Newsอนุรักษ์ควบคู่กับการพัฒนา ‘สุรพงษ์’ ตรวจโครงการสร้างสถานีรถไฟความเร็วสูงอยุธยา ชี้โครงการจะนำมาซึ่งความเจริญให้แก่ประชาชน โดยไม่สูญเสียความเป็นเมืองมรดกโลก

อนุรักษ์ควบคู่กับการพัฒนา ‘สุรพงษ์’ ตรวจโครงการสร้างสถานีรถไฟความเร็วสูงอยุธยา ชี้โครงการจะนำมาซึ่งความเจริญให้แก่ประชาชน โดยไม่สูญเสียความเป็นเมืองมรดกโลก

เมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2567 นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ลงพื้นที่ตรวจความคืบหน้าการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงมาบกะเบา – ชุมทางถนนจิระ และโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย – จีน เส้นทางกรุงเทพมหานคร – นครราชสีมา 

 

ณ สถานีอยุธยา ซึ่งเป็นจุดก่อสร้างสถานีรถไฟความเร็วสูงสถานีอยุธยา ในสัญญา 4 – 5 ช่วงบ้านโพ – พระแก้ว ของโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพมหานคร – นครราชสีมา 

 

ปัจจุบันการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ได้ศึกษาและจัดทำรายงานผลกระทบด้านทรัพย์สินทางวัฒนธรรม (Heritage Impact Assessment : HIA) แล้วเสร็จ ขณะนี้อยู่ระหว่างปรับปรุงแก้ไขรายงาน HIA ให้สอดคล้องกับคู่มือ “Guidance and Toolkit for Impact Assessments in a World Heritage Context” ของศูนย์มรดกโลกตามความเห็นของสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

 

 ก่อนส่งให้กรมศิลปากรนำเสนอคณะอนุกรรมการมรดกโลกทางวัฒนธรรมตามแนวทางการเสนอต่อคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลกต่อไป 

 

ทั้งนี้ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม พร้อมคณะ ได้ประชุมหารือร่วมกับ ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ผู้บริหารส่วนท้องถิ่น และหัวหน้าส่วนราชการในพื้นที่ รวมทั้งภาคเอกชนในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาที่สถานีอยุธยา 

 

ซึ่งที่ประชุมมีความเห็นพ้องว่า จะต้องอนุรักษ์โบราณสถานที่เป็นมรดกทางประวัติศาสตร์และเป็นมรดกโลกในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาควบคู่ไปกับการพัฒนาระบบขนส่งทางราง เพื่ออำนวยความสะดวก รวดเร็ว ในการเดินทางของประชาชนและนักท่องเที่ยว และเพื่อให้เกิดการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว ทำให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (GDP) 

 

โดยจะดำเนินการก่อสร้างสถานีรถไฟความเร็วสูงอยุธยาที่ตำแหน่งสถานีรถไฟอยุธยาในปัจจุบัน ซึ่งมีระยะทางห่างจากโบราณสถานที่เป็นพื้นที่มรดกโลก 1.5 กิโลเมตร และมีแม่น้ำป่าสักกั้นกลาง การก่อสร้างอยู่ในแนวเขตทางรถไฟเดิม ไม่มีการเวนคืนที่ดินเพิ่มเติม และได้มอบหมายให้ รฟท. เร่งดำเนินการก่อสร้างตามขั้นตอนโดยเร็วต่อไป

 

จากนั้นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม และคณะ ได้ลงพื้นที่ ณ สถานีมวกเหล็กใหม่ ซึ่งเป็นสถานียกระดับ ในโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงมาบกะเบา – ชุมทางถนนจิระ สัญญา 1 ช่วงมาบกะเบา – คลองขนานจิตร 

 

ปัจจุบันได้ก่อสร้างสถานีมวกเหล็กใหม่และทางยกระดับแล้วเสร็จ แต่ยังติดปัญหาเรื่องค่าเวนคืนในบริเวณทางลงยกระดับก่อนเข้าสู่สถานีกลางดงไม่เพียงพอ ปัจจุบันกระทรวงคมนาคมได้เสนอเรื่องไปยังสำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรีแล้ว 

 

คาดว่าจะเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้ภายในเดือนมีนาคม 2567 ได้มอบหมายให้ รฟท. เร่งรัดดำเนินการจ่ายค่าทดแทนพื้นที่เวนคืนและอสังหาริมทรัพย์ ในสัญญาที่ 1 ช่วงมาบกะเบา – คลองขนานจิตร และสัญญาที่ 3 งานอุโมงค์รถไฟ ภายในกลางปี 2567 เร่งก่อสร้างส่วนที่เหลือ รวมทั้งก่อสร้างทางรถไฟบริเวณสถานีคลองขนานจิตร – สถานีคลองไผ่ เพิ่มเติม 237 เมตร 

 

พร้อมเบี่ยงแนวเส้นทางรถไฟไปใช้อุโมงค์ลำตะคอง ให้แล้วเสร็จภายในต้นปี 2568 เพื่อเปิดใช้งานรถไฟทางคู่ช่วงมาบกะเบา – คลองขนานจิตร รวมอุโมงค์ 3 แห่ง ระยะทางประมาณ 66 กิโลเมตร ซึ่งหลังจากเปิดใช้งานรถไฟทางคู่ช่วงดังกล่าวจะช่วยลดระยะเวลาในการเดินทางได้ประมาณ 40 นาที 

 

สำหรับโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงมาบกะเบา – ชุมทางถนนจิระ แบ่งงานโยธาเป็น 2 สัญญา ได้แก่

สัญญาที่ 1 ช่วงมาบกะเบา – คลองขนานจิตร ระยะทาง 58 กิโลเมตร ความคืบหน้าโดยรวม ร้อยละ 96.31

สัญญาที่ 2 ช่วงคลองขนานจิตร – ชุมทางถนนจิระ ระยะทาง 69 กิโลเมตร อยู่ระหว่างปรับรูปแบบการก่อสร้าง

ส่วนสัญญาที่ 3 งานอุโมงค์ ความคืบหน้าโดยรวมร้อยละ 95.36 ส่วนโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย – จีน เส้นทางกรุงเทพมหานคร – นครราชสีมา มีความคืบหน้าโดยรวมร้อยละ 30.96 

 

นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า การลงพื้นที่โครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง และการติดตามความคืบหน้าโครงการรถไฟทางคู่ระยะเร่งด่วน ช่วงมาบกะเบา – ชุมทางถนนจิระ ครั้งนี้ เป็นการดำเนินการตามนโยบาย Quick Win “คมนาคม เพื่อความอุดมสุขของประชาชน” 

 

เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพระบบการขนส่งทางราง และอำนวยความสะดวกการเดินทางแก่ผู้โดยสารให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยได้มอบหมายให้ รฟท. เร่งรัดดำเนินโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ และรถไฟความเร็วสูงให้แล้วเสร็จตามแผน 

 

รวมถึงรับฟังปัญหาและความต้องการของประชาชนในพื้นที่และเร่งแก้ไขปัญหาให้รวดเร็วและเรียบร้อยตรงกับความต้องการของประชาชนในพื้นที่ เพื่อให้โครงการสามารถเปิดให้บริการได้ตามแผนงานที่กำหนดไว้

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า