Newsแพค ซองอู ฆาตกรเยาวชน อายุ 13 ปี ก่อเหตุฆาตกรรมเยาวชนอายุ 7 ปี อย่างเลือดเย็นจากเรื่อง หญิงเหล็กศาลเยาวชน

แพค ซองอู ฆาตกรเยาวชน อายุ 13 ปี ก่อเหตุฆาตกรรมเยาวชนอายุ 7 ปี อย่างเลือดเย็นจากเรื่อง หญิงเหล็กศาลเยาวชน

สืบเนื่องจากคดีสะเทือนขวัญ เยาวชนอายุ 14 ปี ใช้ปืนไล่ยิงประชาชนในห้างสยามพารากอน เมื่อวันที่ 3 ต.ค. 66 จนเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 3 ราย และบาดเจ็บ 5 รายนั้น ทำให้เกิดกระแสการวิจารณ์ในประเด็นดังกล่าวอย่างแพร่หลายเนื่องจากผู้ก่อเหตุยังเป็นเยาวชน ซึ่งอยู่ภายใต้การคุ้มครองของประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 74 และ 75  

 

ส่วนหนึ่ง มีการพูดถึงละครซีรียส์จากเกาหลีใต้เรื่อง หญิงเหล็ก ศาลเยาวชน: Juvenile Justice” ซึ่งมีเนื้อหาที่มุ่งประเด็นไปที่กระบวนการยุติธรรมสำหรับเยาวชน และปัญหาอาชญากรรมเด็กในเกาหลีใต้ โดยในตอนที่ 1 และ 2 เป็นคดีที่เริ่มเรื่องโดยเยาวชนอายุ 13 ปี ชื่อ แพค ซองอู กระทำการฆาตกรรมเด็กผู้หญิงอายุ 8 ปีด้วยการฆ่าหั่นศพ ก่อนที่จะเดินทางเข้ามอบตัวต่อตำรวจอย่างเลือดเย็น

 

ข่าวดังกล่าวสร้างความตื่นตะลึงให้แก่สังคมเกาหลีเช่นเดียวกัน และเป็นที่วิจารณ์อย่างกว้างขวางเช่นเดียวกันกับที่เกิดขึ้นในสังคมไทยเวลานี้ อย่างไรก็ตามในซีรียส์ มีฉากการประท้วงของประชาชนกลุ่มหนุ่งที่เรียกร้องให้มีการยกเลิกกฎหมายคุ้มครองเยาวชน ต้องการให้อาชญากรรมเด็กได้รับโทษอย่างเสมอภาคเท่าเทียมกับผู้ใหญ่

 

และคดีดังกล่าวอยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของ ผู้พิพากษาสมทบ ชิมอึนซอก (แสดงโดย คิมฮเยซู) ซึ่งถูกเปิดตัวด้วยวลีประจำตัวของเธอว่า ฉันเกลียดพวกอาชญากรเด็ก 

 

ในการขึ้นศาล ไต่สวนครั้งแรก แพคซองอู ผู้ต้องหาให้การรับสารภาพอย่างเลือดเย็น อ้างว่าตนเองมีอาการทางจิตเวช หัวเราะขณะให้การ อีกทั้งยังถามผู้พิพากษา ชิมอึนซอก อย่างอหังการว่า 

 

นี่ ได้ยินว่าถ้าอายุยังไม่ถึง 14 ถึงจะฆ่าคนก็ไม่ต้องติดคุกงั้นเหรอ ? จริงรึเปล่าน่ะ ? สุดยอดเลย 

 

ในการไต่สวนครั้งที่ 2 แพค ซองอู ยื่นหนังสือรับรองแพทย์ต่อศาล ระบุว่าตนเองเป็น โรคจิตเภท โรคอารมณ์สองขั้ว (ไบโพลาร์: Bipolar) โรคประสาท วิตกกังวล แต่ผู้พิพากษาชิม กลับอาศัยข้อมูลทางจิตเวชในการไต่สวน จนสืบเค้นพบว่า แพค ซองอู ปกปิดข้อเท็จจริงที่มีบุคคลที่ 3 ร่วมกระทำความผิด การสืบสวนดำเนินต่อไปจนพบว่า ฮัน เยอึน เยาวชนอายุมากกว่า 14 ปี เป็นผู้ร่วมกระทำความผิดในคดีฆาตกรรมด้วย

ศาลพิพากษาให้ ฮัน เยอึน ซึ่งมีอายุมากกว่า 14 ปีรับโทษสูงสุดใน พ.ร.บ. เยาวชน ฯ จำคุก 20 ปี ในขณะที่ แพค ซองอู เยาวชนอายุต่ำกว่า 14 ปี ให้คุมความประพฤติระดับ 10 ซึ่งเป็นบทลงโทษสูงสุดตามกฎหมายเช่นกัน คือให้เข้าสถานพินิจเป็นเวลา 2 ปี

 



อย่างไรก็ดี สาสน์ ของซีรียส์ดังกล่าว มิได้มีเจตนาที่จะให้มีการยกเลิกกฎหมายเยาวชน หรือต้องการให้เยาวชนได้รับโทษทัณฑ์เสมอผู้ใหญ่แต่อย่างไร 

 

ในตอนที่ 1 และ 2 ซึ่งเป็นตอนที่เล่าเรื่องราวของคดีฆาตกรรมเยาวชนอายุ 7 ปี ได้บอกเล่าเรื่องราวจากหลายองค์ประกอบ ไม่ว่าจะเป็นมุมมองของผู้พิพากษา, ผู้ปกครองของเหยื่อ และตัวเยาวชนผู้ก่อเหตุ ซึ่งตัวเยาวชนผู้ก่อเหตุฆาตกรรมทั้ง 2 คือฮัน เยอึน และแพค ซองอู ต่างก็มีพื้นฐานมาจากครอบครัวที่ขาดความอบอุ่น ผู้ปกครองทำแต่งาน ละเลยการทำหน้าที่ให้ความอบอุ่นในครอบครัวต่อลูกของตนเอง

 

ฮัน เยรี มาจากครอบครัวที่ร่ำรวย จนมีความสามารถในการว่าจ้างทนายความจากสำนักงานทนายความชั้นนำของประเทศมาว่าความให้ได้ แต่ตลอดทั้ง 2 ตอน ผู้ปกครองของฮัน เยรี ไม่เคยปรากฏตัวในเรื่องเลย ในขณะที่ แพค ซองอู มาจากครอบครัวที่ยากจน มารดาทำแต่งานจนละเลยแม้กระทั่งการมาขึ้นศาลในคดีของบุตรชายตนเอง ซึ่งเรื่องดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่ารากเหง้ามูลเหตุของคดีมาจากปัญหาครอบครัว

 

นอกจากนี้ ตลอดทั้ง 10 ตอนของซีรียส์ ยังสะท้อนปัญหาในกระบวนการยุติธรรมของเกาหลีใต้ ไม่ว่าจะเป็นจำนวนผู้พิพากษาคดีเยาชนของประเทศที่มีน้อยเกินไป มีเพียง 20 ท่านจาก 3,300 ท่าน และทั้ง 20 ท่าน ต้องรับคดีเยาวชนที่มีมากกว่า 30,000 รายต่อปี

 

ปัญหางบประมาณที่ไม่เพียงพอต่อกระบวนการฟื้นฟูเยาวชนผู้กระทำความผิด จนต้องพึ่งพา จิตอาสา และ เงินบริจาค จากภาคเอกชนในการช่วยเหลือฟื้นฟูเยาวชนเหล่านี้ ซึ่งไม่มีความเพียงพอต่อการรับมือกับปัญญาเยาวชนในประเทศเกาหลีใต้

 

สานส์ของเรื่อง มิได้มุ่งประเด็นไปที่การเพิ่มบทลงโทษต่อเยาวชน แต่สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาความล่มสลายของสถาบันครอบครัวในประเทศเกาหลีใต้ ที่กำลังทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง นำมาซึ่งคดีอาชญากรรมเยาวชนต่าง ๆ และรวมไปถึงการใช้เยาวชนเป็นเครื่องมือของกลุ่มผู้ไม่หวังดีต่อสังคมในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งรวมไปถึงปัญหา โสเภณีเด็ก อีกด้วย

 

คดีเยาวชนอายุ 14 ปี ก่อเหตุสังหารประชาชนด้วยอาวุธปืนที่เพิ่งเกิดขึ้นในวันที่ 3 ต.ค. 66 ที่ผ่านมานี้ อาจจะเป็นครั้งแรกที่ประเทศไทยเผชิญหน้ากับเหตุกราดยิงโดยเยาวชนเป็นครั้งแรก แต่คดีนี้ ไม่ใช่ครั้งแรกที่มีอาชญากรเป็นผู้เยาว์ในประเทศไทย

 

คดีนี้ ประชาชน นักวิจารณ์ นักวิชากราร นักการเมือง รัฐบาล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงไม่ควรจะพุ่งเป้าไปเฉพาะแค่แรงจูงใจของผู้ก่อเหตุแต่เพียงอย่างเดียว แต่ควรจะย้อนหันกลับมามองว่า ปัญหาความแตกแยกร้าวฉานของสถาบันครอบครัวของไทย แตกร้าวถึงขนาดนี้เพราะอะไร

แล้วประเทศไทยควรจะทำอย่างไร เพื่อฟื้นฟูสถาบันครอบครัว ซึ่งเป็นสถาบันรากฐานที่สำคัญที่สุดของประเทศ ให้ฟื้นฟูกลับมามีความอบอุ่นได้อย่างที่เคยเป็นมา

 

ครอบครัวคือรากฐานของประเทศ อย่าปล่อยให้สถาบันครอบครัวของประเทศล่มสลายจนไม่อาจฟื้นคืน

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า