
ญี่ปุ่นเตรียมควบคุม ‘การตลาดแอบแฝง’ ทั้งออนไลน์-ออฟไลน์ ชี้เป็นการนำเสนอที่ไม่เหมาะสม
25 ธันวาคม 2565 สำนักข่าวเคียวโดนิวส์ รายงานว่า รัฐบาลญี่ปุ่นเตรียมควบคุมการทำตลาดแบบแอบแฝง (stealth marketing) ซึ่งเป็นแนวทางปฏิบัติที่บริษัทต่างๆ จ่ายเงินให้กับผู้มีอิทธิพลหรือคนดังเพื่อโฆษณาผลิตภัณฑ์หรือบริการแบบแอบแฝง ไม่ว่าจะดำเนินการทางออนไลน์หรือออฟไลน์
ทั้งนี้การตลาดแบบแอบแฝงครอบคลุมหลายด้าน เช่น การใช้สินค้าแบรนด์ต่างๆ ในภาพยนตร์หรือรายการทีวี การให้อินฟลูเอนเซอร์ ดารา คนดังใช้สินค้าหรือการรีวิวสินค้า โดยไม่ระบุว่าเป็นการโฆษณาที่ได้รับสปอนเซอร์จากแบรนด์ต่างๆ
โดยรายงานจากสำนักงานคุ้มครองผู้บริโภคญี่ปุ่น (Consumer Affairs Agency : CAA) ระบุว่า การตลาดแบบแอบแฝงจะถูกจัดประเภทเป็น “การนำเสนอที่ไม่เหมาะสม” ภายใต้กฎหมายว่าด้วยเรื่องของสมนาคุณที่ไม่สมเหตุสมผลและการนำเสนอที่ทำให้เข้าใจผิด
โดยชี้ว่า การตลาดแบบแอบแฝง ซึ่งไม่เปิดเผยข้อมูลผลิตภัณฑ์หรือบริการถือเป็นปัญหาเนื่องจากเป็นการขัดขวางความสามารถของผู้บริโภคในการตัดสินใจซื้ออย่างมีเหตุผล
ทั้งนี้ รัฐบาลญี่ปุ่นวางแผนจะประกาศคำสั่งดังกล่าวอย่างเร็วที่สุดประมาณเดือนมิถุนายนปีหน้า โดยผู้ฝ่าฝืนจะต้องโทษทางปกครอง ซึ่งรวมถึงจะได้รับหนังสือเตือนเพื่อป้องกันไม่ให้กระทำความผิดซ้ำ และถูกประจานเพื่อให้เกิดความอับอายต่อสาธารณชนด้วย
โศกนาฏกรรมจากสงครามข่าวสาร และความเบาปัญญาของผู้นำ ผู้ตัดสินใจจากเสียงข่าวลือ จนเป็นเหตุให้ทหาร 4 แสนคนถูกฝังตายทั้งเป็น
“พอเคยได้ออกทีวี โต้วาทีชนะ 3 นิ้ว ก็พองขน.. ข้ารักเจ้าที่สุด รู้เรื่องสถาบันเหนือกว่าใคร .. เปิดทางให้เหล่าสาวก เข้าใจว่า ท็อปนิวส์เปลี่ยนสี ถูกซื้อไปแล้ว..”
ลพบุรีเจอปัญหาหนัก หลังฝูงลิงจำนวนมากในเมือง ทำนักท่องเที่ยวหนีหาย และนักลงทุนจากจีนเองไม่กล้าเข้ามาลงทุน
ศิราวุธ ภุมมะกสิกร
อดีตวิศวกรโครงการ ระดับผู้จัดการ จบปริญญาตรีวิศวกรรมเครื่องกล จาก พระจอมเกล้าธนบุรี และ โท ด้าน Advanced Manufacturing Engineering จาก University of South Australia มีความสนใจในเรื่องประวัติศาสตร์ การเมือง และสวัสดิการสังคม