News“ไปต่อแบบนี้ไม่ได้!!” ผู้นำเยอรมัน ชี้ผู้ลี้ภัยเข้าสู่เยอรมนีถึงขั้นวิกฤต โดยปีที่ผ่านมามีผู้อพยพเพิ่มขึ้นถึงกว่า 80% โดยที่กว่า 70% ไม่ได้ลงทะเบียนล่วงหน้า

“ไปต่อแบบนี้ไม่ได้!!” ผู้นำเยอรมัน ชี้ผู้ลี้ภัยเข้าสู่เยอรมนีถึงขั้นวิกฤต โดยปีที่ผ่านมามีผู้อพยพเพิ่มขึ้นถึงกว่า 80% โดยที่กว่า 70% ไม่ได้ลงทะเบียนล่วงหน้า

เบอร์ลินกำลังพยายามควบคุมการเข้าเมืองอย่างผิดกฎหมายด้วยการเพิ่มมาตรการคุมเข้มตามแนวชายแดน นายกรัฐมนตรีโอลาฟ ชอลซ์ ของเยอรมนี กล่าวระหว่างการให้สัมภาษณ์กับสถานีโทรทัศน์ RND เมื่อวันเสาร์ (30 ก.ย.) 

 

ความเห็นดังกล่าวเกิดขึ้นท่ามกลางนโยบายอื้อฉาว เงินแลกวีซ่าของโปแลนด์ และความพยายามของสหภาพยุโรปที่จะนำนโยบายการย้ายถิ่นฐานไปบังคับใช้ในสหภาพ รวมถึงความไม่พอใจที่เพิ่มมากขึ้นต่อนโยบายการย้ายถิ่นฐานในเยอรมนี

 

“จำนวนผู้ลี้ภัยที่พยายามเดินทางมาเยอรมนีนั้นสูงเกินไปในขณะนี้ และกว่า 70% ไม่มีการลงทะเบียนล่วงหน้าใดๆ แม้ว่าเกือบทั้งหมดมาจากประเทศอื่นๆ ในสหภาพยุโรปก็ตามชอลซ์ กล่าว

 

นายกฯ เยอรมนียังกล่าวด้วยว่า เขาจะหารือเกี่ยวกับ “เพดานผู้อพยพที่ยืดหยุ่น” ในระหว่างการประชุมกับประมุขรัฐต่างๆ ของเยอรมนีในเดือนพฤศจิกายนนี้ เพื่อเสนอเงินทุนแก่รัฐต่างๆ ตามจำนวนผู้ลี้ภัยที่พวกเขารับมา

 

นอกจากนี้ รัฐบาลยังได้ขอให้โปแลนด์ให้คำมั่นว่าจะไม่ขายวีซ่าให้กับผู้ลี้ภัยเพื่อให้สามารถเดินทางเข้าเยอรมนีได้ง่ายๆ

 

แม้ที่ผ่านมาจะมีข้อพิพาทหลายครั้งภายในกลุ่มรัฐบาลผสมของเยอรมนี แต่ชอลซ์ เน้นย้ำว่ารัฐบาลของเขา ได้บรรลุข้อตกลงในการหยุดการอพยพย้ายถิ่นอย่างผิดปกติไปยังสหภาพยุโรป พร้อมเสริมว่า สิ่งนี้จะสำเร็จได้ด้วยความร่วมมือและความสามัคคีเท่านั้น ซึ่งเยอรมนีจะให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่

 

เมื่อเร็วๆ นี้ เยอรมนีได้ยกระดับการคุมเข้มตามแนวชายแดนกับโปแลนด์และสาธารณรัฐเช็ก หลังจากที่ในปีนี้มีคำร้องขอลี้ภัยเพิ่มขึ้นเกือบ 80% ทั้งนี้ เยอรมนี โปแลนด์ และสาธารณรัฐเช็ก อยู่ในกลุ่มเชงเก้น (Schengen) ซึ่งผู้คนสามารถข้ามพรมแดนโดยไม่ต้องมีการตรวจลงตราพาสปอร์ตและไม่มีจุดตรวจพรมแดน 

 

เยอรมนีได้รับคำขอลี้ภัยประมาณ 175,000 รายในปี 2566 ไม่รวมชาวยูเครน กว่า 1 ล้านคนที่ผ่านกระบวนการลี้ภัยพิเศษที่สหภาพยุโรปนำมาใช้ในช่วงสงครามของรัสเซีย ขณะเดียวกัน รัฐบาลเยอรมนีกำลังพยายามดึงดูดผู้อพยพให้เข้ามารับตำแหน่งงานประมาณ 2 ล้านตำแหน่ง ทั้งนี้ ผู้ร่างกฎหมายลงมติเมื่อเดือนมิถุนายนเห็นชอบให้มีการปฏิรูปกฎหมายคนเข้าเมืองที่มีแรงงานมีทักษะ


ในเยอรมนี พรรคอัลเทอร์เนทีฟฟอร์เยอรมนี (AfD) ฝ่ายขวาจัดที่ต่อต้านผู้อพยพกำลังได้รับความนิยม ในขณะที่พรรคสังคมนิยมประชาธิปไตย (SPD) ของชอลซ์ พร้อมด้วยพันธมิตรแนวร่วม กำลังเริ่มเสื่อมความนิยมลงเรื่อยๆ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า