Newsสรรพากรเตรียมออกกฎหมาย Top-up Tax เก็บภาษีบริษัทยักษ์ข้ามชาติ ที่มีรายได้รวมตั้งแต่ 750 ล้านยูโรขึ้นไป

สรรพากรเตรียมออกกฎหมาย Top-up Tax เก็บภาษีบริษัทยักษ์ข้ามชาติ ที่มีรายได้รวมตั้งแต่ 750 ล้านยูโรขึ้นไป

ครม. จ่อออกกฎหมายการจัดเก็บ Top-up Tax บริษัทข้ามชาติขนาดใหญ่ที่มีรายได้รวมตั้งแต่ 750 ล้านยูโรขึ้นไป คาดเสนอร่างกฎหมายภายในปี 2566 และจะมีผลบังคับใช้ปี 2568

 

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบมาตรการรองรับการเสียภาษีขั้นต่ำ (Global Minimum Tax) ขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) โดยมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาดำเนินการตามที่สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) เสนอ

 

โดยสาระสำคัญมีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงมาตรการส่งเสริมการลงทุน ให้สอดรับกับแนวทางการจัดเก็บภาษีรูปแบบใหม่ของ OECD ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากการเข้าร่วมเป็นภาคีสมาชิกภายใต้กรอบความร่วมมือระหว่างประเทศ Inclusive Framework on BEPS เพื่อให้ประเทศไทยยังคงความสามารถในการชักจูงการลงทุนและรักษาฐานการผลิตของบริษัทข้ามชาติขนาดใหญ่ ซึ่งมีความสำคัญต่อการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในระยะต่อไป

 

โดยกรอบความร่วมมือระหว่างประเทศ Inclusive Framework on Base Erosion and Profit Shifting (BEPS) จัดตั้งขึ้นโดย OECD เพื่อเป็นกลไกให้ประเทศสมาชิกทั่วโลกเข้าร่วม เพื่อกำหนดทิศทางและวิธีการในการนำมาตรการป้องกันการกัดกร่อนฐานภาษีและโยกย้ายกำไรไปยังประเทศที่มีอัตราภาษีต่ำ โดยประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นภาคีสมาชิกภายใต้กรอบความร่วมมือดังกล่าวตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2560 ทั้งนี้ ในการประชุม The 13th Inclusive Framework on BEPS เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2564 OECD ได้นำแนวทางการจัดเก็บภาษีในยุคเศรษฐกิจดิจิทัลซึ่งแบ่งออกเป็น 2 แนวทาง (Pillar) คือ

 

แนวทางที่ 1 (Pillar 1) จัดเก็บภาษีกลุ่มบริษัทข้ามชาติขนาดใหญ่ (Multi – National Enterprises: MNES ที่มีรายได้รวมมากกว่า 20,000 ล้านยูโร และมีอัตรากำไรมากกว่าร้อยละ 10 ของรายได้ โดยแบ่งสัดส่วนการจัดเก็บภาษีไปยังประเทศผู้ใช้งานร้อยละ 25 ของส่วนกำไรที่เกินร้อยละ 10 ของรายได้

 

แนวทางที่ 2 (Pillar 2) กำหนดให้ MNEs ที่มีรายได้รวมตั้งแต่ 750 ล้านยูโรขึ้นไปต้องเสียภาษีขั้นต่ำ (Global Minimum Tax) ในอัตราร้อยละ 15 ในแต่ละประเทศที่บริษัทลูกประกอบกิจการ และหากบริษัทลูกในประเทศต่างๆ เสียภาษีจริง (Effective Tax Rate: ETR) ต่ำกว่าร้อยละ 15 จะต้องเสียภาษีส่วนต่าง (Top – Up Tax) ให้ประเทศที่บริษัทแม่ตั้งอยู่ (การคำนวณอัตราภาษีที่แท้จริง (ETR) และ Top-up Tax จะคำนวณจากข้อมูลทางการเงินของบริษัทในเครือทั้งหมดในประเทศนั้นๆ)

 

ทั้งนี้ ครม.มีมติรับทราบผลการประชุมดังกล่าวแล้วเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2564 โดย OECD คาดว่า แนวทางที่ 2 (Pillar 2) จะมีผลบังคับใช้ภายในปี 2566 อย่างไรก็ตาม กรมสรรพากรยังอยู่ในระหว่างการจัดทำกฎหมายจัดเก็บ Top-up Tax โดยคาดว่าจะเสนอร่างกฎหมายดังกล่าวได้ภายในปี 2566 และจะมีผลบังคับใช้ในปี 2568 โดยกระทรวงการคลัง (กรมสรรพากร) จะดำเนินการตรากฎหมายและ/หรือกำหนดแนวทางดำเนินการตามความเหมาะสม ดังนี้

 

1.การจัดเก็บ Top – up Tax ตาม Pillar 2 (กรมสรรพากรอยู่ระหว่างจัดทำกฎหมาย)

 

2.การจัดสรรรายได้จากการจัดเก็บ Top – up Tax ให้แก่กองทุนเพิ่มขีดความสามารถฯ ในอัตราอย่างน้อยร้อยละ 50 แต่ไม่เกินร้อยละ 70 ของเงินรายได้ดังกล่าว (เป็นการหารือในเบื้องต้น โดย สกท. และกรมสรรพากรจะหารือร่วมกันในรายละเอียดเพื่อกำหนดอัตราดังกล่าวที่ชัดเจนต่อไป

 

3.การจัดส่งข้อมูลผู้ชำระ Top – up Tax ให้แก่ สกท.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า