Newsรู้ทัน “ภาษีคาร์บอน” หลังสหรัฐเตรียมใช้กฎหมายบีบ เตือนผู้ส่งออกต้องจับตาและปรับตัว

รู้ทัน “ภาษีคาร์บอน” หลังสหรัฐเตรียมใช้กฎหมายบีบ เตือนผู้ส่งออกต้องจับตาและปรับตัว

บริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด รายงานว่า จากที่วุฒิสภาของสหรัฐได้เสนอร่างกฎหมาย Clean Competition Act เป็นสิ่งที่ผู้ส่งออกไทยต้องจับตามอง ร่างกฏหมายประกอบด้วยมาตรการกำหนดการกลไกราคาคาร์บอน (Carbon Pricing) สำหรับสินค้าที่ผลิตในประเทศ และมาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดน (Carbon Border Adjustment Mechanism: US-CBAM) 

 

สำหรับสินค้านำเข้า กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย ได้แก่ การผลิตและกลั่นปิโตรเลียม ปิโตรเคมี ปุ๋ย ไฮโดรเจน กรดอะดิพิก ซีเมนต์ เหล็กและเหล็กกล้า อะลูมิเนียม กระจก เยื่อกระดาษและกระดาษ และเอทานอล  

 

ในปี 2024 (พ.ศ.2567 ) ผู้ผลิตสินค้าจากอุตสาหกรรมเป้าหมายในสหรัฐฯ ที่มีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงกว่าค่าเฉลี่ย จะต้องจ่ายภาษีตามปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกินกว่าค่าเฉลี่ย โดยเกณฑ์ค่าเฉลี่ยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากอุตสาหกรรมในประเทศจะลดลงทุกปี ขณะที่อัตราภาษีปีแรกที่มีการจัดเก็บจะเท่ากับ 55 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตันคาร์บอน ในปีถัดไปเพิ่มขึ้นตามดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) รายปีบวกด้วยอัตรา 5% 

 

สินค้าที่นำเข้าในประเทศสหรัฐฯ จะเริ่มใช้ในปี 2026 โดยจำแนกสินค้านำเข้าออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ 1. สินค้าตามอุตสาหกรรมเป้าหมาย ซึ่งจะต้องจ่ายภาษีคาร์บอนเช่นเดียวกับสินค้าที่ผลิตในประเทศ  และ 2. สินค้าสำเร็จรูปใช้วัตถุดิบตามอุตสาหกรรมเป้าหมายเป็นส่วนประกอบ และมีน้ำหนักของวัตถุดิบเกินกว่าที่กำหนดตามเกณฑ์ที่จะต้องจ่ายภาษีคาร์บอนเช่นเดียวกับสินค้าที่ผลิตในประเทศ 

 

โดยในปี 2026 – 2027 กำหนดน้ำหนักไว้ที่ 500 ปอนด์ (ประมาณ 226 กิโลกรัม) และในปี 2028 เป็นต้นไปปรับเกณฑ์น้ำหนักเป็น 100 ปอนด์ (ประมาณ 45 กิโลกรัม) โดยประเทศที่อยู่ในกลุ่ม Least developed countries (LDCs) ตามหลักเกณฑ์ขององค์การสหประชาชาติ (UN) จะได้รับการยกเว้นภาษีดังกล่าว 

 

ในระยะสั้นผู้ส่งออกของไทยในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย ควรมีการจัดเก็บข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกซึ่งจะต้องมีการรายงานเป็นประจำสำหรับ EU-CBAM ที่จะเริ่มบังคับใช้ในปี 2023 และ US-CBAM ที่อยู่ระหว่างการพิจารณา ขณะที่ในระยะปานกลางและระยะยาว ผู้ประกอบการควรเร่งลงทุนเพื่อปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากขึ้น มิฉะนั้นผู้ประกอบการจะเผชิญกับต้นทุนในการส่งออกสินค้าที่เพิ่มสูงขึ้น อันจะส่งผลต่อความสามารถในการแข่งขันในอนาคต  

 

#TheStructureNews

#สหรัฐ #มาตรการภาษีคาร์บอน

อ้างอิง :[1] https://tna.mcot.net/business-1008295

 

อดีตวิศวกรโครงการ ระดับผู้จัดการ จบปริญญาตรีวิศวกรรมเครื่องกล จาก พระจอมเกล้าธนบุรี และ โท ด้าน Advanced Manufacturing Engineering จาก University of South Australia มีความสนใจในเรื่องประวัติศาสตร์ การเมือง และสวัสดิการสังคม

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า