News“พาณิชย์” ระดมสมองเตรียมพร้อมรับมือ คู่ค้าออกมาตรการเอ็นทีบี กีดกันทางการค้า หนุนผู้ผลิต-ผู้ส่งออกปรับกระบวนการผลิตรักษ์โลก

“พาณิชย์” ระดมสมองเตรียมพร้อมรับมือ คู่ค้าออกมาตรการเอ็นทีบี กีดกันทางการค้า หนุนผู้ผลิต-ผู้ส่งออกปรับกระบวนการผลิตรักษ์โลก

พาณิชย์ระดมสมองเตรียมพร้อมรับมือคู่ค้าออกมาตรการเอ็นทีบี ทั้งด้านสิ่งแวดล้อม แรงงาน สิทธิมนุษยชน ภูมิรัฐศาสตร์ คาดสินค้าจำนวนมากได้รับผลกระทบแน่ ผลักดันผู้ผลิต-ผู้ส่งออก ใช้บีซีจี โมเดล ปรับกระบวนการผลิตเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

 

นายภูสิต รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ เผยว่า จากการประชุมของนายกีรติ รัชโน ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ร่วมกับหน่วยงานต่างๆของกระทรวงพาณิชย์ในต่างประเทศ เช่น สำนักงานพาณิชย์ในต่างประเทศ 3 สำนักงาน คือ ปักกิ่ง จีน, วอชิงตัน ดี.ซี. สหรัฐฯ และบรัสเซลส์ เบลเยียม, เอกอัครราชทูตไทยผู้แทนถาวรไทยประจำองค์การการค้าโลก และองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก, กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ฯลฯ

 

เพื่อติดตามสถานการณ์ของประเทศต่างๆ และกำหนดแนวทางทำงานร่วมกัน โดยเฉพาะกรณีที่ประเทศคู่ค้าออกกฎ กติกาการค้าใหม่ๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อการส่งออกของไทย เพื่อจะได้แจ้งเตือนผู้ประกอบการและผู้เกี่ยวข้องต่างๆให้เตรียมพร้อมรับมือได้อย่างทันท่วงทีนั้น

 

ล่าสุด CBAM (มาตรการปรับราคาสินค้าจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในกระบวนการผลิต) ของอียู ที่จะทดลองใช้ 1 ต.ค.นี้ และบังคับใช้เต็มรูปแบบปี 69 แต่ขณะนี้ยังไม่ชัดเจนว่าอียูมีวิธีการวัดการปล่อยก๊าซอย่างไร กำหนดปริมาณเท่าไร หรือ วัดคาร์บอนเครดิตจากค่าอะไร ทำให้ผู้ประกอบการยังเตรียมความพร้อมไม่มากนัก แต่กรมก็ได้ชี้แจงทำความเข้าใจให้เห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องปรับกระบวนการผลิตให้คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

 

CBAM เป็นหนึ่งในมาตรการสำคัญของ European Green Deal ของยุโรป กำหนดให้ผู้นำเข้าสินค้า 7 ประเภท ได้แก่ ซีเมนต์ ปุ๋ย ไฟฟ้า เหล็กและเหล็กกล้า อะลูมิเนียม ไฮโดรเจน และสินค้าปลายน้ำบางรายการ เช่น นอตและสกรูที่ทำจากเหล็กและเหล็กกล้า ฯลฯ ต้องรายงานข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจก รวมถึงต้องซื้อและส่งมอบ ใบรับรอง CBAM ตามปริมาณการปล่อยก๊าซ ประกอบการนำเข้า สำหรับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับไทย ไม่ใช่เฉพาะกับผู้ผลิตสินค้า 7 กลุ่มนี้เท่านั้น แต่รวมถึงผู้ผลิตสินค้ากลางน้ำและปลายน้ำจำนวนมากที่ใช้สินค้า 7 กลุ่มมาผลิตด้วย

 

ช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา กรมได้พัฒนาผู้ผลิต ผู้ส่งออกไทย ให้มีความรู้ด้านบีซีจี โมเดล (เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน เศรษฐกิจสีเขียว) และปรับปรุงกระบวนการผลิตตามบีซีจี โมเดล ที่ลดการปล่อยก๊าซ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น กิจกรรมเสริมสร้างศักยภาพและส่งเสริมผู้ประกอบการไทยสู่ความยั่งยืน เฟส 2, ผลักดันผู้ประกอบการบีซีจี ฮีโร่ 10 ราย ที่ผ่านการคัดเลือกจากรุ่น 1 ให้ได้รับฉลากคาร์บอนฟุต ปรินต์ของผลิตภัณฑ์ เป็นผู้ประกอบการที่ดำเนินธุรกิจคาร์บอนต่ำ ลดการปล่อยคาร์บอนอย่างเป็นรูปธรรม, คัดเลือกผู้ประกอบการบีซีจี ฮีโร่ (รุ่น 2) ไม่น้อยกว่า 50 ราย เพื่อประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้สินค้าบีซีจีไทยในต่างประเทศ เป็นต้น.



เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า