เริ่มมีผลบังคับใช้ พ.ร.บ.กำหนดระยะเวลาดำเนินงานในกระบวนการยุติธรรม ช่วยลดความยุ่งยาก ซับซ้อน ลดความเหลื่อมล้ำ ประชาชนติดตามความคืบหน้าคดีได้
พ.ร.บ.กำหนดระยะเวลาดำเนินงานในกระบวนการยุติธรรม พ.ศ. 2565 มีผลบังคับใช้แล้ว ช่วยลดความยุ่งยาก ซับซ้อน ลดเหลื่อมล้ำ ให้ประชาชนตามความคืบหน้าคดีได้
นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า พระราชบัญญัติกำหนดระยะเวลาดำเนินงานในกระบวนการยุติธรรม พ.ศ. 2565 มีผลบังคับใช้แล้ววานนี้ (23 ม.ค.) โดยให้กำหนดระยะเวลาดำเนินงานในกระบวนการยุติธรรมทุกขั้นตอนให้ชัดเจน เพื่อประชาชนได้รับความยุติธรรมโดยไม่ล่าช้า สามารถตรวจสอบความคืบหน้าการทำงานของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมได้
โดยพระราชบัญญัติดังกล่าวสอดคล้องกับ 1 ใน 6 ด้านของยุทธศาสตร์ชาติด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ และแผนการปฏิรูปประเทศ ซึ่ง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ให้แนวทางไว้
การดำเนินการตามแผนปฏิรูปประเทศด้านกระบวนการยุติธรรม มีขั้นตอนการดำเนินการตามแผนปฏิรูปเพื่อกำหนดระยะเวลาการดำเนินงานในทุกขั้นตอนของกระบวนการยุติธรรมที่ชัดเจน มีกฎหมายที่กำหนดให้หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมกำหนดระยะเวลาดำเนินงานในทุกขั้นตอน และกำหนดให้หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมสร้างระบบการตรวจสอบ หรือแจ้งความคืบหน้าให้ประชาชนตรวจสอบว่าเรื่องที่ใช้บริการหรือเกี่ยวข้อง ดำเนินงานไปถึงขั้นตอนใด (Tracking / Notification System)
เรื่องดังกล่าวยังช่วยลดขั้นตอนและความยุ่งยาก ซับซ้อน ช่วยเหลือประชาชนผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ให้เข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้ พร้อมทั้งได้นำเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดระบบติดตาม ตรวจสอบ และแจ้งความคืบหน้า เพื่อให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทราบ
หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมที่มีหน้าที่และอำนาจดำเนินงานในกระบวนการยุติธรรม ได้แก่ กระทรวงกลาโหม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงยุติธรรม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ คณะกรรมการการเลือกตั้ง คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ศาล (ศาลยุติธรรม ศาลปกครอง ศาลทหาร ศาลรัฐธรรมนูญ) องค์กรอัยการ และหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมอื่นตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา
มช. สั่งจัดการ ! ตั้งกรรมการสอบสวนวินัยร้ายแรง หลังโซเชียลแฉนักวิชาการจ่ายเงินเพื่อซื้องานวิจัย
กทพ.จับมือ ‘หัวเว่ย’ วางโครงการสร้าง ‘ทางด่วนอัจฉริยะ’ แห่งแรกในประเทศไทย มุ่งสู่การเป็นศูนย์กลางดิจิทัลแห่งอาเซียน
แบนกลุ่มที่สนับสนุนฮามาส สวิตเซอร์แลนด์ จะเริ่มแบน NGO ที่สนับสนุนฮามาส หลังสวิสประกาศว่าฮามาสคือกลุ่มก่อการร้าย
ศิราวุธ ภุมมะกสิกร
อดีตวิศวกรโครงการ ระดับผู้จัดการ จบปริญญาตรีวิศวกรรมเครื่องกล จาก พระจอมเกล้าธนบุรี และ โท ด้าน Advanced Manufacturing Engineering จาก University of South Australia มีความสนใจในเรื่องประวัติศาสตร์ การเมือง และสวัสดิการสังคม