Articlesการพัฒนาเมือง และพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อเข้าสู่สังคมสูงวัย และสังคมที่เป็นมิตรต่อผู้พิการ

การพัฒนาเมือง และพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อเข้าสู่สังคมสูงวัย และสังคมที่เป็นมิตรต่อผู้พิการ

ในสังคมของแต่ละประเทศนั้น นอกจากประชากรเช่นเรา ๆ แล้ว ยังมีหน่วยของประชาชนในกลุ่มเปราะบางหรือกลุ่มที่ต้องการความช่วยเหลือเพิ่มเติมในการใช้ชีวิต เช่น ผู้สูงอายุ และผู้พิการ อีกด้วย 

 

อย่างในเมืองไทยเราเองที่ ปัจจุบันเรากำลังเข้าสู่ยุค Aging Society หรือ “สังคมผู้สูงอายุ” จากพัฒนาการทางเศรษฐกิจ สังคม และสาธารณสุข ทำให้ประชากรไทยเรามีอายุขัยมากขึ้น แต่อายุที่มากก็นำไปสู่ความยากลำบากอื่น ๆ โดยเฉพาะด้านสุขภาพร่างกายของผู้สูงอายุ 

 

ในอีกด้านของพลวัตสังคมที่สำคัญในช่วงที่ผ่านมาคือ การสร้างจิตสำนึกและการรณรงค์ให้สังคมเปิดกว้างและพัฒนาเพื่อรองรับ กลุ่มคนพิการ ซึ่งที่ผ่านมานั้นมักถูกมองข้ามไปในการอำนวยความสะดวก และส่งเสริมในด้านต่าง ๆ อยู่อย่างเสมอมา

 

ยกตัวอย่างเช่น ฟุตบาท ทางม้าลาย สะพานข้ามแยก หรือบันไดและลิฟต์เพื่อเข้าสู่สถานีขนส่งหรือในอาคารต่าง ๆ ที่เมื่อก่อนนั้นอาจไม่มีการสร้างเอื้อกับผู้สูงอายุหรือผู้พิการ แต่จากการเคลื่อนไหวเรียกร้องขององค์กรต่าง ๆ ปัจจุบันก็ได้เริ่มมีความพยายามในการปรับปรุงและวางแผนโครงการต่าง ๆ โดยไม่ได้ละเลยกลุ่มคนเหล่านี้มากขึ้นเรื่อย ๆ

 

อีกหนึ่งสัญญาณที่น่าจับตามองและน่าสนับสนุน นอกเหนือจากในมิติของการพัฒนาเมืองและโครงสร้างพื้นฐาน นั่นก็คือการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยี

 

แน่นอนว่าเมื่อพูดถึงเทคโนโลยี คนทั่วไปอาจจะหันไปหาประเทศเช่น อเมริกา ประเทศตะวันตก หรือญี่ปุ่น รวมทั้งจีนในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ ประเทศไทยนั้นเรียกได้ว่ายังไม่มีความโดดเด่นมากนักในการพัฒนาเทคโนโลยี 

 

อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบัน นอกจากในมุมขององค์กรต่าง ๆ สถาบันการศึกษาของไทยนั้นก็ถือว่าเป็นหนึ่งในผู้เล่นที่สำคัญ ในการเคลื่อนไหวเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้คนในสังคม ผ่านพัฒนาการทางวิชาการและทางเทคโนโลยี

 

ตัวอย่างหนึ่งที่น่าติดตามนั่นก็คือ การพัฒนาเทคโนโลยี exoskeleton ซึ่งเป็นอุปกรณ์เสริมเชิงชีวจักรกล (biomechatronics) เพื่อทุ่นแรงและเสริมสมรรถนะในการเคลื่อนไหวในกิจกรรมที่มีความหนักหน่วง เช่น การเดินทางไกลของทหาร เป็นต้น แต่อีกประโยชน์หนึ่งของเทคโนโลยีนี้ก็คือการช่วยพยุงร่างกายของผู้สูงอายุและผู้พิการ

 

ซึ่งเราอาจคิดไม่ถึงว่าในไทยนั้นสิ่งนี้อยู่ แต่ที่สถาบันวิทยสิริเมธี หรือ VISTEC นั้น มีนักวิจัยไทยกำลังศึกษาและพัฒนาเทคโนโลยีนี้อยู่ โดยปัจจุบันได้มีการสร้างต้นแบบ (prototype) ของ exoskeleton ขึ้นมาในชื่อ ชุด EXOBIC ซึ่งไม่เพียงแต่จะใช้องค์ความรู้ด้าน biomechatronics แต่ยังมีการประยุกต์ใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) เพื่อประมวลผลข้อมูลสัญญาณชีวภาพ (biofeedback) ให้เหมาะสมกับการช่วยเหลือผู้ใช้ที่เป็นผู้สูงอายุและผู้พิการคนนั้น ๆ อีกด้วย

 

ในอนาคตเราอาจจะเห็นสังคมไทยที่พัฒนาเมืองและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อให้ผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้คนทุกกลุ่มใช้ชีวิตได้เต็มศักยภาพของพวกเขาก็ได้

 

#TheStructureArticle

#เทคโนโลยี #อนาคต #PTT

 

———————

#เทคโนโลยี #อนาคต #PTT

อดีตวิศวกรโครงการ ระดับผู้จัดการ จบปริญญาตรีวิศวกรรมเครื่องกล จาก พระจอมเกล้าธนบุรี และ โท ด้าน Advanced Manufacturing Engineering จาก University of South Australia มีความสนใจในเรื่องประวัติศาสตร์ การเมือง และสวัสดิการสังคม

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า