Newsรัฐบาลจะทำอย่างไร ให้เด็กไทยได้รับการพัฒนา ยกระดับทักษะ เพื่ออยู่รอดได้ ในโลกที่เต็มไปด้วยการแข่งขันด้านทรัพยากรมนุษย์ คนไทยอาจไม่หลุดพ้นจากวงจรความยากจน เพราะไม่มีทักษะที่โลกอนาคตต้องการ สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เมื่อวันที่ 23 ก.พ. 2567

รัฐบาลจะทำอย่างไร ให้เด็กไทยได้รับการพัฒนา ยกระดับทักษะ เพื่ออยู่รอดได้ ในโลกที่เต็มไปด้วยการแข่งขันด้านทรัพยากรมนุษย์ คนไทยอาจไม่หลุดพ้นจากวงจรความยากจน เพราะไม่มีทักษะที่โลกอนาคตต้องการ สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เมื่อวันที่ 23 ก.พ. 2567

เมื่อวันที่ 23 ก.พ. 2567 ศ.ดร. สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ โพสต์เฟสบุ๊กตั้งกระทู้ถามรัฐบาลเกี่ยวกับนโยบายการศึกษา และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของชาติโดยมีข้อความว่า

 

กระทู้ถาม “เมื่อมันสมองเวียดนามชั้นยอด กำลังกลับบ้าน” เวียดนาม น่ากลัวเกินกว่าที่เราคิด รัฐไทยเราจะสู้ แข่งขันได้อย่างไร?

 

6 ปีที่แล้ว เมื่อครั้งผมทำหน้าที่ประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย หรือ ทปอ. ได้นำทีมอธิการบดีจากหลายมหาวิทยาลัย เดินทางเยือนสหรัฐอเมริกา เพื่อศึกษาดูงานวิจัย และสร้างเสริมความสัมพันธ์กับสถาบันการศึกษาระดับโลก

 

หนึ่งในองค์กรสำคัญที่เราเข้าเยี่ยม คือ สถาบันการศึกษาต่างประเทศแห่งสหรัฐอเมริกา หรือ Institute of International Education (IEE) ที่เป็นองค์กรหลักภายใต้การสนับสนุนของรัฐบาลอเมริกัน เพื่อดูแลนักศึกษาต่างชาติ และเป็นผู้ดูแลกองทุนฟูลไบร์ทอันโด่งดัง

 

วันนั้นเจ้าภาพที่มาต้อนรับเรา คือ ดร. อลัน กู๊ดแมน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ของ IEE เพื่อนต่างวัยของผม ซึ่งภายหลังกรุณามาช่วยเป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัยซีเอ็มเคแอล หรือ Carnegie Mellon University (Thailand) มหาวิทยาลัยสุดยอดด้านคอมพิวเตอร์ หนึ่งเดียวในเอเชียแปซิฟิกจากอเมริกา ที่ผมก่อตั้งขึ้น 

 

  ดร.อลัน เดินเข้ามาสะกิดผม ชี้ให้เห็นข้อมูลสำคัญที่สุด คือ…

 

“จำนวนนักศึกษาเวียดนาม ที่มาเรียนในสหรัฐอเมริกา มากกว่า 2 หมื่นคน มากขึ้นแบบก้าวกระโดด และมากกว่าจำนวนนักศึกษาไทย 4-5 เท่าแล้ว” 

 

“ประเทศคุณยังไม่รู้  ไม่ตื่นเต้นเลยหรือ ที่รู้ว่า เวียดนามกำลังจะมีคนชั้นมันสมองจำนวนมากว่าของคุณมากมาย ที่ได้รับการศึกษาจากประเทศชั้นนำ กลับบ้านเพื่อพัฒนาประเทศ เพื่อแข่งขันกับคุณ…”

 

ผมหยุดนิ่ง งงไปพักหนึ่ง ยอมรับว่าเป็นข้อมูลตรง ของจริง ตรงหน้า จากคนที่รู้เรื่องนี้ดีที่สุดคนหนึ่งในโลก ผมตกใจเพราะข้อมูลนี้ ชี้ให้เห็นชัดว่า

 

  1. เศรษฐกิจเวียดนาม เติบโตไว จนทำให้คนเวียดนามจำนวนมาก มีรายได้สูงขึ้นจนสามารถส่งลูกหลาน เรียนอเมริกาและประเทศชั้นนำได้

 

  1. เด็กเวียดนาม มีศักยภาพสูงขึ้นมาก ทั้งด้านภาษาอังกฤษ และด้านวิชาการที่ยอดเยี่ยม คะแนนวัดผล PISA สูงกว่าเด็กไทยโดยเฉลี่ยทุกด้าน ทำให้นักศึกษาเวียดนามได้ทุนเรียนฟรีจำนวนมาก จากมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก ไม่ต้องพึ่งพางบประมาณรัฐ

 

  1. รัฐบาลเวียดนาม มีวิสัยทัศน์ มองไกล ไม่ปิดกั้น ส่งเสริมให้เด็กเวียดนามเรียนต่อในต่างประเทศจำนวนมาก รัฐอำนวยความสะดวกทุกอย่าง

 

  1. รัฐบาลอเมริกันและโลกตะวันตก วันนี้มองเวียดนามไม่ใช่ศัตรู แต่มองเป็นพันธมิตรใหม่ในเอเชีย และมั่นใจในอนาคตทางเศรษฐกิจ เพราะเวียดนามมุ่งเป้า “ยกระดับการศึกษา” จึงรับเด็กเวียดนามให้มาเรียนในมหาวิทยาลัยอเมริกัน ทั้งยังชอบความขยัน อดทน มีวินัยของเด็กเวียดนาม

 

  1. อเมริกาไม่ใช่จุดหมายเดียว ยังมีอังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน ญี่ปุ่น เกาหลี สิงคโปร์ ออสเตรเลีย และรัสเซีย คิวบา ที่เป็นมิตรรักของเวียดนามในอดีต ที่มีมหาวิทยาลัยชั้นยอด รับเด็กเวียดนามจำนวนมากต่อปี มากกว่ารับเด็กไทยมากมายนัก

 

ยิ่งไปกว่านั้น สมัยที่ผมเรียนที่ MIT ผมมีเพื่อนเวียดนามที่เกิดในอเมริกา ที่เรียนเก่งสุดๆ และยังคงผูกพัน สามัคคี มีความรักชาติ บ้านเกิดของบิดามารดา พร้อมกลับไปช่วย หรือพร้อมช่วยเหลือคนเวียดนามด้วยกันเต็มที่

 

ผมแชร์เรื่อง “เวียดนามกับไทย” มาหลายครั้ง ตั้งแต่ยังเป็นอธิการบดีพระจอมเกล้าลาดกระบัง จนมาทำงานการเมือง เพื่อกระตุ้นเตือน  แต่ไม่เห็นความมุ่งมั่น ไม่เห็นการเอาจริงเอาจัง ของรัฐบาลไทย ในการ “พัฒนาศักยภาพของเด็กไทย” 

 

ผมจึงขอตั้ง “กระทู้ถาม” ในฐานะพลเมืองไทย ว่า รัฐบาลจะทำอย่างไร ให้เด็กไทยได้รับการพัฒนา ยกระดับทักษะ เพื่ออยู่รอดได้ ในโลกที่เต็มไปด้วยการแข่งขันด้านทรัพยากรมนุษย์ และจะเป็น “ปัญหาปากท้อง” คนไทยอาจไม่หลุดพ้นจากวงจรความยากจน เพราะไม่มีทักษะที่โลกอนาคตต้องการ เศรษฐกิจไทยก็ไม่โต

 

ผมยังมั่นใจ เด็กไทยไม่แพ้ใครในโลก แต่รัฐต้องมุ่งมั่น ต้องทำงานหนักกว่านี้ ไม่งั้นเรา แพ้เวียดนาม (แน่ๆ)

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า