Newsความร่วมมือเกษตร ‘สหรัฐ-อาเซียน’ ก.เกษตร หารือสภาธุรกิจสหรัฐอเมริกา-อาเซียน ดันความร่วมมือด้านเกษตรและนวัตกรรมดิจิทัล

ความร่วมมือเกษตร ‘สหรัฐ-อาเซียน’ ก.เกษตร หารือสภาธุรกิจสหรัฐอเมริกา-อาเซียน ดันความร่วมมือด้านเกษตรและนวัตกรรมดิจิทัล

นายนราพัฒน์ แก้วทอง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังหารือร่วมกับนายไมเคิล มิคาลัค รองประธานกรรมการอาวุโสและกรรมการผู้จัดการประจำภูมิภาค สภาธุรกิจสหรัฐอเมริกา – อาเซียน (US-ASEAN Business Conncil : USABC) พร้อมด้วย นายเศรษฐเกียรติ กระจ่างวงษ์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดร. วนิดา กำเนิดเพ็ชร์ ผู้อำนวยการสำนักการเกษตรต่างประเทศ และผู้แทนหน่วยงานสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ว่า 

 

USABC และภาคเอกชนสหรัฐได้เข้ารับทราบข้อมูลนโยบายเกษตรของไทยและการมีส่วนร่วมของภาคเอกชน เพื่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจของไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืน ซึ่งกระทรวงเกษตรฯ ได้นำหลัก 5 ยุทธศาสตร์ ในการพัฒนาด้านการเกษตรของไทยให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติและนโยบายรัฐบาล ได้แก่ 

 

1.ยุทธศาสตร์ตลาดนำการผลิต 

2.ยุทธศาสตร์เทคโนโลยีเกษตร 

  1. ยุทธศาสตร์ 3S คือ Safety-Security-Sustainability 
  2. ยุทธศาสตร์การบริหารเชิงรุกแบบบูรณาการกับทุกภาคส่วน 

5.ยุทธศาสตร์เกษตรกรรมยั่งยืนตามแนวศาสตร์พระราชา 

 

เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้เกษตรกร ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีนวัตกรรมเกษตร รวมถึงความร่วมมือเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในภาคเกษตรสู่ระบบอาหารและเกษตรที่ยั่งยืน  
         

สำหรับการหารือในวันนี้ กระทรวงเกษตรฯ ดำเนินงานการขับเคลื่อนนโยบายเทคโนโลยีเกษตร 4.0 โดยนำเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นเครื่องมือในการเชื่อมโยงเทคโนโลยีจากต้นน้ำถึงปลายน้ำ ไม่ว่าจะเป็นการนำข้อมูล Big Data

ด้านการเกษตรมาใช้ การส่งเสริมตลาด E-Commerce และการสนับสนุนและผลักดันสินค้าสู่ธุรกิจเกษตร (Agribusiness) รวมถึงการสร้าง Young Smart Farmer เพื่อมุ่งพัฒนาสินค้าทางการเกษตรให้เป็น Smart Production ให้มีคุณภาพสูงและปลอดภัย เพื่อรองรับเกษตร 4.0 ซึ่งภาคเอกชนมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาเกษตรและหากมีความร่วมมือระหว่างกัน ก็จะเป็นผลประโยชน์ร่วมกัน
         

นายนราพัฒน์ฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า ความสำคัญของโมเดลเศรษฐกิจ BCG ในการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมผสมผสานภูมิปัญญา ยกระดับผลผลิตเกษตรสู่มาตรฐานสูง เพื่อนำไปสู่เป้าหมายของการเป็นประเทศที่มีรายได้สูง และบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่ง BCG Model เป็นหัวใจหลักในการประชุมระดับผู้นำเอเปคที่เพิ่งผ่านพ้นไป ทั้งนี้ หวังว่าภาคเอกชนสหรัฐฯ จะร่วมสนับสนุน BCG model ตามเป้าหมายร่วมกันของเอเปค 2022 และสานต่อในวาระการเป็นเจ้าภาพเอเปคของสหรัฐฯ ในปี 2023

#TheStructureNews

#USABC #กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

อดีตวิศวกรโครงการ ระดับผู้จัดการ จบปริญญาตรีวิศวกรรมเครื่องกล จาก พระจอมเกล้าธนบุรี และ โท ด้าน Advanced Manufacturing Engineering จาก University of South Australia มีความสนใจในเรื่องประวัติศาสตร์ การเมือง และสวัสดิการสังคม

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า