Newsทำความรู้จักพรรคเพื่อไทยก่อนการเลือกตั้งปี 2566 ที่นำทัพโดย พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ

ทำความรู้จักพรรคเพื่อไทยก่อนการเลือกตั้งปี 2566 ที่นำทัพโดย พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ

พรรคพลังประชารัฐ

Candidate นายกคนสำคัญ: พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ

.

ที่มา

พรรคพลังประชารัฐเป็นพรรคที่ถูกจัดตั้งขึ้นภายหลังการเปลี่ยนผ่านจากยุค คสช. มาเป็นระบอบรัฐสภาปัจจุบันหลังการเลือกตั้งปี 2562 เพื่อรองรับการเข้ามาทำงานอย่างต่อเนื่องตามระบอบประชาธิปไตยผ่านระบอบการเลือกตั้งของนักการเมืองสาย คสช. 

.

จัดว่าเป็นพรรคที่มีกลุ่มการเมืองหลากหลายเข้าร่วม เช่น สามมิตร, กลุ่มแกนนำ กปปส., กลุ่มสี่กุมาร, รวมทั้งบรรดานักการเมืองจากพรรคอื่นเช่น เพื่อไทย, ประชาธิปัตย์ ฯลฯ ซึ่งมีเป้าหมายสำคัญในการสนับสนุนพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรีต่อ ในช่วงการเลือกตั้งทั่วไปปี พ.ศ.2562 แต่หลังจากการเลือกตั้งไม่นานนัก พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ ก็ได้เข้ามามีบทบาทในพรรคพลังประชารัฐอย่างจริงจัง 

.

ในปัจจุบัน กลุ่มการเมืองที่สนับสนุนพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้แยกตัวออกไปก่อตั้ง พรรครวมไทยสร้างชาติ รวมทั้งนักการเมืองบางคนก็ย้ายกลับเข้าพรรคเดิม เช่น สมศักดิ์ เทพสุทิน และ สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ ที่ต่างพากันย้ายกลับเข้าพรรคเพื่อไทย

.

อาจกล่าวได้ว่า พรรคพลังประชารัฐในยุคปัจจุบันอยู่ภายใต้การนำโดยพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ ในฐานะหัวหน้าพรรค อย่างสมบูรณ์

.

จุดยืน

แม้ประชาชนส่วนหนึ่งจะมองพรรคพลังประชารัฐเพียงมิติเดียว คือมองว่าเป็น “พรรคทหาร” ที่มีแนวคิดและจุดยืนค่อนไปทาง “อนุรักษนิยม” ในความเป็นจริง พรรคพลังประชารัฐนั้นรวมนักการเมืองที่สังกัดพรรคใหญ่หลายพรรค ทั้งที่เคยอยู่พรรคตรงกันข้ามก็มี และนักการเมืองท้องถิ่นในหลายพื้นที่ รวมถึงกลุ่มผู้เชี่ยวชาญหรือที่เรียกกันว่า technocrat ดังนั้นพรรคพลังประชารัฐจึงมีความหลากหลายทางความคิดและแนวทางการทำการเมือง

.

โดยในการเลือกตั้งปี 2566 นี้ ก็มีการแสดงท่าทีของพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรค ว่าต้องการชูอุดมการณ์ “ก้าวข้ามความขัดแย้ง” และมีการกล่าวว่าตนและพรรคนั้น “เข้าใจ” และ “เข้าถึง” ทั้งแนวคิดอนุรักษนิยมและเสรีนิยม เป็นผู้ที่อยู่ตรงกลางสามารถเข้าหาได้ทุกฝ่าย

.

จึงกล่าวได้ว่าพรรคพลังประชารัฐ มีจุดยืนทางการเมืองอยู่ตำแหน่ง “กลาง” (centrist) ค่อนไปทาง “กลาง-ขวา” (center-right) ซึ่งต้องการผสานนักการเมืองหลายกลุ่ม และ technocrat ผ่านอำนาจและความสัมพันธ์กับกองทัพและทุนของหัวหน้าพรรค ให้เข้ามาทำงานการเมืองพัฒนาประเทศ โดยยึดถือสถาบันหลักของชาติ แต่ก็ไม่ปฏิเสธแนวคิดเสรีนิยมประชาธิปไตย

.

นโยบาย

นโยบายการหาเสียงของพรรคพลังประชารัฐ มองได้ว่าเป็นการต่อยอดจากนโยบาย “ประชารัฐ” ที่รัฐบาลพลเอกประยุทธ์ และ พลเอกประวิตร ในฐานะรองนายก ฯ คนที่ 1 ทำมาด้วยกันในตลอดหลายปีที่ผ่านมา นอกจากนี้ คำ “ประชารัฐ” ถือได้ว่าเป็นการเล่นคำที่ต้องการสร้างความจดจำ เนื่องจากเป็นทั้งชื่อพรรคและชื่อนโยบายที่เป็นที่พูดถึงในวงกว้างและอาจกล่าวได้ว่า เป็นอีกหนึ่งความสำเร็จของพรรค 

.

อย่างไรก็ดี นโยบายประชารัฐในช่วงที่ผ่านมา เน้นหนักไปที่การสร้างโมเดลเศรษฐกิจชุมชน หรือเศรษฐกิจฐานราก (local economy) แต่ในการเลือกตั้งครั้งนี้ นโยบายประชารัฐที่พรรคยกชูกลับเน้นไปที่สวัสดิการแห่งรัฐ หรือรัฐสวัสดิการเป็นหลัก ซึ่งอาจจะเป็นเพราะว่าพรรคพลังประชารัฐ มองว่าโมเดลเศรษฐกิจฐานรากแข็งแรงดีมากพอแล้ว ควรหันไปต่อยอดพัฒนาด้านสวัสดิการสังคมแทน

.

บทส่งท้าย

สำหรับสโลแกน “ก้าวข้ามความขัดแย้ง” นั้น แม้จะมีที่มาจากปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง ที่เคยเป็นปัญหาเรื้อรังของสังคมไทยมาตลอดหลายสิบปี แต่ก็อาจจะไม่เป็นเหตุผลให้คนเลือก เพราะที่ผ่านมากลุ่มผู้ประท้วงนั้น ก็มีท่าทีสงบลง ไม่สามารถก่อเหตุให้เกิดผลกระทบในวงกว้างได้ในช่วงที่ผ่านมา

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า