตั้งแต่เมื่อวิกฤตการณ์ความขัดแย้งนี้ได้เริ่มต้นขึ้น เหตุการณ์การโจมตียูเครนของรัสเซียในครั้งนี้ทำให้ราคาพลังงานสูงขึ้น ถือเป็นเครื่องย้ำเตือนให้เราเห็นถึงปัจจัยต่าง ๆ มากมายที่ส่งผลกระทบต่อตลาดพลังงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ต่อราคาน้ำมัน ที่อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์ระหว่างประเทศต่าง ๆ ที่มีความละเอียดอ่อน

 

โดยปัจจัยอื่น ๆ ที่จะส่งผลต่อราคาน้ำมันในช่วงสัปดาห์ที่จะถึงนี้ก็รวมถึง

– มติลดการผลิตน้ำมันดิบ 2 ล้านบาร์เรลต่อวัน ในเดือน พ.ย. 65 ของที่ประชุมคณะกรรมการร่วมระดับกระทรวงของกลุ่ม OPEC และพันธมิตร

– การปิดซ่อมบำรุงแหล่งผลิตน้ำมัน Bonga ของบริษัท Shell Nigeria

– บริษัทน้ำมันแห่งชาติของซาอุดีอาระเบีย (Saudi Aramco) ประกาศราคาขายน้ำมันดิบคงที่ สวนทางจากที่ตลาดคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อย

– กระทรวงน้ำมันของอิรักรายงานปริมาณส่งออกน้ำมันดิบในเดือนกันยายน ซึ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์ จาก 3.3 ล้านบาร์เรลต่อวัน ขึ้นเป็น 6 ล้านบาร์เรลต่อวัน

เป็นต้น

 

ซึ่งเราจะเห็นได้ว่าปัจจัยต่าง ๆ ที่ได้กล่าวมาเหล่านี้ ล้วนเป็นสิ่งที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงด้านพลังงานและต่อราคาน้ำมัน เป็นสิ่งที่อยู่นอกเหนือการควบคุมของรัฐบาลและระบบเศรษฐกิจของไทยเราอย่างสิ้นเชิง ซึ่งประเทศไทยก็เป็นหนึ่งในหลายประเทศที่ อยู่ในจุดที่เป็นผู้รอรับผลกระทบจากความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอยู่ตลอด

 

การเปลี่ยนแปลงไปของปัจจัยต่าง ๆ นั้นเองที่เป็นสิ่งกำหนดความเป็นไปในประเด็นด้านพลังงาน โดยแต่ละประเทศนั้นก็มีความจำเป็นที่จะต้องรับมือกับความเปลี่ยนแปลงเหล่านั้นตามขีดความสามารถและเครื่องมือต่าง ๆ ที่ตนเองมี จากความร่วมมือของภาครัฐและเอกชน อย่างเช่น “กองทุนน้ำมัน” ก็เป็นหนึ่งในเครื่องมือของประเทศไทยที่ใช้ช่วยแก้ปัญหาความเปลี่ยนแปลงของราคาน้ำมันที่อาจเกิดขึ้นอย่างกะทันหันในตลาดโลก

 

เพราะราคาน้ำมันนั้นไม่สามารถควบคุมได้อย่างสมบูรณ์ เพราะน้ำมันและผลิตภัณฑ์และสินค้าทุก ๆ อย่างในระบบเศรษฐกิจของโลกนั้น มีความเชื่อมโยงเกี่ยวข้องกันทั้งหมด

อดีตวิศวกรโครงการ ระดับผู้จัดการ จบปริญญาตรีวิศวกรรมเครื่องกล จาก พระจอมเกล้าธนบุรี และ โท ด้าน Advanced Manufacturing Engineering จาก University of South Australia มีความสนใจในเรื่องประวัติศาสตร์ การเมือง และสวัสดิการสังคม

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า