Newsองค์การอนามัยโลก (WHO) ยกไทยเป็นแชมป์ด้านสาธารณสุข และรับมือโควิด-19 ได้อย่างยอดเยี่ยม

องค์การอนามัยโลก (WHO) ยกไทยเป็นแชมป์ด้านสาธารณสุข และรับมือโควิด-19 ได้อย่างยอดเยี่ยม

องค์การอนามัยโลก ยกไทยเป็น “แชมป์” ด้านสาธารณสุข เปิดกว้าง เปิดใจ ให้หน่วยงานสากลประเมินความเข้มแข็งด้านสุขภาพ

 

นายพลพีร์ สุวรรณฉวี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวระบุว่า ล่าสุด ประเทศไทยเพิ่งได้รับข่าวดี เมื่อนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้รับหนังสือจากองค์การอนามัยโลก หรือ WHO โดยนายแพทย์เท็ดรอส อันฮานอม กีเบรเยซุส ผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลก เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายนที่ผ่านมา

 

เนื้อความด้านในระบุว่า ขอบคุณประเทศไทยในฐานะ “แชมป์เปียน” ซึ่งมีการเตรียมความพร้อมด้านระบบสาธารณสุข ไปจนถึงการวางระบบดูแลสุขภาพประชาชนแบบถ้วนหน้า (Universal Health and Preparedness Review (UHPR)) ไว้อย่างยอดเยี่ยม และนับตั้งแต่เดือนเมษายนที่ผ่านมา ประเทศไทยได้กลายมาเป็นประเทศนำร่องด้านการวางระบบสุขภาพ ที่น่าชื่นชม นี่คือหนึ่งในประเทศแรกๆ ของโลก และเป็นประเทศแรกของอาเซียน ที่เปิดกว้างให้หน่วยงานสากลเข้ามาประเมิน เป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญในการยกระบบสาธารณสุขทั่วโลก สำหรับจุดเด่นของประเทศไทย ซึ่งเราได้รับรายงานมาจากการลงพื้นที่ตรวจสอบ ประกอบไปด้วย

  1. ระบบการประสานงานด้านสาธารณสุขที่แข็งแกร่ง
  2. ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่ยอดเยี่ยม บนรากฐานที่เข็มแข็งของระบบสุขภาพปฐมภูมิ
  3. การสนับสนุนงาน โดยผู้บริหารระดับต่างๆ และความทุ่มเทอุทิศตนของคนทำงานในภาคส่วน ที่ร่วมแรงร่วมกันปฏิบัติภารกิจ ทุกอย่างขับเคลื่อนสอดประสานกัน เพื่อรักษาชีวิตประชาชน ยกระดับคุณภาพชีวิตคนไทย ไปจนถึงการพัฒนาเครื่องมือต่างๆ ในการพัฒนาระบบสาธารณสุข รวมไปถึงการวางกฎ ตีกรอบด้านภาษี เพื่อดูแลเรื่องการควบคุมยาสูบและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

 

ในปีนี้ การประชุมด้านสุขภาพ สำนักงานเลขาธิการให้ความสำคัญในเรื่องของการทบทวน การเตรียมความพร้อมกรณีภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขและสุขภาพถ้วนหน้า (UHPR) ที่ทุกประเทศสมาชิกต่างให้ความสำคัญ เพื่อร่วมกันออกแบบการพัฒนางานสาธารณสุข สำหรับการเตรียมพร้อมเรื่องสุขภาพ ไปจนถึงการรับมือเหตุไม่คาดฝัน และความยืดหยุ่นต่อสถานการณ์สาธารณสุข ทั้งหมดได้มาโดยการเรียนรู้จากประสบการณ์ของไทย และอีก 3 ชาติ ที่ให้องค์การอนามัยโลกได้เข้ามาศึกษาระบบสุขภาพ

 

“ขอให้ไทยรักษาความเป็นเลิศด้านสาธารณสุข ในฐานะของแชมป์เปียนต่อไป และขอให้ประเทศไทยยังคงร่วมโครงการนี้เพื่อประโยชน์ของสมาชิก WHO ประสบการณ์ใหม่ๆ จากทุกประเทศนำร่อง จะส่งต่อถึงประเทศไทยและทั่วโลก เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของระบบสาธารณสุขร่วมกัน”

 

นายพลพีร์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ความสำเร็จที่เกิดขึ้น ส่วนสำคัญอย่างหนึ่งที่ต้องพูดถึงคือความสามารถในการจัดการวิกฤติสาธารณสุข ช่วงที่มีโควิด-19 ระบาด ซึ่งไทยได้รับการยกย่องว่าทีมผู้บริหารนับตั้งแต่รัฐมนตรีลงมา มีการตัดสินใจรับมือกับสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างดี เท่าทันสถานการณ์ และเข้าใจความเป็นจริง สิ่งเหล่านี้ มาจากความโปร่งใสในการถ่ายทอดข้อมูล และประสบการณ์ที่กระทรวงสาธารณสุขเคยจัดการกับโรคระบาดมาก่อนหน้านี้ เป็นบทเรียนที่พร้อมถูกปรับใช้อยู่ตลอดเวลา โดยมุ่งหวังในการดูแลชีวิตประชาชนเป็นสำคัญ

 

ที่สำคัญคือความมุ่งมั่นทำงานของฝ่ายปฏิบัติงาน แพทย์ พยาบาล นักเทคนิกการแพทย์ อสม. ที่อุทิศตนอย่างหนัก เพื่อประคองระบบให้อยู่รอดมาได้ เช่นเดียวกับความเสียสละของภาคประชาชน ซึ่งต้องไม่ลืมขอบคุณกับการให้ความร่วมมือกับทางภาครัฐ เหล่านี้คือสิ่งที่เราพร้อมถ่ายทอดให้โลกได้เรียนรู้ เป็นประสบการณ์ว่าทำไมไทยถึงเป็นประเทศ ซึ่งไม่ใหญ่โต แต่กลับติดท็อปเท็นของโลก ประเทศที่มีระบบสุขภาพยอดเยี่ยมที่สุด

 

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในหนังสือดังกล่าวมีข้อความส่วนตัวจากผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลก ถึงนายอนุทิน ว่า “with much gratitude” แปลเป็นไทยว่า “ด้วยความซาบซึ้ง” ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ที่ดีของบุคคลทั้งสอง

 

ทั้งนี้ เมื่อช่วงเดือนเมษายนที่ผ่านมา WHO เลือกประเทศไทยให้เป็นประเทศต้นแบบลำดับที่ 3 ในการนำร่องจัดกิจกรรมการทบทวนการเตรียมความพร้อมกรณีภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขและสุขภาพถ้วนหน้า จากการรับมือการระบาดใหญ่ของโรคโควิด-19 เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์ แนวปฏิบัติที่ดี และข้อเสนอแนะระหว่างประเทศสมาชิกองค์การอนามัยโลก ซึ่งข้อสรุปเบื้องต้นจากการจัดกิจกรรมฯ โดยคณะผู้เชี่ยวชาญองค์การอนามัยโลกและทีมประเทศไทย พบว่า ประเทศไทยมีการบริหารจัดการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขกรณีโควิด-19 เป็นอย่างดี มีความยืดหยุ่น ปรับตัวไปตามสถานการณ์ และเน้นการปฏิบัติได้จริง โดยพบปัจจัยสำคัญ คือ

 

4. มีการสนับสนุนโดยผู้บริหารระดับสูงที่กำหนดนโยบายประเทศ

5. ระบบสาธารณสุขไทยมีความเข้มแข็งจากการลงทุนในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าและระบบปฐมภูมิมาอย่างต่อเนื่องกว่า 4 ทศวรรษ

6. มีความร่วมมือเชื่อมต่อทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ เอกชน ประชาสังคม และภาคการศึกษา รวมถึง อสม.

7. มีกระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมกับประชาชนและชุมชน

8. มีการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล นวัตกรรมและการวิจัยเพื่อการตัดสินใจบนพื้นฐานข้อมูล

 

#TheStructureNews

#องค์การอนามัยโลก #อนุทินชาญวีรกูล #โควิด-19

อดีตวิศวกรโครงการ ระดับผู้จัดการ จบปริญญาตรีวิศวกรรมเครื่องกล จาก พระจอมเกล้าธนบุรี และ โท ด้าน Advanced Manufacturing Engineering จาก University of South Australia มีความสนใจในเรื่องประวัติศาสตร์ การเมือง และสวัสดิการสังคม

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า