Newsโปรตีนทางเลือกคือทางออกศูนย์วิจัยในสิงคโปร์ชี้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะต้องหันมาพึ่งโปรตีนทางเลือกจากพืชแทนเพื่อลดวิกฤตสภาพอากาศให้ได้ตามเป้ามาย

โปรตีนทางเลือกคือทางออกศูนย์วิจัยในสิงคโปร์ชี้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะต้องหันมาพึ่งโปรตีนทางเลือกจากพืชแทนเพื่อลดวิกฤตสภาพอากาศให้ได้ตามเป้ามาย

ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าการลดการบริโภคเนื้อสัตว์และนมอาจเป็นกุญแจสำคัญในการลดวิกฤตสภาพภูมิอากาศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 

รายงานฉบับใหม่ของศูนย์วิจัย Asia Research Engagement (ARE) ของสิงคโปร์เปิดเผยว่า หากภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต้องการลดภาวะโลกร้อน ทั้งภูมิภาคจะต้องลดการผลิตโปรตีนจากสัตว์ลงและหันไปบริโภคผลิตภัณฑ์โปรตีนจากพืช หรือโปรตีนทางเลือกอื่นๆ แทนภายในปี 2573

 

รายงานยังระบุด้วยว่า ภายในปี 2060 ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก จะต้องมีสัดส่วนการผลิตโปรตีนทางเลือกมากกว่าครึ่งหนึ่งของผลผลิตโปรตีนทั้งหมด

 

“เพื่อให้บรรลุเป้าหมายนี้จำเป็นต้องมีเม็ดเงินลงทุน และความมุ่งมั่นอย่างต่อเนื่องจากอุตสาหกรรมอาหาร นักลงทุน และธนาคารต่างๆ ในเอเชีย” รายงานระบุ

 

อุตสาหกรรมปศุสัตว์ถือเป็นแหล่งปล่อยก๊าซคาร์บอนที่สำคัญ รวมถึงยังเป็นสาเหตุหลักของการตัดไม้ทำลายป่าและการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ จากการถางป่าเพื่อปลูกพืชอาหารสัตว์ เช่น กากถั่วเหลืองหรือการสร้างฟาร์มแห่งใหม่

 

รายงานยังระบุด้วยว่า การผลิตปศุสัตว์สร้างมลพิษทางสิ่งแวดล้อมมากกว่าการปลูกพืชทั้งหมดรวมกัน เนื่องจากการเลี้ยงปศุสัตว์ใช้ทรัพยากรมากกว่า และใช้พื้นที่ น้ำ สัตว์ และยาปฏิชีวนะมากกว่า

 

แม้ว่าประเด็นนี้จะเป็นปัญหาระดับโลก แต่เป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งสำหรับประเทศต่างๆ ในเอเชีย เนื่องจากเอเชียเป็นแหล่งอุปทานโปรตีนจากเนื้อสัตว์มากกว่าครึ่งหนึ่งของโลก ซึ่งรวมทั้งสัตว์บกและอาหารทะเล นอกจากนี้ เอเชียยังมีอัตราการเติบโตของประชากรที่รวดเร็วที่สุด ซึ่งยิ่งเพิ่มการบริโภคเนื้อสัตว์

 

ข้อมูลจาก ARE เปิดเผยว่า ในปี 2563 มาเลเซียและเวียดนามบริโภคโปรตีนจากเนื้อสัตว์และอาหารทะเล ระหว่าง 8.9 -12.3 กิโลกรัมต่อคน ซึ่งสูงกว่าระดับที่ EAT-Lancet Commission ซึ่งเป็นกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ที่มีความเชี่ยวชาญด้านโภชนาการ การเพาะปลูก และการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศโลก แนะนำไว้ที่ 5.1 กิโลกรัมต่อคน

 

เมียร์ที กอสเคอร์ (Mirte Gosker) กรรมการผู้จัดการของ The Good Food Institute Asia Pacific สถาบันวิจัยโปรตีนทางเลือกชั้นนำของเอเชีย กล่าวกับ CNBC ว่า “เรื่องนี้ยังส่งผลกระทบทวีคูณ เนื่องจากถั่วเหลืองส่วนใหญ่ที่ใช้เลี้ยงปศุสัตว์ในเอเชียนำเข้ามาจากบราซิล อาร์เจนตินา และปารากวัย ซึ่งจะยิ่งทำให้การผลิตเนื้อสัตว์ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมโดยรวมมากขึ้นไปอีก”

 

ทั้งนี้ ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า โปรตีนทางเลือกไม่ว่าจะเป็นโปรตีนจากพืช หรือโปรตีนจากการเพาะเลี้ยงในห้องทดลอง ต่างก็มีความสำคัญต่อความมั่นคงของสภาพอากาศ (climate security) พอๆ กับพลังงานหมุนเวียนหรือการลดการใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว 


รายงานของ Boston Consulting Group ในปี 2022 ระบุว่า ทุกเม็ดเงินที่ลงทุนในการผลิตโปรตีนทางเลือก ช่วยลดก๊าซเรือนกระจกได้มากกว่าอาคารสีเขียว (green building) ถึง 7 เท่า และมากกว่ารถยนต์ที่ปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ (ZEV) ถึง 11 เท่า

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า