Articlesสร้างธุรกิจที่ดีให้ยอดเยี่ยม แนวคิดจากหนังสือธุรกิจในตำนาน “Good to Great”

สร้างธุรกิจที่ดีให้ยอดเยี่ยม แนวคิดจากหนังสือธุรกิจในตำนาน “Good to Great”

หนังสือธุรกิจ “Good to Great” ของจิม คอลลินส์ (Jim Collins) ถือได้ว่าเป็นหนึ่งในหนังสือด้านธุรกิจที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงในศตวรรษที่ 21 โดยนับตั้งแต่ที่ถูกตีพิมพ์ครั้งแรกใน พ.ศ. 2544 หนังสือฉบับนี้มียอดจำหน่ายไปแล้วมากกว่า 4 ล้านเล่ม ได้รับการแปลออกไปถึง 32 ภาษาทั่วโลก อีกทั้งแนวคิดของเขานั้น ยังเป็นแรงบันดาลใจในการดำเนินธุรกิจของศตวรรษใหม่ ที่ไม่คำนึงถึงแต่เพียงแค่ผลกำไร หากแต่ยังมองไปถึงบทบาทของบริษัทที่มีต่อสังคมอีกด้วย

 

จิม คอลลินส์และทีมนักวิจัยของเขาทำการศึกษาค้นคว้าเพื่อเฟ้นหาบริษัทที่ “ดี” (Good) 1,435 บริษัท ติดตามผลประกอบการ 40 ปี กลั่นกรองจนเหลือบริษัทที่ “ดีเยี่ยม” (Great) เพียง 11 บริษัท  เฟ้นหาจุดร่วมบริษัทดีเยี่ยมทั้ง 11 เหล่านี้มีร่วมกัน

 

สร้างและยึดมั่นในจุดแข็งของตนเอง สู้ “ตามแนวทางของเม่น”

บทแรกของหนังสือ กล่าวถึง “แนวทางของเม่น” (Hedgehog Concept) ซึ่งแนวทางการเอาตัวรอดของเม่นนั้นมีเพียงอย่างเดียวคือการป้องกันตัวด้วยการขดตัวให้กลม เอาด้านหนามออกเพื่อการป้องกันตัว ซึ่งแนวทางของเม่นนี้ ถึงแม้ว่ามันจะเผชิญหน้ากับนักล่าที่เฉลียวฉลาดอย่างสุนัขจิ้งจอกที่มีรูปแบบการโจมตีที่หลายหลาก แต่มันก็ยังเอาตัวรอดมาได้ทุกครั้งไป

 

จิม เสนอว่าบริษัทที่ดีเยี่ยมทุกบริษัทล้วนแต่ทำตัวเป็นตัวเม่น ยึดมั่นและพัฒนาความเชี่ยวชาญของตนเองอยู่ตลอดเวลา โดยหมั่นตั้งคำถามทบทวนตนเองอยู่ตลอดใน 3 คำถามเหล่านี้

1 อะไรที่เราเชี่ยวชาญที่สุด (และไม่เชี่ยวชาญที่สุด)

2 อะไรที่เป็นตัวขับเคลื่อนธุรกิจของเราให้เกิดประโยชน์กับลูกค้า และหุ้นส่วนธุรกิจได้มากที่สุด

3 เราปรารถนาที่จะเป็นอะไร




คนที่ใช่ 

 

ทุก ๆ ธุรกิจประกอบขึ้นจากกลุ่มคนที่เข้ามาทำงานร่วมกัน ถึงแม้จะมีภารกิจ บทบาท หน้าที่ที่แตกต่างกัน แต่ต่างก็เพื่อตอบสนองต่อเป้าหมายและผลสำเร็จเดียวกัน ดังนั้นธุรกิจที่ยอดเยี่ยมต่างล้วนแต่มองหาและจ้างบุคลากรที่ใช่ และให้โอกาสพวกเขาได้ทำงานตามบทบาทหน้าที่ของตน

การจัดวางบุคลากรที่มีทัศนคติในการทำงานที่สอดคล้องต่อตำแหน่งหน้าที่ และความรับผิดชอบที่ได้รับมอบหมายคือสิ่งสำคัญที่องค์กรจะต้องพิจารณาอย่างยิ่งยวด

 

จิมเสนอว่า “คนที่ไม่ใช่ ให้เอาออกไปราวกับว่าเขาเป็นไวรัส” เนื่องจากคนที่ไม่ใช่นั้น จะทำลายบรรยากาศความร่วมมือในการทำงาน ถ่วงรั้งความเจริญขององค์กร

นอกจากนี้ ความเป็นผู้นำที่แข็งแกร่ง (Strong Leadership) คือปัจจัยสำคัญในการนำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จ แต่ความเป็นผู้นำในที่นี้ ไม่ได้หมายถึงผู้นำเผด็จการ แต่ผู้นำที่ดีนั้น จะต้องมีลักษณะของผู้ตามที่ดีที่รู้จักรับฟังผู้อื่น มีความสามารถในการชี้นำผู้อื่นให้ปฏิบัติงานในทิศทางที่ถูกต้อง และสามารถสร้างความร่วมมือระหว่างบุคคลให้เกิดการทำงานไปในทิศทางเดียวกันได้อีกด้วย

 




วัฒนธรรมแห่งความมีวินัย ภายใต้ทิศทางที่ถูกต้อง

จิมเสนอว่า “เมื่อคุณผสมผสานวัฒนธรรมแห่งระเบียบวินัยเข้ากับจริยธรรมของการเป็นผู้ประกอบการ คุณจะได้รับการเล่นแร่แปรธาตุอันมหัศจรรย์ซึ่งส่งผลให้ได้ผลงานที่เหนือกว่า”

 

ทุกสิ่งเริ่มต้นจากคนมีวินัย นำผู้มีวินัยเข้าร่วมกับองค์กรตั้งแต่แรก นำผู้มีระเบียบวินัยเข้าสู่กรอบความคิดที่เป็นระบบระเบียบ และองค์กรจะต้องมีระเบียบวินัยมากเพียงพอที่จะเผชิญหน้ากับ “ความจริงที่โหดร้าย” โดยรักษาศรัทธาที่มุ่งมั่นแน่วแน่ว่าเราทำได้และจะสร้างหนทางที่ยิ่งใหญ่ให้สำเร็จ

สิ่งสำคัญที่สุดคือองค์กรจะต้องมีวินัยในการแสวงหาความเข้าใจจนกว่าจะได้แนวทางของตัวเม่นของตนเอง เพื่อคงขีดความสามารถที่แท้จริงขององค์กร ในการก้าวข้ามอุปสรรคที่ขวางกั้น

 




แนวคิดในการบริหารธุรกิจของจิม คอลลินส์ ถือได้ว่าเป็นกระแสใหม่ในการดำเนินธุรกิจของโลก ที่พยายามมองหาสมดุลระหว่างแนวคิดในการแสวงหาผลกำไรของฝ่ายทุนนิยม กับแนวคิดด้านสวัสดิภาพสังคมของฝ่ายสังคมนิยม เพื่อการสร้างผลประโยชน์ร่วมระหว่างธุรกิจ, พนักงาน และสังคม โดยอาศัยการวิจัยค้นหาจุดร่วมของบริษัทที่ยอดเยี่ยมในศตวรรษที่ 20 จนได้แนวทางการดำเนินธุรกิจที่กำลังเป็นกระแสใหม่นี้ขึ้นมา

 

ในหนังสือ Good to Great กล่าวถึงบริษัทที่ยอดเยี่ยมในอเมริกาเป็นหลัก เนื่องจากจิม คอลลินส์ และทีมนักวิจัยของเขาเป็นชาวอเมริกัน แต่ในประเทศไทยของเรา ก็เชื่อว่ามีหลายบริษัทชั้นนำที่ยอดเยี่ยมที่ก่อตั้งขึ้นมาด้วยวัตถุประสงค์ในการรับใช้สังคมตามแนวทางของจิมด้วยเหมือนกัน

ตัวอย่างเช่น ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) มีเป้าหมายเพื่อเป็นธนาคารของคนไทย เพื่อธุรกิจไทย และคนไทยทั้งปวง ป้องกันการครอบงำทางการเงินจากนักลงทุนต่างชาติ และในปัจจุบัน ธนาคารไทยพาณิชย์ยังคงใช้ความสามารถด้านการเงินและการธนาคารเพื่อการรับใช้สังคมไทยอยู่

หรือแม้แต่ บริษัทปูนซีเมนต์ไทย (SCG) จัดตั้งเพื่อการก่อสร้างประเทศไทย มีส่วนร่วมในการสร้างประเทศให้เข้าสู่ยุคสมัยใหม่ ลดการพึ่งพาปูนซีเมนต์จากต่างชาติ 

 

ตลอดจน ปตท. (PTT) ที่ถูกก่อตั้งขึ้นเพื่อเป็นบริษัทผู้ให้บริการด้านพลังงานของประเทศไทย ที่ถึงแม้ว่าในปัจจุบัน โลกทั้งใบกำลังตื่นตัวกับภาวะโลกร้อน (Climate Change) จนทำให้เกิดกระแสการลดการใช้พลังงานลง ซึ่งนี่สร้างผลกระทบต่อธุรกิจของ ปตท. แต่ ปตท. ยังยึดมั่นใน “แนวทางของตัวเม่น” ปรับตัวเองให้เข้ากับยุคสมัย โดยยังยึดมั่นในจุดแข็งของความเป็น “ผู้ให้บริการพลังงานของประเทศ” อยู่เหมือนเดิม

ปตท. ลงทุนในธุรกิจพลังงานสะอาดอย่างต่อเนื่อง ให้ความสำคัญกับการต่อสู้กับปัญหาโลกร้อนไปพร้อม ๆ กับการสร้างสังคมพลังงานสะอาดไปพร้อม ๆ กัน เพื่อการรับใช้สังคม และประเทศชาติของเรา อย่างมีระเบียบวินัย อีกทั้งแสดงเจตนารมณ์ด้วยการประกาศเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนในปี 2583  และมุ่งสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ในปี 2593 

 

นี่เป็นเพียงการวิเคราะห์คร่าวๆ และการหยิบยกเนื้อหาที่น่าสนใจของหนังสือมาแบ่งปัน หากใครสนใจเนื้อหาอย่างละเอียด ลองหาหนังสือ “Good to Great” ของจิม คอลลินส์ (Jim Collins) มาอ่านกัน

 

โดยศิราวุธ ภุมมะกสิกร

อ้างอิง


Jim Collins (2001), “GOOD TO GREAT”, HarperCollins, ISBN 78-0-06-662099-2

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า