Newsจีนเปิดรับผลไม้ไทย 24 ชม พาณิชย์ เผยรายงานโลจิสติกส์ เดือน มิ.ย. 66 จับตา ‘เอลนิโญ่’ และ วิกฤตรัสเซีย – ยูเครน เสี่ยงทำราคาขนส่งและสินค้าเพิ่ม

จีนเปิดรับผลไม้ไทย 24 ชม พาณิชย์ เผยรายงานโลจิสติกส์ เดือน มิ.ย. 66 จับตา ‘เอลนิโญ่’ และ วิกฤตรัสเซีย – ยูเครน เสี่ยงทำราคาขนส่งและสินค้าเพิ่ม

สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยรายงานสถานการณ์ธุรกิจโลจิสติกส์ไทย ระบุว่าในเดือน มิ.ย. 66 ที่ผ่านมามีการลงทุนจากต่างประเทศในธุรกิจโลจิสติกส์ มูลค่า 4,355.99 ล้านบาท คิดเป็น 12.58% ของการลงทุนในกลุ่มโลจิสติกส์ในประเทศไทย สัญชาติที่มีการลงทุนมากที่สุด ได้แก่ จีน สิงคโปร์ ฮ่องกง ญี่ปุ่น และหมู่เกาะบริติชเวอร์จิน ตามลำดับ

 

โอกาสสำหรับธุรกิจโลจิสต์ติกส์ไทย คือทางการจีนมีการปรับเวลาการเปิดด่านศุลกากร ให้เปิดบริการตลอด 24 ชั่วโมงที่มณฑลกว่างสี รับผลไม้ไทยทั้งจากทางเรือและรถไฟ อีกทั้งมีการใช้ระบบบริหารด่านศุลกากรอัจฉริยะ (Smart Customs) ซึ่งช่วยร่นระยะการดำเนินการลงได้มากถึง 2 เท่า ซึ่งจะช่วยลดปัญหาผลไม้ขาดความสด หรือเน่าเสียลงได้

 

อย่างไรก็ดี ประเด็นความท้าทายคือปรากฏการณ์เอลนีโญที่กำลังเกิดขึ้น ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทานสินค้าเกษตรในหลายประเทศ รวมถึงประเทศไทย ซึ่งคาดว่าจะทำให้ผลผลิตสินค้าเกษตรของไทยลดลง และราคาการนำเข้าวัตถุดิบอาจปรับตัวสูงขึ้น จำเป็นต้องวางแผนรับมือกับผลกระทบ และเลือกรูปแบบการขนส่งที่เหมาะสม

 

ผลจากปรากฏการณ์เอลนิโญ่ ส่งผลกระทบต่อคลองปานามาแล้ว โดยระดับน้ำในคลองปานามาลดลงสู่ระดับต่ำที่สุดในรอบ 10 ปี ทำให้มีการปรับเปลี่ยนระดับความลึกของเรือ (อัตรากินน้ำลึก) ส่งผลให้อัตราการบรรทุกสินค้าของเรือลดลง ทำให้ต้นทุนการขนส่งสินค้าเพิ่ม



นอกจากนี้ ผลกระทบจากความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย – ยูเครน ซึ่งทำให้รัสเซียประกาศระงับการต่ออายุ “ข้อตกลงส่งออกธัญพืช” ของยูเครนผ่านทะเลดำ ซึ่งกระทรวงกลาโหมรัสเซียประกาศว่าเรือทุกลำที่มุ่งหน้าสู่ยูเครนอาจถูกรัสเซียพิจารณาว่าเป็นเรือบรรทุกยุทธภัณฑ์ทางทหารทั้งหมด

 

ซึ่งคำประกาศดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทานของข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ ข้าวโพด เมล็ดทานตะวัน และปุ๋ย มีความเสี่ยงต่อวิกฤตราคา ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการบริโภคและการขนส่งที่อาจลดลง

 

 

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า