Newsทวงคืนบึงรับน้ำให้คนกรุงเทพ ‘พงศ์พรหม’ พาเครือข่ายบึงรับน้ำ พบรองผู้ว่าฯ หารือทำ Flood Way

ทวงคืนบึงรับน้ำให้คนกรุงเทพ ‘พงศ์พรหม’ พาเครือข่ายบึงรับน้ำ พบรองผู้ว่าฯ หารือทำ Flood Way

วันพุธที่ 27 กรกฎาคม ที่ผ่านมา คุณพงศ์พรหม ยามะรัต และสมาคมอนุรักษ์ศิลปกรรมและสิ่งแวดล้อม (Sconte) นำโดย  คุณฉัตรวิชัย พรหมทัตตเวที นายกสมาคม  ดร. วีระพันธุ์ ชินวัตร อุปนายกสมาคม และ คุณปองขวัญ ลาซูส  อุปนายกสมาคม  พร้อมด้วยตัวแทนจากเพจบึงรับน้ำคู้บอนเพื่อคนกรุงเทพ  คุณ ชวลักษณ์ เวียงวิเศษ  คุณ พีรญา สว่างวงศ์ และคุณ อรชร ทานากะ  

.

ได้เข้าพบ รศ. ดร. วิศณุ ทรัพย์สมพล  รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร  และ คุณภิมุข สิมะโรจน์  เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร  ณ  ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร  เพื่อนำเสนอแนวทางแก้ปัญหาน้ำท่วมในระยะสั้น  กลาง  และยาว 

รวมทั้งเหตุผลความจำเป็นที่กรุงเทพฯ จะต้องมีโครงการบึงรับน้ำคลองคู้บอนและบางชัน  ในฝั่งตะวันออก  เพื่อให้มีพื้นที่พักน้ำหรือหน่วงน้ำไว้ในยามที่ปริมาณน้ำฝนเอ่อล้น  ก่อนที่จะระบายสู่ระบบคูคลองหรืออุโมงค์ระบายน้ำในเวลาที่เหมาะสมต่อไป

.

ดร. วีระพันธุ์ ชินวัตร  อุปนายกสมาคม  ได้นำเสนอให้มีการจัดหาพื้นที่รับน้ำให้ได้มากที่สุดในกรุงเทพฯ  เพื่อหน่วงน้ำไว้ก่อนในช่วงเวลาที่ฝนตกหนักและน้ำไม่สามารถระบายผ่านระบบคูคลองและอุโมงค์ยักษ์ที่มีอยู่ในปัจจุบันได้ทัน 

ตัวอย่างเช่น การมีพื้นที่เก็บน้ำใต้ถนนในเขตศูนย์กลางชุมชนชานเมือง การมีพื้นที่แก้มลิงหรือบึงรับน้ำในเขตกรุงเทพฯ ตอนเหนือและตะวันออก เช่น บางเขนและคู้บอน (ซึ่งเป็นพื้นที่แรกที่น้ำจะระบายลงสู่พื้นที่กทม.ชั้นในตอนล่าง) เพื่อช่วยหน่วงน้ำในช่วงฝนตกหนัก ไม่ให้ระบายมาสมทบกับปริมาณน้ำที่สะสมในเขตพื้นที่ชั้นใน ให้ท่วมน้อยลง ก่อนที่จะระบายสู่แม่น้ำเจ้าพระยา 

.

นอกจากนี้  ดร. วีระพันธุ์  ได้เสนอให้กรุงเทพมหานครจัดหาพื้นที่ช่องทางน้ำหลากหรือ Flood Way หรือที่เรียกว่า ช่องทางผันน้ำ หรือ Flood Diversion

โดยสามารถทำร่วมกับโครงการวงแหวนรอบที่ 3 ที่กำลังอยู่ในระหว่างการดำเนินการ เพื่อผันน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาตอนเหนือ กทม. ให้น้ำสามารถไหลลงผ่านรอบนอกของกรุงเทพฯ ทั้งในฝั่งตะวันตกและตะวันออกของกรุงเทพฯ  ลงสู่อ่าวไทยโดยตรงโดยไม่ต้องผ่านแม่น้ำเจ้าพระยา

.

ซึ่งจำเป็นต้องรีบปรับแบบการก่อสร้างให้มีแนวคลองระบายน้ำคู่ขนานไปกับถนนวงแหวนด้วย หากสามารถทำ Flood Way ได้ตามแนวถนนวงแหวนรอบที่ 3  จะสามารถระบายน้ำได้ไม่ต่ำกว่า 800 – 1,000 ลบ. เมตร/วินาที  ซึ่งจะช่วยระบายน้ำได้อย่างรวดเร็ว ก็จะช่วยลดปริมาณน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาช่วงที่ผ่านกทม.ตอนบน ลงสู่ตอนล่างได้อย่างมีนัยะสำคัญ

ทั้งนี้  ดร. วีระพันธุ์  ยังได้ย้ำถึงปัญหาสภาวะภูมิอากาศโลกเปลี่ยนแปลง ซึ่งมีผลให้น้ำทะเลหนุนสูงขึ้นทุกปี  ทางแก้ปัญหาน้ำท่วมในระยะยาวคือการทำแก้มลิงในทะเล  โดยมี 4 รูปแบบ  คือ 

  1. รูปแบบ Thames Barrier ซึ่งเป็นการสร้างเขื่อนที่ปากแม่น้ำเจ้าพระยาเพื่อป้องกันน้ำทะเลหนุนสูง และมีระบบสูบเพื่อพร่องน้ำออกสู่อ่าวไทย เพื่อเตรียมรับน้ำในช่วงฤดูน้ำหลาก  ข้อดีคือ ใช้เวลาในการก่อสร้างไม่เกิน 4-5 ปี  ลงทุนหลักหมื่นล้านบาท (คำนวณไว้เมื่อกว่า 10 ปีที่แล้ว)
  2. การสร้างแก้มลิงขนาดเล็กในทะเลตรงปากแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งเป็นการกั้นน้ำทะเลหนุนตั้งแต่ปากแม่น้ำ  และสามารถสูบน้ำออกจากเขื่อนเมื่อต้องการลดระดับน้ำบริเวณปากแม่น้ำเพื่อการพร่องน้ำไว้ล่วงหน้า  ซี่งจะช่วยให้น้ำระบายลงมาตามแม่น้ำเจ้าพระยาได้รวดเร็วยิ่งขึ้น (Gravity flow)  วิธีนี้คล้ายวิธีที่ 1 แต่ใช้เวลาก่อสร้างและงบประมาณมากกว่า
  3. การสร้างแก้มลิงขนาดเล็กขนานไปตามปริเวณชายฝั่งปากอ่าว ในทะเลตรงปากแม่น้ำเจ้าพระยาและฝั่งซ้ายขวาของปากแม่น้ำ เพื่อรองรับน้ำที่ระบายจาก Flood Way ถนนวงแหวนรอบที่ 3 และใช้การสูบพร่องน้ำระบายออกจากพื้นที่แก้มลิงในทะเลทั้งสองฝั่ง  เพื่อให้น้ำจากแนว Flood Way และน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาระบายสู่ทะเลได้เร็วยิ่งขึ้น  วิธีนี้ใช้ระยะเวลาก่อสร้างและงบประมาณมากกว่า 2 วิธีแรก
  4. การสร้างแก้มลิงขนาดใหญ่บริเวณก้นอ่าวไทย เพื่อรองรับน้ำที่ระบายจาก Flood Way ถนนวงแหวนรอบที่ 3 และใช้การสูบพร่องน้ำระบายออกจากพื้นที่แก้มลิงในทะเลทั้งสองฝั่ง  วิธีการนี้จะป้องกันน้ำทะเลหนุนได้เหมือนวิธีที่ 1 และป้องกันชายฝั่งถูกกัดเซาะได้  อีกทั้งยังสามารถช่วยฟื้นฟูพื้นที่ชายฝั่งทะเลที่หายไปให้กลับคืนมา รวมถึงการใช้แนวเขี่อนดังกล่าวเป็นเส้นทางlogistic เพื่อ bypass กทม.และใช้รองรับเป็นพื้นที่เศรษฐกิจประมงชายฝั่งและเมืองแบบgreen cityได้ด้วย แต่วิธีนี้ใช้เวลาการก่อสร้างและงบประมาณมากที่สุด 

ทั้ง 4 กรณีนี้จะต้องมีการศึกษาในรายละเอียด เพื่อให้สามารถรักษา หรือ ลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมเดิมให้ได้มากที่สุด ไปพร้อมกับการพัฒนาสิ่งแวดล้อมใหม่ที่สนับสนุนสิ่งแวดล้อมเดิม และมีประตูน้ำเปิดปิดให้เรือสามารถเข้าออกบริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยาได้ในช่วงปกติ

การศึกษาวิจัยดังกล่าว หากได้รับทุนเบื้องต้น (Seed Fund) จากกทม.และกทม.นำผลการศึกษาดังกล่าวไปช่วยจุดประเด็น (Ignite) ให้เกิดเป็นนโยบายของรัฐบาล ก็จะเป็นการดีต่อสถานการณ์ระบายน้ำในพื้นที่กทม.และปริมณฑลในระยะยาวอีกด้วย

.

คุณ ชวลักษณ์ เวียงวิเศษ  ตัวแทนจากเพจบึงรับน้ำคู้บอนเพื่อคนกรุงเทพ  ได้เสนอว่าพื้นที่ฝั่งตะวันออกของกรุงเทพฯ ซึ่งประกอบด้วยเขตคลองสามวา คันนายาว สายไหม มีนบุรี และลาดกระบัง  เป็นพื้นที่ที่อยู่นอกเหนือคันกันน้ำพระราชดำริ และยังไม่มีระบบป้องกันน้ำท่วมแต่อย่างใด 

ในขณะที่กรุงเทพฯ มีการขยายตัวไปทางฝั่งตะวันออกมากขึ้นเรื่อยๆ  จึงจำเป็นต้องมีพื้นที่แก้มลิงเพื่อหน่วงน้ำจากทางเหนือไว้ก่อนเพื่อลดปัญน้ำท่วมในฝั่งตะวันออกและป้องกันไม่ให้น้ำท่วมเข้าสู่กรุงเทพฯ ชั้นใน

.

คุณ ชวลักษณ์  ได้ชี้แจงต่อไปว่าสำนักการระบายน้ำได้ทำการสำรวจโครงการบึงรับน้ำทั้ง 6 โครงการภายหลังมหาอุทกภัยปี 2554  และต่อมาได้ทำการประชาพิจารณ์ร่วมกับชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบในปี 2560  ปรากฏว่า  โครงการบึงรับน้ำบริเวณคลองคู้บอน  เขตคลองสามวา  และโครงการบึงรับน้ำบริเวณคลองบางชัน  เขตมีนบุรี  ไม่มีประชาชนคัดค้าน 

ซึ่งกรุงเทพมหานครสามารถจัดทำโครงการบึงรับน้ำทั้งสองแห่งนี้ได้ทันที  จะเป็นการลดปัญหาน้ำท่วมให้แก่ประชาชนที่อยู่อาศัยในสองเขตนี้อย่างมาก 

ทั้งนี้คุณ ชวลักษณ์ได้ยกตัวอย่างความสำเร็จของโครงการบึงรับน้ำหนองบอนซึ่งเป็นโครงการแก้มลิงตามแนวพระราชดำริของรัชกาลที่ 9  ที่ช่วยแก้ปัญหาน้ำท่วมพื้นที่เขตประเวศ  สวนหลวงและพระโขนง  โดยใช้เวลา 1-2 วันในการระบายน้ำจากพื้นที่  จากเดิมซึ่งใช้เวลานานเป็นสัปดาห์

รศ. ดร. วิศณุ ทรัพย์สมพล  รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้แสดงความสนใจในโครงการแก้มลิงในทะเลแต่มองว่าอาจอยู่นอกเหนือขอบเขตความรับผิดชอบของกรุงเทพมหานคร

พร้อมยังชี้แจงต่อคณะว่าขณะนี้ กรุงเทพมหานครได้รับพื้นที่ที่เอกชนบริจาคมาจำนวนหนึ่ง ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาความเหมาะสมในการจัดทำเป็นพื้นที่รับน้ำ ในส่วนโครงการบึงรับน้ำบริเวณคลองคู้บอน เขตคลองสามวา และโครงการบึงรับน้ำบริเวณคลองบางชัน เขตมีนบุรี 

รศ. ดร. วิศณุ  ขอเวลาประมาณ 2-3 เดือนเพื่อติดตามการออกพระราชกฤษฎีกาเวนคืนที่ดิน หรืออีกแนวทางหนึ่งอาจมีการนำกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการสร้างความปรองดองเพื่อเจรจากับเจ้าของที่ดินเดิมในการจัดสร้างโครงการบึงรับน้ำทั้งสองแห่งเพื่อประโยขน์สาธารณะ โดยจะประสานงานร่วมกับคุณพงศ์พรหม ยามะรัต  ต่อไป

 

#TheStructure

#บึงรับน้ำคู้บอน #กทม #FloodWay #Sconte

อ้างอิง :

link
link

อดีตวิศวกรโครงการ ระดับผู้จัดการ จบปริญญาตรีวิศวกรรมเครื่องกล จาก พระจอมเกล้าธนบุรี และ โท ด้าน Advanced Manufacturing Engineering จาก University of South Australia มีความสนใจในเรื่องประวัติศาสตร์ การเมือง และสวัสดิการสังคม

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า