Articlesเยอรมันตะวันตกกับระบบทุนนิยมแบบใหม่ ต้นแบบของการเป็นขุมพลังทางเศรษฐกิจของโลก

เยอรมันตะวันตกกับระบบทุนนิยมแบบใหม่ ต้นแบบของการเป็นขุมพลังทางเศรษฐกิจของโลก

แนวคิดทุนนิยมแบบใหม่ เป็นแนวคิดทางเศรษฐกิจที่อยู่กึ่งกลางระหว่างแนวคิดทุนนิยมดั้งเดิมที่ให้ความสำคัญกับการรักษาความเป็นอิสระของกลไกตลาด กับแนวคิดวางแผนจากศูนย์กลางที่ให้ความสำคัญกับการควบคุมและการจัดการทรัพยากรทั้งหมดของประเทศที่อยู่ในมือของรัฐ และเข้ามามีบทบาทสำคัญในเศรษฐกิจโลก

 

แนวคิดทุนนิยมแบบใหม่ที่เป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี จะมีทั้งแนวคิดรัฐนำเศรษฐกิจที่ให้ความสำคัญกับการยกระดับรัฐให้มีอำนาจนำทางด้านเศรษฐกิจ แนวคิดเสรีนิยมใหม่ที่ให้ความสำคัญกับการยกระดับภาคเอกชนให้มีอำนาจนำทางเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นแนวคิดทางเศรษฐกิจที่ไม่ได้อยู่ตรงกลางมากนัก แต่ก็ไม่ได้สุดโต่งเหมือนแนวคิดทุนนิยมและแนวคิดวางแผนจากศูนย์กลางรวม ทั้งที่เคยมีการใช้งานจริงในหลายประเทศ

 

แต่แนวคิดทุนนิยมใหม่ ในรูปแบบของทุนนิยมตลาดสังคมและทุนนิยมผสมผสานที่จัดว่าอยู่ตรงกลางอย่างแท้จริง และได้กลายมาเป็นแบบอย่างทางเศรษฐกิจที่ใช้กันไปทั่วโลกในปัจจุบันนั้น เริ่มมาจากประเทศเยอรมันตะวันตก ซึ่งเป็นประเทศที่เพิ่งเกิดขึ้นจากสงครามโลกครั้งที่ 2 และมีบททดสอบครั้งใหญ่ในการฟื้นฟูประเทศให้กลับมาสู่ภาวะปกติภายใต้บริบทของสงครามเย็น ที่พร้อมจะปะทุกลายเป็นสงครามใหญ่ได้ทุกเมื่อ

 

จุดเริ่มต้นของการนำแนวคิดทุนนิยมใหม่เข้ามาใช้ในเยอรมันตะวันตกนั้น เกิดจากการที่ประเทศเยอรมันถูกแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ เยอรมันตะวันตกที่ได้รับอิทธิพลทางการเมืองจากสหรัฐอเมริกา และเยอรมันตะวันออกที่ได้รับอิทธิพลทางการเมืองจากสหภาพโซเวียต โดยเยอรมันตะวันตกเองได้รับอิทธิพลทางเศรษฐกิจจากสหรัฐอเมริกาในรูปแบบของระบบทุนนิยม แต่ได้พัฒนาเป็นระบบทุนนิยมใหม่เพื่อนำมาใช้ภายในประเทศของตน

 

กล่าวคือระบบทุนนิยมใหม่ของเยอรมันตะวันตก เป็นแนวคิดทุนนิยมตลาดสังคม ในขณะที่ระบบทุนนิยมของสหรัฐอเมริกาในขณะนั้นเป็นระบบทุนนิยมแบบรัฐนำเศรษฐกิจ ก่อนที่จะเริ่มเข้าสู่ระบบทุนนิยมแบบเสรีนิยมใหม่ในช่วง 1980 และกลายเป็นทุนนิยมแบบผสมผสานตั้งแต่ช่วง 1990 เป็นต้นมา

 

ในส่วนของระบบทุนนิยมตลาดสังคมนั้น จะมีการส่งเสริมให้มีการแข่งขันทางเศรษฐกิจอย่างเต็มที่ โดยมีภาครัฐรับบทบาทเป็นผู้กำกับดูแลระบบเศรษฐกิจ ไม่ให้เกิดภาวะผิดปกติมากจนเกินไปจนอาจส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศได้ แต่ในขณะเดียวกัน ภาครัฐเองไม่ได้มีบทบาทในการแทรกแซงด้านเศรษฐกิจโดยตรง ซึ่งจะต่างจากระบบทุนนิยมแบบผสมผสานที่ภาครัฐจะเข้ามามีบทบาทในการแทรกแซงเศรษฐกิจอยู่บ้าง

 

ดังนั้น ระบบทุนนิยมตลาดสังคม จึงไม่ใช่ระบบเศรษฐกิจที่รัฐเข้าไปมีบทบาททางเศรษฐกิจ แต่เป็นระบบเศรษฐกิจที่รัฐมีอำนาจในการกำกับดูแลโดยตรง และมีกลไกสวัสดิการพื้นฐานที่รัฐเข้าไปรองรับประชากรภายในประเทศ เพื่อให้เกิดมาตรฐานการครองชีพขั้นต่ำและส่งเสริมให้เกิดการแข่งขันทางเศรษฐกิจที่ยุติธรรม

 

ทั้งหมดนี้ได้กลายเป็นแนวทางที่เยอรมันตะวันตกนำมาใช้ฟื้นฟูและพัฒนาประเทศ ซึ่งจะมาพร้อมกับความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจจากสหรัฐอเมริกาที่ให้แก่ประเทศต่าง ๆ ในยุโรป ที่ได้รับผลกระทบจากสงครามโลกครั้งที่ 2 และการกลับมาฟื้นตัวทางเศรษฐกิจในยุโรปตะวันตกในห้วงเวลาต่อมา ทำให้มีเม็ดเงินเข้ามาในยุโรปเป็นจำนวนมากพร้อมกับดำเนินนโยบายแบบรัฐนำเศรษฐกิจของชาติในยุโรปที่ได้รับอิทธิพลจากสหรัฐอเมริกา

 

ทว่าเยอรมันตะวันตกกลับเลือกเส้นทางที่แตกต่างจากชาติส่วนใหญ่ในยุโรปที่เลือกใช้เม็ดเงินจำนวนมากในการซื้อกิจการสำคัญกลับมาเป็นของรัฐ หรือดำเนินนโยบายแทรกแซงทางเศรษฐกิจขนาดใหญ่ด้วยการให้ความสำคัญกับความเป็นอิสระของระบบเศรษฐกิจภายใต้การกำกับดูแลของรัฐ แทนที่รัฐจะเป็นผู้เข้ามาแข่งขันกับเอกชนเหมือนกับประเทศทุนนิยมอื่น ๆ ซึ่งในขณะนั้นได้รับอิทธิพลทางเศรษฐกิจจากสหรัฐอเมริกา

 

ทั้งนี้จุดประสงค์ที่แท้จริงของระบบเศรษฐกิจเยอรมันตะวันตกในขณะนั้น คือ การสร้างแรงจูงใจในการแข่งขันทางเศรษฐกิจโดยมีกฎเกณฑ์ที่ชัดเจน และส่งเสริมให้เกิดการประกอบการใหม่ ๆ ขึ้นในประเทศ ซึ่งเป็นที่มาของการเกิดขึ้นของกิจการขนาดเล็กจำนวนมาก ที่กลายเป็นเครื่องจักรทางเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ และทำให้เศรษฐกิจของประเทศเจริญเติบโตบนรากฐานที่เข้มแข็งและสามารถฟื้นฟูประเทศจนกลับมาสู่ภาวะปกติ

 

นอกจากเยอรมันตะวันตกจะสามารถฟื้นฟูประเทศจนกลับมาสู่ภาวะปกติได้แล้ว การใช้แนวคิดทุนนิยมตลาดสังคมที่เริ่มต้นมาจากเยอรมันตะวันตก ซึ่งให้ความสำคัญกับความเป็นอิสระทางเศรษฐกิจ หลีกเลี่ยงการแทรกแซงจากภาครัฐ แต่ยังมีกลไกการกำกับดูแลจากภาครัฐที่เข้มแข็ง ได้ทำให้เยอรมันตะวันตกมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจในระดับสูง จนเกิดเป็นความมหัศจรรย์ทางเศรษฐกิจในเยอรมันตะวันตกครั้งใหญ่ และกลายเป็นขุมพลังทางเศรษฐกิจของโลกนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

 

ในขณะที่ฝาแฝดอย่างเยอรมันตะวันออกกลับตกอยู่ในชะตากรรมที่แตกต่างกันอย่างสุดขั้ว สิ่งนี้ได้นำไปสู่การรวมชาติเยอรมันอีกครั้งให้กลายเป็นเยอรมันที่เป็นหนึ่งเดียว และยังคงเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจของโลกที่ผงาดขึ้นมาได้จากซากสงคราม

 

ในยุคปัจจุบัน แนวคิดทุนนิยมถูกตั้งคำถามครั้งใหญ่ถึงข้อดี-ข้อเสีย และยังถูกท้าทายมากมายจากสังคมโลก ทั้งในเรื่องของการให้ความสำคัญกับความเป็นอิสระและการเติบโตทางเศรษฐกิจ จนขาดการเอาใจใส่ผู้ด้อยโอกาสจากระบบเศรษฐกิจ การปล่อยให้ทุนขนาดใหญ่เข้ามามีบทบาทสำคัญในระบบเศรษฐกิจโลก

 

อีกด้านหนึ่ง การหักเหให้รัฐเข้ามามีบทบาทแทบทั้งหมด ก็ไม่ใช่การแก้ไขปัญหาอย่างสมบูรณ์ ดังเช่นกรณีของประเทศในกลุ่มลัทธิคอมมิวนิสต์ที่นำโดยสหภาพโซเวียตที่ต่างประสบความล้มเหลวทางเศรษฐกิจ แม้ว่าจะสามารถแก้ไขปัญหาเรื่องความเหลื่อมล้ำในประเทศได้ก็ตาม

 

ดังนั้น ในระบบเศรษฐกิจจึงมีพื้นที่ตรงกลางที่เรียกว่า “ทุนนิยมตลาดสังคม” กับ “ทุนนิยมผสมผสาน” ซึ่งอาจต่างกันในเรื่องของระดับการแทรกแซงทางเศรษฐกิจของรัฐ โดยทุนนิยมผสมผสานนั้น รัฐจะมีบทบาทในทางเศรษฐกิจมากกว่าทุนนิยมตลาดสังคมอยู่บ้าง โดยในปัจจุบันมีการใช้ระบบนี้ในหลายประเทศทั่วโลก สิ่งนี้เป็นหลักฐานสำคัญที่แสดงให้เห็นถึงความสำเร็จของระบบทุนนิยมแบบใหม่ ที่ยังคงมีบทบาทสำคัญในเศรษฐกิจโลกต่อไป

 

โดย ชย

อดีตวิศวกรโครงการ ระดับผู้จัดการ จบปริญญาตรีวิศวกรรมเครื่องกล จาก พระจอมเกล้าธนบุรี และ โท ด้าน Advanced Manufacturing Engineering จาก University of South Australia มีความสนใจในเรื่องประวัติศาสตร์ การเมือง และสวัสดิการสังคม

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า