
“ขายชาติ” จริงหรือ? เปิดกฎหมายต่างชาติถือครองที่ดิน
ร่างกฎหมายต่างชาติถือครองที่ดินในประเทศ กำลังถูกโจมตีจากฝ่ายการเมืองและกลุ่ม NGO ว่าเป็น “กฎหมายขายชาติ” ที่เปิดโอกาสให้ต่างชาติมาฮุบที่ดินคนไทย และต่อไปคนไทยจะไม่มีที่อยู่ในประเทศไทย
วันนี้ The Structure จะมาเปิดข้อมูลให้ทราบกันว่า ข้อกล่าวหานั้นเป็นจริงหรือไม่ และข้อกำหนดในการที่ต่างชาติจะเข้ามาถือครองที่ดินในไทยได้ มีอะไรบ้าง ?
Boost Up ประเทศไทยจากเงินลงทุนต่างชาติ
รัฐบาลไทยตั้งเป้าว่า ภายใน 5 ปีงบประมาณ (2565-2569) จะใช้มาตรการช่วยเพิ่มจำนวนชาวต่างชาติที่พักอาศัยในประเทศไทย 1 ล้านคน เพิ่มปริมาณเงินใช้จ่ายในระบบเศรษฐกิจมูลค่า 1 ล้านล้านบาทเพิ่มการลงทุนในประเทศ 8 แสนล้านบาท และสร้างรายได้จากการเก็บภาษีที่เพิ่มขึ้น 2.7 แสนล้านบาท
โดยมติ ครม. เมื่อวันที่ 18 ม.ค. 2565 เห็นชอบให้กระทรวงมหาดไทยออกประกาศ เรื่องการอนุญาตให้คนต่างด้าวบางกลุ่มเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุน โดยการดึงชาวต่างชาติที่มีศักยภาพสูงเข้าประเทศไทย ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 2 มิ.ย. 2565 และมีผลบังคับใช้เดือน ก.ย. 2565
วีซ่าพำนักระยะยาวสำหรับชาวต่างชาติศักยภาพสูง 4 กลุ่ม
สำหรับชาวต่างชาติที่มีศักยภาพสูง 4 กลุ่ม ที่มีสิทธิได้รับวีซ่าประเภทการพำนักระยะยาว (Long-term resident visa : LTR Visa) ได้แก่
- กลุ่มประชากรผู้มีความมั่งคั่งสูง (Wealthy Global Citizen)
- ลงทุนขั้นต่ำ 500,000 ดอลลาร์สหรัฐ (18 ล้านบาท) ในพันธบัตรรัฐบาลไทย หรือลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) หรือลงทุนในอสังหาริมทรัพย์
- เงินเดือนหรือเงินบำนาญขั้นต่ำปีละ 80,000 ดอลลาร์สหรัฐ (2.8 ล้านบาท) ในช่วง 2 ปี
- มีทรัพย์สินขั้นต่ำ 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (35 ล้านบาท)
- กลุ่มผู้เกษียณอายุจากต่างประเทศ (Wealthy Pensioner)
- ลงทุนขั้นต่ำ 250,000 ดอลลาร์สหรัฐ (9 ล้านบาท) ในพันธบัตรรัฐบาลไทย หรือลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) หรือลงทุนในอสังหาริมทรัพย์
- มีเงินบำนาญขั้นต่ำปีละ 40,000 ดอลลาร์สหรัฐ (1.4 ล้านบาท) หรือมีเงินบำนาญขั้นต่ำปีละ 80,000 ดอลลาร์สหรัฐ (2.8 ล้านบาท) กรณีไม่มีการลงทุน
- กลุ่มที่ต้องการทำงานจากประเทศไทย (Work-from-Thailand Professional)
- มีรายได้ส่วนบุคคลปีละ 80,000 ดอลลาร์สหรัฐ (2.8 ล้านบาท) ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา หรือปีละ 40,000 ดอลลาร์สหรัฐ (1.4 ล้านบาท) หากสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทขึ้นไป/ครอบครองทรัพย์สินทางปัญญา/ได้รับเงินทุน Series A1 และมีประสบการณ์การทำงาน 5 ปี
- กลุ่มผู้เชี่ยวชาญพิเศษ (High-Skilled Professional)
- มีรายได้ส่วนบุคคล ปีละ 80,000 ดอลลาร์สหรัฐ (2.8 ล้านบาท) ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา หรือปีละ 40,000 ดอลลาร์สหรัฐ (1.4 ล้านบาท) หากสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทขึ้นไป และมีประสบการณ์การทำงานอย่างน้อย 5 ปีในอุตสาหกรรมเป้าหมาย
รวมถึงผู้ติดตามของคนต่างด้าว (คู่สมรสและบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งมีอายุไม่เกิน 20 ปี จำนวนไม่เกิน 4 คน) สามารถพำนักและทำงานในประเทศไทยได้
สิทธิต่างชาติถือครองที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยไม่เกิน 1 ไร่ ต้องลงทุน 40 ล้านอย่างน้อย 3 ปี
หลังจากการออกวีซ่าพำนักระยะยาวสำหรับชาวต่างชาติศักยภาพสูงแล้ว ขั้นต่อมาคือ กรมที่ดิน กระทรวงมหาดไทย กำลังร่างกฎกระทรวงเพิ่มเติมในเรื่องการให้สิทธิชาวต่างชาติถือครองที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยไม่เกิน 1 โดยมี
หลังจากมาตรการออกวีซ่าพำนักระยะยาวสำหรับชาวต่างชาติศักยภาพสูงแล้ว เพื่อดึงเม็ดเงินลงทุนและชาวต่างชาติที่มีศักยภาพสูงให้มาพำนัก ทำงาน และลงทุนในประเทศไทยแล้ว กรมที่ดิน กระทรวงมหาดไทย กำลังร่างกฎกระทรวงเพิ่มเติมในเรื่องการให้สิทธิชาวต่างชาติถือครองที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยไม่เกิน 1 ไร่และใช้เป็นที่อยู่อาศัยเท่านั้น
โดยมีเงื่อนไขว่าต้อง ลงทุนไม่ต่ำกว่า 40 ล้านบาท และ ต้องลงทุนไม่น้อยกว่า 3 ปี ในธุรกิจหรือกิจการประเภทที่ภาครัฐกำหนด
เช่น การลงทุนในกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ รวมถึง การลงทุนในกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติทรัสต์เพื่อธุรกรรม ในตลาดทุน พ.ศ. 2550
ลดค่าโอนบ้านไม่เกิน 3 ล้านบาท เฉพาะคนสัญชาติไม่เกี่ยวต่างชาติ
ส่วนอีกประเด็นที่ถูกเอามาโยงเข้ากับเรื่องต่างชาติถือครองที่ดิน ก็คือ เรื่องการลดค่าธรรมเนียมการซื้อขายบ้านพร้อมที่ดินหรืออาคารชุดที่มีมูลค่าไม่เกิน 3 ล้านบาท ซึ่งจะได้สิทธิลดหย่อนค่าธรรมเนียมจาก 2% เป็น 0.01% ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่ 18 มกราคม นั้นใช้ ‘เฉพาะผู้มีสัญชาติไทย’ เท่านั้น
ดังนั้นเรื่องนี้จึงไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องมาตรการต่างชาติพำนักระยะยาว หรือต่างชาติถือครองที่ดินแต่ประการใด
สรุป
เห็นได้ชัดเจนว่าข้อกำหนดในการออกวีซ่าพำนักระยะยาวนั้น มีเงื่อนไขที่ ‘สูงมาก’
คือ ต้องมีเงินมาลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลอย่างน้อย 18 ล้าน ทรัพย์สินขั้นต่ำ 35 ล้าน หรือต่อให้เป็นคนเกษียณก็น้อยลงครึ่งนึงเท่านั้น หรือนอกนั้นก็ต้องเป็นคนที่มีศักยภาพหรือมีองค์ความรู้ที่จะคิดค้นนวัตกรรม และเป็นแรงงานมีฝีมือ และประสบการณ์ทำงานตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป รวมถึงมีการกำหนดเงินเดือนขั้นต่ำในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาด้วย
นอกจากนี้ในแง่กฎหมายถือครองที่ดิน ยังจำกัดไว้ที่ไม่เกิน 1 ไร่ แถมต้องมีเงินมาลุงทุนอย่างน้อย 40 ล้านและลงทุนภายใน 3 ปี ยังไม่รวมภาษีต่างๆ ที่ภาครัฐจะจัดเก็บจากชาวต่างชาติเหล่านี้อีก
ซึ่งภาครัฐเองก็มีโควตาสำหรับการเข้ามาลงทุนที่ชัดเจนอยู่แล้ว ว่าจำนวนเม็ดเงินที่เปิดรับจะเป็นเท่าไร และบุคคลที่จะผ่านเข้ามาก็ต้องถูกตรวจสอบทั้งประวัติ เม็ดเงินลงทุน และเงินที่จะเอาไปลงทุนนั้นก็ถูกกำหนดไว้อีกว่าต้องไปลงทุนในประเภทไหนที่ภาครัฐวางไว้
ในขณะที่หลายประเทศอย่างสหรัฐอเมริกา อังกฤษ ญี่ปุ่น และอีกหลายประเทศ มาตรการถือครองที่ดินของต่างชาตินั้นทำได้ง่ายและไม่ได้มีข้อกำหนดเยอะเหมือนของประเทศไทยที่กำลังจะบังคับใช้ แต่ทำไมถึงไม่มีใครอออกมาบอกว่า “ขายชาติ” บ้างเลย ?
หรือแท้ที่จริง เรากำลังตกเป็นเหยื่อของฝ่ายการเมืองและกลุ่ม NGO การเมือง ที่จะเอาเรื่องดังกล่าวมาประเด็นฉกฉวยประโยชน์ทางการเมืองหรือไม่?
#TheStructureArticle
#ต่างชาติถือครองที่ดิน #กฎหมาย #BoostUpThailand #ขายชาติ
ใครบอกว่าประเทศไทยมีก๊าซธรรมชาติเหลือใช้ จนต้องเอามาเผาทิ้งผ่านปล่องระบาย ? รู้จักกับ Gas Flare อุปกรณ์พ่นไฟเพื่อความปลอดภัยของโรงงาน
รู้จักกับ ‘การทูตภาคประชาชน’ และ ‘การทูตเชิงอาหาร’ ที่ไม่เพียงผลักดันให้ ‘ข้าวเหนียวมะม่วง’ระบือไกล แต่ยังทำให้อาหารไทยโด่งดังในระดับโลก
ศิราวุธ ภุมมะกสิกร
อดีตวิศวกรโครงการ ระดับผู้จัดการ จบปริญญาตรีวิศวกรรมเครื่องกล จาก พระจอมเกล้าธนบุรี และ โท ด้าน Advanced Manufacturing Engineering จาก University of South Australia มีความสนใจในเรื่องประวัติศาสตร์ การเมือง และสวัสดิการสังคม