Uncategorizedไม่เอาศพในสื่อ ดร.วรัชญ์ ครุจิต ชี้ต้องช่วยกันรณรงค์ เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงในระบบสื่อ

ไม่เอาศพในสื่อ ดร.วรัชญ์ ครุจิต ชี้ต้องช่วยกันรณรงค์ เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงในระบบสื่อ

จากเหตุการณ์กราดยิงในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก องค์การบริหารส่วนตำบลอุทัยสวรรค์ อ.นากลาง จ.หนองบัวลำภู เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม ที่ผ่านมา

 

ผศ.ดร.วรัชญ์ ครุจิต รองคณบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ได้ออกมากดดันเรียกร้องจริยธรรมสื่อไม่ให้ส่งต่อภาพผู้เสียชีวิต โดยโพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กว่า

 

ผมได้เริ่มรณรงค์ #ไม่เอาศพในสื่อ ในเว็บไซต์ Change.org มาตั้งแต่กรณีคุณปอ ทฤษฎี เมื่อ 6 ปีที่แล้ว จนนโยบายนี้ได้รับเลือกให้ไปเป็นโจทย์ในรายการ นโยบาย by ประชาชน ทางช่องไทยพีบีเอส ซึ่งวันนั้น มีประชาชนในสตูดิโอที่ร่วมโหวตเห็นด้วยเป็นส่วนใหญ่ แต่ก็ยังมีบางส่วนที่ลังเล และไม่เห็นด้วย

 

จนวันนี้ ผมคิดว่าเรามาได้ไกลประมาณหนึ่ง แต่ที่มาได้ไกล ไม่ใช่สื่อ แต่เป็นจิตสำนึกของประชาชน ที่เรียกร้องจริยธรรมสื่อมากขึ้น โดยเฉพาะการเรียกร้องไม่ให้ส่งต่อภาพผู้เสียชีวิตจากกรณีต่างๆ และสร้างแรงกดดันให้สื่อต้องระมัดระวังตัวเองมากขึ้น

 

ที่ผ่านมา ผมไปพูดหรือให้สัมภาษณ์เรื่องจริยธรรมสื่อ บ่อยจนเบื่อมากและไม่อยากพูดแล้ว เพราะรู้สึกว่าพูดไปก็โลกสวยและพูดซ้ำๆ แต่ไม่มีความเปลี่ยนแปลง แถมเป็นศัตรูกับสื่อ หรือชวนทัวร์ลงมาบูลลี่อีก และก็ดูเหมือนสื่อจะไม่เรียนรู้เสียที เคสแล้วเคสเล่าที่ทำให้ชาวบ้านก่นด่า และเสียความศรัทธาไปจนแทบจะเหลือน้อยลงมาก เกิดขึ้นทีผมก็ต้องให้สัมภาษณ์ที ถ้าไม่เกิดเลยแล้วผมไม่ต้องให้สัมภาษณ์เรื่องนี้จะเป็นสิ่งที่ดีที่สุด แต่สุดท้ายพอมีสื่อมาขอสัมภาษณ์ ผมก็ต้องพูด เพราะทุกครั้งก็กลับมาที่คำถามเดิมคือ ถ้าไม่ทำแล้วใครจะทำ? (หลายครั้งก็ย้อนแย้ง เพราะสื่อที่มาสัมภาษณ์ ก็ทำผิดจริยธรรมเสียเองจนโดนด่าหรือถูกผมร้องเรียนมาแล้ว)

 

และผมย้ำเสมอว่า การยกระดับจริยธรรมสื่อ อย่าไปคาดหวังให้สื่อเปลี่ยนแปลง เกิดจิตสำนึก เกิดจริยธรรมได้เอง เพราะสื่อไม่ใช่มนุษย์ สื่อคือระบบ สื่อคือธุรกิจที่อยู่รอดได้ด้วยรายได้ มนุษย์ในองค์กรสื่อ ก็คือ องค์ประกอบในระบบ ที่มีเป้าหมายเหมือนสิ่งมีชีวิตทั่วไปก็คือ การเอาตัวรอด ด้วยค่าโฆษณา เรตติ้ง ยอดไลก์ ยอดแชร์

 

แต่สิ่งที่เราต้องทำ คือการให้เจ้าของตัวจริง คือประชาชนของสังคม ช่วยกันกดดันและเปลี่ยนแปลงระบบให้อยู่ในกรอบแนวปฏิบัติที่ดี (หรืออย่างน้อยแค่พอรับได้) ซึ่งต้องใช้พลังความเข้มแข็งทางจริยธรรมและสติปัญญาของคนในสังคม ที่ต้องมากพอที่จะสร้าง “มวลวิกฤต” (critical mass) ที่ใหญ่พอจะเปลี่ยนวัฒนธรรมที่ฝังรากลึกมายาวนาน บวกกับความมักง่าย และความเห็นแก่ตัวในการเอาตัวรอด ที่ระบบบีบบังคับให้เกิดขึ้นกับองค์กรสื่อ

 

จากเหตุการณ์ที่โคราช มาถึงที่หนองบัวลำภูในวันนี้ แม้จะเป็นเรื่องโศกสลดอย่างใหญ่หลวง แต่ผมเห็นแนวโน้มที่ดีขึ้น ของความเข้มแข็งของจิตสำนึกของคนในสังคม เกี่ยวกับการเรียกร้องและคาดหวังการทำหน้าที่ที่ดีของสื่อ รวมถึงทุกคนที่ใช้สื่อ ที่ทำให้เห็นว่า พลังในการต่อสู้กับระบบของสื่อที่แท้จริง คือพลังของประชาชน ที่ส่งเสียงไปยังองค์กร และโดยเฉพาะสปอนเซอร์โฆษณา ว่าเราต้องการสื่อที่ไม่ละเมิดจริยธรรม ไม่ใช่ด่าไปดูไป และผมจะทำหน้าที่ของตัวเองต่อไปเท่าที่จะทำได้

 

ถ้าสื่อเป็นสุนัขเฝ้าบ้าน (watchdog) ผมก็จะขอเป็นสุนัขเฝ้าสุนัขตัวนี้อีกที จนกว่าจะหมดแรงเห่า และหวังว่าจะมีผู้ช่วยเฝ้าสื่อเพิ่มขึ้นอีกเรื่อยๆในอนาคตครับ

อดีตวิศวกรโครงการ ระดับผู้จัดการ จบปริญญาตรีวิศวกรรมเครื่องกล จาก พระจอมเกล้าธนบุรี และ โท ด้าน Advanced Manufacturing Engineering จาก University of South Australia มีความสนใจในเรื่องประวัติศาสตร์ การเมือง และสวัสดิการสังคม

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า