Newsช่วยคนไทยมีบ้าน หรือช่วยบริษัทอสังหาฯ ? ‘ส.ส. ก้าวไกล’ ตั้งคำถามต่อมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรัฐบาล ชี้ทำท้องถิ่นสูญเสียรายได้เกือบ 2.4หมื่นล้าน

ช่วยคนไทยมีบ้าน หรือช่วยบริษัทอสังหาฯ ? ‘ส.ส. ก้าวไกล’ ตั้งคำถามต่อมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรัฐบาล ชี้ทำท้องถิ่นสูญเสียรายได้เกือบ 2.4หมื่นล้าน

สืบเนื่องจากการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านภาคอสังหาริมทรัพย์ของคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 9 เม.ย. 2567 ทำให้นายวรภพ วิริยะโรจน์ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ออกมาวิจารณ์นโยบายดังกล่าวผ่านสื่อโซเชียลมีเดียด้วยการตั้งคำถามว่า เป็นการช่วยให้คนไทยมีบ้าน หรือช่วยให้บริษัทอสังหาริมทรัพย์โละสต็อกบ้าน และระบุว่าอาจจะเข้าข่ายมีผลประโยชน์ทับซ้อน

 

“ผมคิดว่า มี 2 ประเด็นใหญ่ ที่สะท้อนแนวนโยบายที่น่ากังวลไปจนถึงเข้าข่ายผลประโยชน์ทับซ้อนของรัฐบาลเศรษฐา” นายวรภพระบุ

 

และระบุถึงมาตรการที่น่ากังวลได้แก่การลดค่าธรรมเนียมโอนอสังหาฯ (จาก 2% เป็น 0.01%) และค่าจดทะเบียนจำนอง (จาก 1% เป็น 0.01%) จากมาตรการเดิม ที่กำหนดให้เฉพาะบ้านราคาไม่เกิน 3 ล้านบาท ปรับเป็นรวมไปถึงบ้านราคาไม่เกิน 7 ล้านบาท

 

แต่สำหรับโครงการสินเชื่อบ้าน (ไม่เกิน 3 ล้านบาท/ราย) และโครงการบ้าน BOI (ไม่เกิน 1.5ล้านบาท/หลัง) นั้น นายวรภพระบุว่าเป็นมาตรการที่เป็นประโยชน์ต่อคนไทย

 

นายวรภพระบุว่าบ้านราคาไม่เกินหลังละ 3 ล้าน ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายของมาตรการเดิมนั้น ในท้องตลาดมีเหลือไม่มาก อีกทั้งเป็นการให้ความช่วยเหลือให้แก่ผู้ซื้อบ้านที่มีรายได้น้อย แต่บ้านราคาช่วง 3-7 ล้านบาท ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายใหม่นั้น มีเหลือขายอยู่มากถึง 46% 

 

“หรืออีกในความหมายนึงคือ บ้านค้างสตอคของกลุ่มทุนอสังหาริมทรัพย์ อยู่ที่ราคา 3 – 7 ล้านบาท/หลัง ไม่ใช่ที่ราคาต่ำกว่า 3 ล้านบาท/หลัง ซึ่งมาตรการเดิม ที่กำหนดให้เฉพาะบ้านราคาไม่เกิน 3 ล้านบาท ยังพอเข้าใจได้ว่า วัตถุประสงค์หลักเพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจและเป็นนโยบายที่เอื้อให้ผู้ที่มีรายได้น้อย สามารถมีบ้านเป็นของตัวเองได้ง่ายขึ้น 

 

กลับกลายเป็นว่าในครั้งนี้วัตถุประสงค์หลักของการเปลี่ยนเงื่อนไข เอาผู้มีรายได้น้อยมาบังหน้า แต่เนื้อแท้กลับเอื้อให้บริษัทอสังหาริมทรัพย์ที่มีสต็อคบ้านเหลือ ขายไม่ออก สามารถเร่งขายบ้านออกได้ง่ายขึ้น!” นายวรภพระบุ

 

นอกจากนี้ นายวรภพยังระบุด้วยว่าการลดค่าธรรมเนียมการโอน จะส่งผลกระทบต่อรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (เทศบาล, อบต., และ กทม.) โดยระบุว่าจะทำให้ท้องถิ่นสูญเสียรายได้ถึง 23,822 ล้านบาท/ปี

 

“จากเดิมที่รายได้ท้องถิ่นมีน้อยนิดอยู่แล้ว รัฐบาลออกมาตรการนี้มาเป็นการซ้ำเติมเพราะกระทบรายได้ของท้องถิ่นโดยตรง แต่กลับไม่มาพร้อมกับการชดเชยรายได้ให้ท้องถิ่น สะท้อนแนวนโยบายของรัฐบาลชุดนี้ที่ ไม่ให้ความสำคัญกับท้องถิ่น” นายวรภพระบุ

 

นายวรภพระบุพาดพิงว่านายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีนั้น เคยเป็นผู้บริหารและเจ้าของบริษัทอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่ของประเทศ พร้อมกับการตั้งคำถามว่ารัฐบาลกำลังช่วยเหลือใครกันแน่

 

“ผมจึงขอตั้งคำถามตัวโตๆ กับมาตรการของรัฐบาลนี้ว่า เป็นมาตรการกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์ช่วยให้คนรายได้น้อยมีบ้าย หรือ เพื่อกลุ่มทุนอสังหาริมทรัพย์ให้โละบ้านค้างสตอคให้หมด ? นายวรภพระบุ



เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า