News“ขอให้สองท่าน หันหน้าเข้าหากัน ไม่ใช่เผชิญหน้ากันเพียงแต่ว่าจะต้องเอาชนะ แล้วใครจะชนะ ไม่มีทาง มีแต่แพ้ คือต่างคนต่างแพ้ แล้วที่แพ้ที่สุดคือประเทศชาติ ประชาชน แล้วจะมีประโยชน์อะไร ที่จะทะนงตัวว่าชนะ เวลาอยู่บนกองสิ่งปรักหักพัง…” พระราชทานพระบรมราโชวาท ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช, 20 พ.ย. 35

“ขอให้สองท่าน หันหน้าเข้าหากัน ไม่ใช่เผชิญหน้ากันเพียงแต่ว่าจะต้องเอาชนะ แล้วใครจะชนะ ไม่มีทาง มีแต่แพ้ คือต่างคนต่างแพ้ แล้วที่แพ้ที่สุดคือประเทศชาติ ประชาชน แล้วจะมีประโยชน์อะไร ที่จะทะนงตัวว่าชนะ เวลาอยู่บนกองสิ่งปรักหักพัง…” พระราชทานพระบรมราโชวาท ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช, 20 พ.ย. 35

ย้อนกลับไปเมื่อ 31 ปีที่แล้ว ประเทศไทยเผชิญหน้ากับเหตุการณ์ความแตกแยก และความไม่สงบทางการเมือง ที่มีความขัดแย้งกันรุนแรง มีทีท่าว่าจะบานปลายร้ายแรง สร้างความกังวลแก่สังคมว่าอาจจะลุกลามจนถึงขั้นสงครามกลางเมือง

 

จุดเริ่มต้นของปัญหาเกิดขึ้นจากการก่อรัฐประหารของคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ในวันที่ 23 ก.พ. 34 โดยมีพลเอกสุจินดา คราประยูร เป็นรองหัวหน้าคณะ รสช. และในเวลาต่อมาได้มีการจัดการเลือกตั้งทั่วไปขึ้นในวันที่ 22 มี.ค. 35 ซึ่งพรรคสามัคคีธรรม เป็นผู้ชนะการเลือกตั้ง ได้รับคะแนนเสียงมากที่สุด

 

พรรคร่วมรัฐบาลในเวลานั้น มี 5 พรรคมี ส.ส. ในสังกัด 195 เสียง ในขณะที่พรรคฝ่ายค้านมี 4 พรรค มี ส.ส. ในสังกัด 163 เสียง แต่ทว่า นายณรงค์ วงศ์วรรณ หัวหน้าพรรคสามัคคีธรรม กลับถูกสหรัฐอเมริกาประกาศขึ้นบัญชีดำ จากความใกล้ชิดกับผู้ค้ายาเสพติด จึงไม่สามารถขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีได้ พรรคร่วมรัฐบาลจึงเสนอชื่อพลเอกสุจินดา ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี และได้รับการโปรดเกล้า ฯ เมื่อวันที่ 7 เม.ย. 35 



พรรคฝ่ายค้าน ไม่เห็นด้วยกับการขึ้นสู่ตำแหน่งของพลเอกสุจินดา เห็นว่าพลเอกสุจินดา ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง อีกทั้งก่อนหน้านี้ พลเอกสุจินดาเคยให้สัมภาษณ์หลายครั้งว่าจะไม่ขึ้นสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี แต่สุดท้ายกลับเสียสัตย์ สร้างกระแสความไม่พอใจขึ้นในสังคม

 

พลตรีจำลอง ศรีเมือง หัวหน้าพรรคพลังธรรม (ขณะนั้นมี ส.ส. 41 เสียง) ออกมาเคลื่อนไหว จัดการชุมนุมประท้วงรัฐบาลตั้งแต่ช่วงเดือน เม.ษ. และเหตุการณ์ความขัดแย้งทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ ตามลำดับ ฝ่ายรัฐบาลเริ่มมีการเรียกระดมกำลังทหารเข้ามารักษาการในกรุงเทพในช่วงเดือนพฤษภาคม มีการประกาศเคอร์ฟิวในวันที่ 18 พ.ค. 35 และเกิดการปะทะกันระหว่างเจ้าหน้าที่กับมวลชน ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ “เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ”

ถึงแม้ว่าเจ้าหน้าที่จะเข้าควบคุมตัวพลตรีจำลองได้ในวันที่ 18 พ.ค. แต่ประชาชนยังไม่หยุดการชุมนุม เริ่มมีการก่อความไม่สงบ มีการทุบทำลายป้อมจราจรและสัญญาณไฟจราจร ในขณะที่ฝ่ายรัฐบาลเตรียมการเข้าปราบปรามด้วยการใช้กำลัง จนทำให้สังคมกังวลว่าเหตุการณ์อาจลุกลามจนกลายเป็นสงครามกลางเมือง

ท่ามกลางความตึงเครียดที่ใกล้จะถึงจุดแตกหัก แต่แล้ว คืนวันที่ 20 พ.ค. 35 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (พระปรมาภิไธยในขณะนั้น) พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ 2 แกนนำคู่ขัดแย้ง คือ พลเอกสุจินดา นายกรัฐมนตรี และพลตรีจำลอง แกนนำผู้ประท้วงเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท โดยทรงมีพระบรมราโชวาทเตือนสติของทั้ง 2 ฝ่าย โดยมีความตอนหนึ่งว่า

 

“ขอให้สองท่าน หันหน้าเข้าหากัน ไม่ใช่เผชิญหน้ากันเพียงแต่ว่าจะต้องเอาชนะ แล้วใครจะชนะ ไม่มีทาง มีแต่แพ้ คือต่างคนต่างแพ้ แล้วที่แพ้ที่สุดคือประเทศชาติ ประชาชน แล้วจะมีประโยชน์อะไร ที่จะทะนงตัวว่าชนะ เวลาอยู่บนกองสิ่งปรักหักพัง…”  

 

หลังจากนั้น วันที่ 23 พ.ค.  มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ พระราชกำหนดนิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำความผิดเนื่องในการชุมนุมกันระหว่างวันที่ 17 – 21 พ.ค. 35 และในวันที่ 24 พ.ค. พลเอกสุจินดา และพลตรีจำลอง แถลงการณ์ร่วมกัน โดยพลเอกสุจินดา ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ให้นายอานันท์ ปันยารชุนกลับมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง บริหารประเทศจนมีการเลือกตั้งทั่วไปครั้งใหม่ในวันที่ 13 ก.ย. 35 นายชวน หลีกภัย จากพรรคประชาธิปัตย์ ได้เป็นนายกรัฐมนตรี 



 




เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า