ArticlesOnlyfans ดินแดนแห่งสวรรค์ที่กฎหมายของมนุษย์อาจเอื้อมถึง

Onlyfans ดินแดนแห่งสวรรค์ที่กฎหมายของมนุษย์อาจเอื้อมถึง

กลายเป็นประเด็นร้อนในสังคม เมื่อพบว่ามีการโพสต์คลิปหลุดของกวาง อาริสา หรือเดียร์ลอง ซึ่งเป็นภาพที่มาจาก OnlyFans อีกทีหนึ่ง บ้างก็ว่า นี่เป็นการขโมย แล้วทำไมตำรวจถึงไม่จับเพียงแค่โจร แต่กลับมาจับเจ้าของผลงานด้วย [1]

ในกรณีนี้นั้น มีปมที่น่าสนใจในการพิจารณาอยู่ 3 ประเด็นดังนี้

ปมที่ 1 สื่อลามก ได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ทางปัญญาหรือไม่ ?

ด้านนี้ กรมทรัพย์สินทางปัญญาเคยมีประกาศบนเพจของกรมว่า “งานที่จะได้รับความคุ้มครอง ต้องเป็น งานสร้างสรรค์อันชอบด้วยกฎหมาย [..] สื่อลามก ไม่ใช่งานสร้างสรรค์อันชอบด้วยกฎหมาย [..] ย่อมไม่ได้รับความคุ้มครอง” [2]

.ในส่วนนี้นั้น สอดคล้องกับ “อนุสัญญาสิทธิบัตรยุโรป” มาตรา 53(a) ว่า “สิทธิบัตรของยุโรปจะไม่ได้รับความคุ้มครองในสิ่งประดิษฐ์ที่แสวงประโยชน์ทางการค้าซึ่งจะขัดต่อความเป็นระเบียบเรียบร้องของสาธารณะ หรีอศีลธรรม” [3]

ดังนั้น อาจกล่าวได้ว่า สื่อลามกเหล่านี้นั้น ในมุมมองของกฎหมายลิขสิทธิ์นั้น ไม่ได้รับความคุ้มครองในเชิงพาณิชย์อยู่แล้ว ไม่ว่าจะในไทย หรือในยุโรปก็ตาม

ปมที่ 2 การนำเข้าสื่อลามกเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์

และเมื่อพิจารณา พระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2560 จะพบว่า มาตรา 14 ระบุว่า “ผู้ใดกระทําความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ [..] 4) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดๆ ที่มีลักษณะอันลามก และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้” [4]

ซึ่งนี่แปลว่า ผู้เผยแพร่ผลงานลามกเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์นั้น ย่อมมีความผิดทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นการขโมยผลงานมา หรือเป็นผู้ผลิตผลงานนั้น ๆ ก็ตาม

ปมที่ 3 นิยามของ “ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึง”

อย่างไรก็ตาม องค์ประกอบที่ขาดหายไป ในกรณีของกวาง อาริสา และ Sex Creator รายอื่น ๆ ใน OnlyFans นั้น อยู่ที่นิยามของคำ “ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึง” นั่นเอง

เป็นที่ถกเถียงกันในวงกว้างว่า เว็บ OnlyFans นั้น ต้องเป็นสมาชิกเท่านั้น ถึงจะมีสิทธิเข้าไปดู ไม่ใช่ว่าใคร ๆ จะสามารถเข้าไปได้ ในขณะที่อีกกลุ่มหนึ่งเห็นว่า คนจ่ายเงินเข้าไปดู คือคนทั่วไป แล้วจะให้ไม่นับว่าเป็นประชาชนทั่วไปได้อย่างไร ?

ในมุมมองนักวิชาการกฎหมายนั้น หากนิยามทางกฎหมายนั้น ยังไม่ได้ถูกตีความ ก็ให้ใช้คำนิยามในกฎหมายที่ใกล้เคียงมาช่วยตีความ ซึ่งในกรณีนี้นั้น ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 1 (3) ระบุว่า ““สาธารณสถาน” หมายความว่า สถานที่ใด ๆ ซึ่งประชาชนมีความชอบธรรมที่จะเข้าไปได้” [5] และ คำพิพากษาฎีกาที่ 2024/2497 ตัดสินว่า สถานที่บนขบวนรถไฟโดยสารนั้น เป็นที่สาธารณสถาน [6] ซึ่งเราจะเห็นได้ว่า การเข้าไปในรถไฟนั้น จะต้องเสียค่าโดยสารก่อนที่จะใช้บริการ เช่นเดียวกับการเข้าชม OnlyFans ที่จะต้องเสียค่าบริการก่อนรับบริการเหมือนกัน และผ่านกฎระเบียบของทางสถานีก่อน

อย่างไรก็ตาม กรณีนี้ ถือว่าเป็นเรื่องใหม่สำหรับสังคมไทย และวงการกฎหมายไทย สมควรที่จะมีการต่อสู้คดีกันในชั้นศาล จนกว่าคดีจะสิ้นสุด เพื่อเป็นการสร้างบรรทัดฐานใหม่ แก่กฎหมายไทย ในยุคศตวรรษที่ 21 นั่นเอง

โลกกำลังเปลี่ยนไป กฎหมายไทยก็จำเป็นที่จะต้องหมุนตามให้ทันด้วยเช่นกัน

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า