
มหาวิทยาลัยมหิดล จับมือ อินโนบิก ผลิตและจำหน่าย “ซอสซ่อนผัก” นวัตกรรมซอสเพื่อสุขภาพ ไร้สารก่อมะเร็ง
ผักผลไม้อาจจะเป็นอาหารที่เด็ก รวมทั้งผู้ใหญ่หลายคนไม่ชอบรับประทาน หรือสำหรับผู้สูงวัยการกินผักก็อาจจะเป็นสิ่งที่ยากลำบากในการบดเคี้ยว อย่างไรก็ตาม คงปฏิเสธไม่ได้ว่าสารอาหารและคุณค่าทางโภชนาการในผักนั้นเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อร่างกายของเราทุกคน ไม่ว่าจะเป็น วิตามิน แร่ธาตุ หรือใยอาหาร
.
แต่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภคอาจไม่ใช่เรื่องง่ายนัก มหาวิทยาลัยมหิดลจึงได้คิดค้นและพัฒนา “ซอสซ่อนผัก” ขึ้นมา โดยผ่านการวิจัยและทดสอบกลุ่มผู้นิยมบริโภคอาหารปิ้งย่าง เพื่อเป็นส่วนช่วยเพิ่มสารอาหารจากผักที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย รวมทั้งเพื่อศึกษาการกำจัดสารก่อมะเร็งที่มักปนมากับส่วนที่ไหม้เกรียมจากการปิ้งย่าง โดยพบว่าการรับประทานซอสซ่อนผักในปริมาณพอเหมาะ จะสามารถช่วยลดความเสี่ยงในการได้รับสารก่อมะเร็งได้ด้วย
.
รศ.ดร. ชลัท ศานติวรางคณา ผู้อำนวยการสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ผลงานวิจัย “ซอสซ่อนผัก” โดยรศ.ดร.ทพญ. ดุลยพร ตราชูธรรม อาจารย์ประจำสถาบันโภชนาการ ภายใต้การสนับสนุนทุนวิจัยจากมหาวิทยาลัยมหิดล เกิดจากโจทย์วิจัยว่า ปัจจุบันคนไทยมีพฤติกรรมส่วนใหญ่กินผักผลไม้ไม่เพียงพอ คือ กินผักผลไม้ไม่ถึงปริมาณที่องค์การอนามัยโลกแนะนำ การนำผลิตภัณฑ์อาหารที่คนนิยมรับประทานอยู่แล้วมาพัฒนาเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการ กลายเป็นซอสที่สามารถกินได้กับอาหารอื่น ๆ ได้หลากหลาย จึงเป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับคนไม่ชอบกินผัก โดยเฉพาะเด็กเล็ก หรือผู้สูงวัยที่มีปัญหาการบดเคี้ยว
.
สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล จึงร่วมกับ บริษัท อินโนบิก (เอเชีย) จำกัด ลงนามสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิเพื่อผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ “ซอสซ่อนผัก” และ “ซอสซ่อนผักสูตรเด็ก” ซึ่งนับเป็นอีกก้าวของความสำเร็จจากการนำเอาทรัพย์สินทางปัญญาของมหาวิทยาลัยมหิดล ไปสร้างสรรค์นวัตกรรมสู่การใช้ประโยชน์ได้จริงในระดับอุตสาหกรรม
.
ดร. บุรณิน รัตนสมบัติ ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจใหม่และโครงสร้างพื้นฐาน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และประธานกรรมการ บริษัท อินโนบิก (เอเชีย) จำกัด กล่าวว่า การร่วมมือในครั้งนี้ จะเป็นการต่อยอดนวัตกรรมงานวิจัยที่ได้รับการยอมรับจากต่างประเทศ สู่การสร้างผลิตภัณฑ์ของคนไทย โดยมีแผนการผลิตซอสสูตรต้นตำรับและสูตรสำหรับเด็กที่เหมาะสมในแต่ละช่วงวัย นำร่องจำหน่ายผลิตภัณฑ์บรรจุในรูปแบบซอง ตั้งเป้าออกสู่ตลาดเชิงพาณิชย์ในไตรมาสที่ 3 ปี 2566
.
ความร่วมมือในครั้งนี้ เป็นตัวอย่างความร่วมมือของสถาบันโภชนาการกับภาคเอกชน นำผลงานการวิจัยใช้ประโยชน์ได้จริง ทั้งในเชิงพาณิชย์และในเชิงสาธารณประโยชน์ พัฒนาและเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับประชาชนต่อไป
Fan Economy ในจีน กับโอกาสของ Soft Power ไทย ‘พาณิชย์’ ชี้ ‘หลานม่า’ สร้างโอกาสให้ไทยขยายตลาดในจีนเพิ่ม
ยกเลิกขายสินค้า LGBTQ Target ห้างดังสหรัฐฯ ประกาศยกเลิก ขายสินค้าหมวด LGBTQ บางรายการ เหตุหวั่นความปลอดภัยพนักงาน
“ไม่ควรละมั้ง” นายกฯ ตอบนักข่าวกรณีข้อเสนอก้าวไกล ให้รักษาการนาน 10 เดือนจน สว.หมดวาระ
ศิราวุธ ภุมมะกสิกร
อดีตวิศวกรโครงการ ระดับผู้จัดการ จบปริญญาตรีวิศวกรรมเครื่องกล จาก พระจอมเกล้าธนบุรี และ โท ด้าน Advanced Manufacturing Engineering จาก University of South Australia มีความสนใจในเรื่องประวัติศาสตร์ การเมือง และสวัสดิการสังคม