Newsสถานการณ์เมียนมาตึงเครียด มีความไม่แน่นอนสูง รัฐบาลไทยประเมินสถานการณ์รายชั่วโมง ชี้ให้ความช่วยเหลือผู้อพยพทุกคนโดยไม่แบ่งแยก ตามมาตรฐานการปฏิบัติงาน

สถานการณ์เมียนมาตึงเครียด มีความไม่แน่นอนสูง รัฐบาลไทยประเมินสถานการณ์รายชั่วโมง ชี้ให้ความช่วยเหลือผู้อพยพทุกคนโดยไม่แบ่งแยก ตามมาตรฐานการปฏิบัติงาน

เมื่อวันที่ 23 เม.ย. 2567 ที่ตึกสภาความมั่นคงแห่งชาติ ทำเนียบรัฐบาล นายนิกรเดช พลางกูร อธิบดีกรมสารนิเทศ และ โฆษกกระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เปิดเผยว่าสถานการณ์การสู้รบสู้รบบริเวณชายแดนไทย-เมียนมา บริเวณ อ.แม่สอด จ.ตาก และเมืองเมียวดีในฝั่งเมียนมา มีความไม่แน่นอนสูงในระดับที่ต้องมีการประเมินสถานการณ์กันเป็นรายชั่วโมง

 

ทั้งนี้สิ่งที่มีความชัดเจนมากขึ้นคือปริมาณผู้หนีภัย และวิธีการให้ความช่วยเหลือ ซึ่งทางการไทยจะยึดมั่นใน 3 หลักกการได้แก่

 

1 ยึดมั่นในการรักษาอธิปไตยของไทย ปกป้องคนไทยไม่ให้ได้รับผลกระทบ

 

2 ไม่ยินยอมให้มีการช้ดินแดนของไทยในการต่อต้านรัฐบาลต่างประเทศ ซึ่งอยู่ในหลักการปฏิบัติตามปกติ

 

3 การยึดมั่นในหลักมนุษยธรรมโดยไม่เลือกปฏิบัติ ซึ่งเป็นหัวใจในการดำเนินงานของเรา

 

นายนิกรเดชกล่าวว่า นายปานปรีย์ พหิทธานุกร รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในฐานะประธานการประชุมได้สั่งการให้ติดตามสถานการณ์ โดยสภาความมั่นคงแห่งชาติจะเป็นหน่วยงานหลัก และ กต.จะเป็นหน่วยงานที่ดูแลการพูดคุยกับฝ่ายต่างประเทศ และองค์การระหว่างประเทศที่ให้ความช่วยเหลือต่าง ๆ 

 

อีกทั้งในช่วงบ่ายวันนี้ นายปานปรีย์จะลงพื้นที่ไปติดตามสถานการณ์ด้วยตนเองด้วย เพื่อดูว่าหน่วยงานของฝ่ายไทยมีความพร้อมในการรับมือกับสถานการณ์หรือไม่ โดยเฉพาะหากมีการหนีภัยกันเข้ามามากขึ้น ซึ่งในขั้นนี้ทุกหน่วยงานยืนยันว่ามีความพร้อม

 

นายนิกรเดชกล่าวว่า เราไม่สามารถควบคุมจำนวนผู้หนีภัยได้ เพราะเราให้ความช่วยเหลือบนพื้นฐานหลักมนุษยธรรม คนที่หนีภัยคือคนที่ได้รับอันตราย เราจึงรับและให้ความช่วยเหลือทั้งหมดตาม TOR (Term of Reference: ขอบเขตงาน) ตาม SOP (Standard Operation Procedure: แนวทางการทำงานตามมาตรฐาน) ของเรา

 

และถ้าผู้หนีภัยต้องการกลับ เรามีหลักการ 2 ประการคือ หากเจ้าตัวประสงค์จะกลับ ก็สามารถขอกลับได้ และเราต้องทำให้มั่นใจว่ากลับเข้าไปได้อย่างปลอดภัย

 

ทั้งนี้ นายนิกรเดชยืนยันว่า “เราพูดมาตลอดว่าเราต้องการให้มีสันติภาพ เสถียรภาพ และความมั่นคงในประเทศเมียนมา เมื่อมองไปถึงอนาคตบทบาทของเรา หากทุกฝ่ายมองว่าไทยพร้อมต้องการให้ไทยเข้าไปมีบทบาท เข้าไปพูดคุยกับทุกฝ่าย เราก็พร้อม แต่ต้องได้รับการร้องขอจากฝั่งเมียนมาก่อน”





เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า