กลุ่มผู้ฝึกงานชาวเวียดนาม รวมตัวฟ้องบริษัทญี่ปุ่นที่ไม่จ่ายค่าโอที หลังให้ทำงานล่วงเวลา 100 ชม.ในเดือนเดียว
16 พ.ย. 2565 – กลุ่มนักศึกษาฝึกงานด้านเทคนิคชาวเวียดนาม รวมตัวจัดงานแถลงข่าวเพื่อเรียกร้องให้อดีตนายจ้างจ่ายเงินค่าทำงานล่วงเวลารวมเป็นเงิน 27 ล้านเยน (ประมาณ 7 ล้านบาท)
จากบันทึกการทำงานของผู้ฝึกงานด้านเทคนิคเปิดเผยว่า พวกเขาทำงานล่วงเวลาเกิน 100 ชั่วโมงในแต่ละเดือน ทั้งที่กฎหมายแรงงานญี่ปุ่น กำหนดให้ลูกจ้างสามารถทำงานล่วงเวลาได้ไม่เกิน 45 ชม./เดือน
ผู้ฝึกงานด้านเทคนิคทั้ง 11 คน ได้แจ้งเรื่องสภาพการทำงานที่ยากลำบากและผิดกฎหมายต่อองค์กรไม่แสวงหากำไรที่สนับสนุนชาวเวียดนามในญี่ปุ่น เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา และได้ลาออกจากบริษัท โคชิมิสุ ฮิฟุคุโคเงียว เมื่อวันที่ 4 พ.ย. โดยจะเริ่มงานใหม่ที่บริษัทสิ่งทอในจังหวัดกิฟุ ทางตอนกลางของประเทศญี่ปุ่นแทน
ด้านบริษัท โคชิมิสุ ฮิฟุคุโคเงียว ในจังหวัดเอฮิเมะ ประกาศเมื่อวันที่ 7 พ.ย. ว่าบริษัทเตรียมยื่นล้มละลาย หลังจากที่ก่อนหน้านั้นทางบริษัทได้ตกลงกับกลุ่มผู้ฝึกงานว่าจะทยอยจ่ายเงินค่าทำงานล่วงเวลา และเงินชดเชยกรณีจ่ายเงินล่าช้า ให้คนละประมาณ 2.2 – 2.6 ล้านเยน (5.72-6.76 แสนบาท)
บริษัท โคชิมิสุ ฮิฟุคุโคเงียว ซึ่งได้รับการว่าจ้างจากกระทรวงสาธารณสุข แรงงาน และสวัสดิการญี่ปุ่น ให้ผลิตชุดคลุมทางการแพทย์ในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 มีหนี้สินรวมทั้งสิ้นประมาณ 60 ล้านเยน (ประมาณ 15.6 ล้านบาท)
ญี่ปุ่นได้ริเริ่ม “โครงการฝึกงานด้านเทคนิค” เมื่อปี 2536 เพื่อถ่ายทอดความรู้และทักษะให้กับประเทศกำลังพัฒนา อย่างไรก็ตาม โครงการดังกล่าวถูกวิจารณ์มาโดยตลอดว่าเป็นการเปิดทางให้บริษัทต่างๆ นำเข้าแรงงานราคาถูกจากประเทศในเอเชีย
รายงานจากสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองระบุว่า ตัวเลขผู้ฝึกงานด้านเทคนิคที่อาศัยอยู่ในญี่ปุ่น ณ สิ้นเดือนมิถุนายน อยู่ที่ 328,000 คน
(1 เยน = 0.26 บาท)
ขึ้นค่า VISA รัสเซียจ่อขึ้นค่าธรรมเนียมวีซ่า สำหรับพลเมืองประเทศในยุโรป
ยุติบทบาทในพรรค ‘มาดามเดียร์’ ประกาศไม่ทำงานร่วมกรรมการบริหารชุดใหม่ แต่ยังคงเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์เหมือนเดิม
หยุดทรมานม้าหมุน PETA เรียกร้องให้ผู้ผลิตเครื่องเล่นสวนสนุกในรัฐแคนซัส ยุติการผลิตและจำหน่ายม้าหมุนธีมสัตว์ในสวนสนุก เหตุเป็นการสอนเด็กแสวงประโยชน์จากสิ่งมีชีวิต
ศิราวุธ ภุมมะกสิกร
อดีตวิศวกรโครงการ ระดับผู้จัดการ จบปริญญาตรีวิศวกรรมเครื่องกล จาก พระจอมเกล้าธนบุรี และ โท ด้าน Advanced Manufacturing Engineering จาก University of South Australia มีความสนใจในเรื่องประวัติศาสตร์ การเมือง และสวัสดิการสังคม