รุจิระ บุนนาค หนุน กสทช. ย้ำมาถูกทางแล้ว กรณีควบรวมทรู-ดีแทค
ดร.รุจิระ บุนนาค อาจารย์พิเศษ นักวิชาการ และนักกฎหมาย โพสต์ข้อความชื่นชม “กสทช.” หลังไฟเขียวควบรวมทรู-ดีแทค ยันมาถูกทางแล้ว มั่นใจ “กสทช.” จะออกมาตรการหรือเงื่อนไขการควบรวมได้
จากกรณี กสทช.พิจารณาการรวมธุรกิจระหว่างบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กับบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนและมีผลกระทบต่อสาธารณะ กสทช.ทุกท่านจึงได้ใช้เวลาในการศึกษาข้อมูลทุกด้านอย่างละเอียดรอบคอบ โดยที่ประชุม กสทช.ได้มีการหารือ อภิปราย รวมถึงแสดงความคิดเห็นในการพิจารณาร่วมกันในทุกๆ ด้าน โดยใช้เวลาในการประชุมประมาณ 11 ชั่วโมง
ล่าสุดวันนี้ (21 ต.ค.) ดร.รุจิระ บุนนาค อาจารย์พิเศษ นักวิชาการ และนักกฎหมาย ได้ออกมาแสดงความคิดเห็นต่อกรณีการควบรวมทรู-ดีแทค โดยกล่าวว่า “กสทช.” มาถูกทางที่ได้ปฏิบัติตามกฎหมายอย่างถูกต้อง และสอดคล้องตามความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกา
ทั้งนี้เพราะการควบรวมทรู-ดีแทค เป็นการที่สองบริษัทควบรวมกันและเกิดเป็นบริษัทใหม่ (A+B=C) ซึ่งเป็นกรณีที่เรียกว่า Amalgamation ไม่มีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเข้าไปมีอำนาจ Take Over หรือควบคุมในผู้รับใบอนุญาตอีกฝ่าย แต่เป็นการควบรวมกันและเกิดเป็นบริษัทใหม่ ตามประกาศจึงไม่ได้กำหนดให้ “กสทช.” มีอำนาจอนุญาตหรือไม่อนุญาต แต่ยังคงมีอำนาจในการกำหนดมาตรการเฉพาะเพื่อประโยชน์สาธารณะ
ดังนั้นจึงต้องยึดตามประกาศของ “กสทช.” ปี 2561 ซึ่งระบุไว้ชัดเจนว่า “กสทช.” ไม่มีอำนาจพิจารณาอนุญาตหรือไม่อนุญาตการรวบกิจการ แต่มีอำนาจกำหนดเงื่อนไขหรือมาตรการเฉพาะ เพื่อป้องกันความเสียหายต่อประโยชน์สาธารณะ
สอดคล้องกับผลการศึกษาของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่ “กสทช.” ได้ให้ศึกษาวิจัยในเรื่องนี้ และข้อสรุปของ คณะกรรมการกฤษฎีกา ซึ่งเป็นองค์กรที่ให้ความเห็นและให้คำปรึกษาทางกฎหมายแก่รัฐบาลและหน่วยงานทางราชการ ทั้งสองหน่วยงานมีบทสรุปที่สอดคล้องกันว่า “กสทช.” ต้องพิจารณาตามประกาศของ “กสทช.” พ.ศ. 2561 ดังนั้น “กสทช.” จึงมีหน้าที่รับทราบเพียงเท่านั้น แต่ไม่ได้มีอำนาจว่าจะอนุญาตหรือไม่อนุญาตควบรวม
ทั้งนี้ยังชื่นชมประธาน “กสทช.” ว่ามีภาวะผู้นำสูงมาก กล้าตัดสินใจในเรื่องยากที่สังคมจับจ้องและมีธงไว้อยู่แล้ว ถือว่าประธาน บอร์ด “กสทช.” ได้นำพาคณะกรรมการ “กสทช.” ให้ทำหน้าที่ถูกต้องตามที่กฎหมายบัญญัติ ทั้งนี้ เพราะ กสทช.เป็นองค์กรอิสระที่อยู่ภายใต้กฎหมาย และคณะกรรมการ “กสทช.” ก็ถือเป็นเจ้าพนักงานของรัฐ ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 การปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติในตำแหน่งหรือหน้าที่ หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่ จึงถูกควบคุมโดยกฎหมายนี้
ตามประกาศปี 2561 ไม่ได้ปิดกั้นอำนาจของ “กสทช.” เพราะ “กสทช.” สามารถพิจารณากำหนดเงื่อนไขหรือมาตรการเฉพาะมาบังคับใช้ เพื่อป้องกันความเสียหายต่อประโยชน์สาธารณะได้ ซึ่งมั่นใจว่า “กสทช.” จะออกมาตรการหรือเงื่อนไขที่ทำให้เดินหน้าต่อไปได้ ทั้งในด้านการคุ้มครองผู้บริโภคและการพัฒนาภาคโทรคมนาคมไทยให้ก้าวหน้า
วิจารณ์สนั่น “บินหรู-อยู่แพง” เปิดเอกสาร ‘หมออ๋อง’ และคณะบินดูงานสิงคโปร์ บินชั้นธุรกิจไป-กลับ 5 หมื่น นอนหรูคืนละหมื่นสอง เดินทางพร้อม สส.ก้าวไกล 5 คน เพื่อไทย 1 คน
ว้าแดงใช้ไฟฟ้าไทย ผลิตยาเสพติดได้อย่างไร? ‘โรม’ จ่อตั้งกระทู้ถาม ‘อนุทิน’ ถามอนุทิน 12 ธ.ค. 67
แอนนา เสืองามเอี่ยม จากลูกคนเก็บขยะสู่เกียรตินิยมอันดับ 1 ก่อนทะยานขึ้นสู่นางงามจักรวาล ปี 2022
ศิราวุธ ภุมมะกสิกร
อดีตวิศวกรโครงการ ระดับผู้จัดการ จบปริญญาตรีวิศวกรรมเครื่องกล จาก พระจอมเกล้าธนบุรี และ โท ด้าน Advanced Manufacturing Engineering จาก University of South Australia มีความสนใจในเรื่องประวัติศาสตร์ การเมือง และสวัสดิการสังคม