Newsสารอันตรายในพลาสติก งานวิจัยใหม่ชี้สารในพลาสติกเสี่ยงทำทารกคลอดก่อนกำหนด แพทย์แนะเลี่ยงใช้ผลิตภัณฑ์พลาสติกอุ่นอาหาร/เครื่องดื่ม

สารอันตรายในพลาสติก งานวิจัยใหม่ชี้สารในพลาสติกเสี่ยงทำทารกคลอดก่อนกำหนด แพทย์แนะเลี่ยงใช้ผลิตภัณฑ์พลาสติกอุ่นอาหาร/เครื่องดื่ม

งานวิจัยใหม่ที่ใช้ข้อมูลจากการศึกษาอิทธิพลด้านสิ่งแวดล้อมที่มีต่อสุขภาพและพัฒนาการของเด็ก (ECHO) ของสถาบันสุขภาพแห่งชาติสหรัฐฯ (NIH), ข้อมูลการสำรวจสุขภาพและโภชนาการประชาชนประจำปี 2017-2018 และการวิเคราะห์ตัวอย่าง เลือด ปัสสาวะ และตัวอย่างทางชีวภาพอื่นๆ ที่เก็บจากสตรีมีครรภ์และทารกแรกเกิดในโรงพยาบาล 69 แห่งทั่วประเทศ 

 

พบว่าสาร DEHP ซึ่งเป็นสารเคมีที่นิยมใช้ในการผลิตพลาสติก เพื่อให้พลาสติกมีความอ่อนตัว มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญกับการตั้งครรภ์ที่สั้นลงและการคลอดก่อนกำหนด นอกจากนี้ ยังพบว่า DiDP, DnOP และ DiNP พาทาเลต 3 ชนิดที่ผู้ผลิตสร้างขึ้นเพื่อใช้แทน DEHP นั้นมีความเสี่ยงทำให้ทารกคลอดก่อนกำหนดมากกว่า DEHP เสียอีก

 

การคลอดก่อนกำหนด คือ การคลอดที่เกิดขึ้นก่อนอายุครรภ์ 37 สัปดาห์ ซึ่งการคลอดก่อนกำหนดอาจทำให้ทารกตกอยู่ในความเสี่ยง เนื่องจากอวัยวะสำคัญและระบบประสาทบางส่วนอาจยังไม่พัฒนาเต็มที่

 

ทารกที่คลอดก่อนกำหนดมากๆ มักจะต้องเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลทันทีเพื่อช่วยในเรื่องการหายใจและแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ ระบบย่อยอาหารสมอง และการติดเชื้อ

 

เมื่อโตขึ้น เด็กที่คลอดก่อนกำหนดอาจมีปัญหาด้านการมองเห็น การได้ยิน และทันตกรรม รวมถึงความล่าช้าทางสติปัญญาและพัฒนาการ Mayo Clinic ระบุ การคลอดก่อนกำหนดสามารถนำไปสู่โรคสมองพิการ โรคลมชัก และความผิดปกติด้านสุขภาพจิต เช่น ความวิตกกังวล โรคอารมณ์สองขั้ว และภาวะซึมเศร้า

 

เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ คนที่คลอดก่อนกำหนดอาจมีความดันโลหิตสูงและคอเลสเตอรอลสูง เป็นโรคหอบหืด หรือโรคติดเชื้อทางเดินหายใจอื่นๆ และอาจพัฒนาเป็นโรคเบาหวานประเภท 1 และ 2 โรคหัวใจ หัวใจล้มเหลว หรือโรคหลอดเลือดสมอง

 

ผู้วิจัยยังได้ประมาณการค่าใช้จ่ายในด้านการรักษาพยาบาล และการสูญเสียผลิตภาพทางเศรษฐกิจจากการคลอดก่อนกำหนดไว้ที่ 3.8 พันล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 1.36 แสนล้านบาท

 

สมาคมกุมารแพทย์แห่งอเมริกา (AAP) ระบุในแถลงการณ์ว่า มีขั้นตอนเพิ่มเติมที่สามารถทำได้เพื่อลดการสัมผัสสารพาทาเลตและสารเคมีอื่นๆ ในอาหารและผลิตภัณฑ์บรรจุภัณฑ์อาหาร หนึ่งคือการลดรอยเท้าพลาสติกโดยให้ใช้ภาชนะสแตนเลสและแก้วเมื่อเป็นไปได้

 

“หลีกเลี่ยงการอุ่นอาหารหรือเครื่องดื่มในบรรจุภัณฑ์พลาสติก รวมถึงนมผงสำหรับทารกและนมแม่ที่ปั๊มจากเครื่องปั๊มนม และอย่าใส่ภาชนะพลาสติกลงในเครื่องล้างจาน เพราะความร้อนอาจทำให้สารเคมีรั่วออกมาได้ รวมถึงให้หลีกเลี่ยงพลาสติกที่มีสัญลักษณ์รีไซเคิลหมายเลข 3 ซึ่งโดยทั่วไปจะมีสารพาทาเลท”

 

(1 ดอลลาร์ = 35.85 บาท)

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า