Newsรับมอบเกียรติบัตรจาก UNESCO รับรอง โคราชจีโอพาร์ค เป็น อุทยานธรณีโลกแห่งที่ 2 ของไทย ทำให้นครราชสีมา กลายเป็นจังหวัดที่มี 3 มรดกโลกอยู่ร่วมกัน

รับมอบเกียรติบัตรจาก UNESCO รับรอง โคราชจีโอพาร์ค เป็น อุทยานธรณีโลกแห่งที่ 2 ของไทย ทำให้นครราชสีมา กลายเป็นจังหวัดที่มี 3 มรดกโลกอยู่ร่วมกัน

6 มิ.ย. 66 นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (รมว.ทส.) ในฐานะประธานคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอุทยานธรณี พร้อมด้วย นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงฯ นางอรนุช หล่อเพ็ญศรี อธิบดีกรมทรัพยากรธรณี นำคณะผู้แทนอุทยานธรณีโคราชและเจ้าของพื้นที่ นำโดย นายสยาม ศิริมงคล ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา เข้ารับมอบเกียรติบัตรการรับรองอุทยานธรณีโคราช เป็น อุทยานธรณีโลก 

 

ต่อจาก พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้แทนประเทศไทย รับมอบเกียรติบัตรจาก Mr. Libing Wang ผู้แทนสำนักงานยูเนสโก ประเทศไทย และในโอกาสเดียวกันนี้ นายวราวุธ ยังได้กล่าวและมอบเอกสารแสดงความยินดีแก่ รศ.ดร.อดิศร เนาวนนท์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา และ ผศ.ดร.ประเทือง จินตสกุล ผู้อำนวยการอุทยานธรณีโคราช ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล 

 

โดย นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวขอบคุณผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกหน่วยงานที่ได้ร่วมมือกันผลักดันและดำเนินการให้อุทยานธรณีโคราชได้รับการรับรองเป็นอุทยานธรณีโลกของยูเนสโกเป็นแห่งที่ 2 ของประเทศไทย ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยเป็นที่รู้จักแก่นักท่องเที่ยวทั่วโลก ทั้งในด้านแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่ยังคงความอุดมสมบูรณ์ และเป็นแหล่งเรียนรู้ทางธรณีที่มีคุณค่า จึงขอให้ช่วยกันประชาสัมพันธ์ให้เป็นที่รู้จักทั้งในและต่างประเทศ

 

ด้านนายวราวุธ ได้กล่าวว่า การที่อุทยานธรณีโคราช ได้รับการรับรองเป็นอุทยานธรณีโลกในครั้งนี้ ทำให้จังหวัดนครราชสีมาของประเทศไทย เป็นจังหวัดที่มีพื้นที่รับรองจากยูเนสโกรวม 3 พื้นที่ อยู่ในจังหวัดเดียว ได้แก่ พื้นที่สงวนชีวมณฑลสะแกราช ที่ได้รับการรับรองเมื่อปี พ.ศ. 2519 พื้นที่มรดกโลก กลุ่มป่าดงพญาเย็น – เขาใหญ่ ที่ได้รับการรับรองเมื่อปี พ.ศ. 2548 และ พื้นที่อุทยานธรณีโลก โคราชจีโอพาร์ค ที่ได้รับการรับรองในปี พ.ศ. 2566 นี้ 

 

ซึ่ง “อุทยานธรณีโคราช” มีความโดดเด่นทั้งลักษณะภูมิประเทศแบบเควสตา (Cuesta) หรือ เขารูปอีโต้ เป็นส่วนหนึ่งของเควสตาโคราชที่มีความยาว 1,700 กิโลเมตร มีแหล่งซากดึกดำบรรพ์ช้างโบราณ โดยพบมากที่สุดถึง 10 สกุล รวมทั้งยังเป็นแหล่งไดโนเสาร์ ที่พบฟอสซิลมากกว่า 1,000 ชิ้น และพบไดโนเสาร์สายพันธุ์ใหม่ของโลกถึง 4 สกุล






เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า