
นายกฯ ชื่นชม ‘การผลิตข้าวยั่งยืน’ นำร่องวิถีทำนารูปแบบใหม่ ลดก๊าซเรือนกระจกจากนาข้าว ช่วยพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนตามมาตรฐานสากล
โฆษกรัฐบาลเผย นายกฯ ชื่นชม ‘การผลิตข้าวยั่งยืน’ นำร่องวิถีทำนารูปแบบใหม่ ลดก๊าซเรือนกระจกจากนาข้าว เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและผู้บริโภค
นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รับทราบผลความสำเร็จของโครงการความร่วมมือไทย – เยอรมัน ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภาคเกษตรกรรม (Thai – German Climate Programme – Agriculture) ซึ่งส่งเสริมการปลูกข้าวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้มากถึง 915,053 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (CO2e) ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการพัฒนาเกษตรกรรมอย่างยั่งยืนตามมาตรฐานสากล
โครงการดังกล่าวเป็นความร่วมมือระหว่างหน่วยงานไทยและเยอรมนี ทั้งกรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร สถาบันวิจัยข้าวระหว่างประเทศ องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) และกระทรวงสิ่งแวดล้อม คุ้มครองธรรมชาติ ความปลอดภัยทางปรมาณูและคุ้มครองผู้บริโภค สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (BMUV) มีระยะเวลาการดำเนินโครงการ 5 ปี (พ.ศ. 2561-2565)
มีเกษตรกรและเจ้าหน้าที่จากภาคส่วนการเกษตร ทั้งในส่วนกลางและในระดับจังหวัดเข้ารับการฝึกอบรมการผลิตข้าวยั่งยืนของโครงการฯ จำนวนมากถึง 30,389 ราย ใน 6 จังหวัดนำร่องในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ได้แก่ ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง อยุธยา ปทุมธานี และสุพรรณบุรี โดยเน้นการเพิ่มองค์ความรู้และความเชี่ยวชาญในการนำเทคโนโลยีมาใช้และเรียนรู้วิธีการการตรวจวัด และการคำนวณค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคการเกษตร เพิ่มพื้นที่ “การทำนาข้าวที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำ” และเพื่อเป็นแนวทางส่งต่อการพัฒนาศักยภาพให้กับบุคลากรในภาคเกษตรรุ่นใหม่
นอกจากนี้ รัฐบาลยังได้ยกระดับภาคการเกษตรผ่านการประกาศใช้มาตรฐานสินค้าเกษตรสำหรับข้าวยั่งยืน (Thai Agricultural Standard for Sustainable Rice: TAS) ตามพระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. 2551 เมื่อเดือนพฤษภาคม 2565 ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่กระบวนการปลูกข้าว การดูแล การจัดการโรคข้าว เพื่อส่งเสริมให้นำวิธีการปลูกข้าวลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกไปสู่การปฏิบัติ ตลอดจนการเก็บเกี่ยวผลผลิตและการจัดเก็บสินค้าข้าว ผลักดันให้ข้าวไทยเป็นสินค้าเกษตรมีคุณภาพ มีมาตรฐานสากล และปลอดภัยต่อผู้บริโภค
จ่อเพิ่มคำนำหน้าชื่อ ‘เศรษฐา’ สั่งศึกษาการใช้ถ้อยคำ ที่ไม่ลดทอนคุณค่าของเพศสภาพ ชี้สังคมไทยมีความหลากหลาย ต้องให้เกียรติกัน
กองทัพจะปฏิบัติตาม นโยบายรัฐบาลที่มาจากประชาชน ‘ผบ.สส.’ ยืนยัน กองทัพอยู่ภายใต้การกำกับถ่วงดุล ของฝ่ายบริหารและนิติบัญญัติ
วิทยานิพนธ์มีปัญหาแต่จุฬาฯไม่เปิดผลสอบ ‘ไชยันต์’ ชี้ ‘ณัฐพล’ ได้ทุน สวก. ไปทำงานวิจัยถึงต่างประเทศ แต่กลับเขียนวิทยานิพนธ์บิดเบือนหลอกประชาชนที่เสียภาษี
ศิราวุธ ภุมมะกสิกร
อดีตวิศวกรโครงการ ระดับผู้จัดการ จบปริญญาตรีวิศวกรรมเครื่องกล จาก พระจอมเกล้าธนบุรี และ โท ด้าน Advanced Manufacturing Engineering จาก University of South Australia มีความสนใจในเรื่องประวัติศาสตร์ การเมือง และสวัสดิการสังคม