
ISIS ลุยตลาด NFT หวังเผยแพร่แนวคิดก่อการร้าย ด้าน OpenSea ลบรูปดังกล่าวออกแล้ว
Wall Street Journal รายงานโดยอ้างนักวิเคราะห์ข่าวกรองว่า ผลงานศิลปะดิจิทัล NFT หลายชิ้นที่มีเนื้อหายกย่องกลุ่มก่อการร้าย (ISIS) ชี้ให้เห็นว่าพวกญิฮาดกำลังทดลองใช้เทคโนโลยีระบบการเงินแบบไร้ตัวกลาง (DeFi) ในการหาแหล่งเงินทุน เผยแพร่ข้อความก่อการร้าย และดึงดูดสมาชิกใหม่
ผลงานศิลปะดิจิทัลในรูปแบบโทเค็น (NFT) ที่ประดับตราโลโก้ของกลุ่มก่อการร้าย พร้อมข้อความสรรเสริญการโจมตีกลุ่มตาลิบันในอัฟกานิสถานเมื่อเดือนที่แล้ว ในถูกสร้างขึ้นเพื่อทดสอบว่าโมเดลบล็อกเชนว่าสามารถนำมาใช้เพื่อระดมทุนและดึงดูดสมาชิกให้เข้าร่วมกลุ่มได้หรือไม่
ครีเอเตอร์ ที่เป็น”แฟนพันธุ์แท้” ของกลุ่ม IS ได้อัพโหลดภาพศิลปะดิจิทัลทั้งหมด 3 ภาพเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งประกอบไปด้วย IS-NEWS #01, ภาพชายสวมหน้ากากป้องกันแก๊สพิษแบบเต็มหน้าที่กำลังผลิตวัตถุระเบิด และภาพที่แสดงบุหรี่ข้างแปรงสีฟันแบบดั้งเดิมเพื่อย้ำเตือนให้งดสูบบุหรี่ ซึ่งถือเป็นอาชญากรรมภายใต้การปกครองของรัฐอิสลาม ทั้งนี้ ภาพดังกล่าว ไม่ได้มีการแลกเปลี่ยนหรือซื้อ-ขายจริง
อย่างไรก็ตาม OpenSea ซึ่งเป็นหนึ่งในตลาดซื้อ-ขาย NFT ที่ใหญ่ที่สุด ได้ลบภาพ IS-NEWS #01 เนื่องจากละเมิด “นโยบายต่อต้านการยุยงให้เกิดความเกลียดชังและความรุนแรง” และได้ลบบัญชีของผู้โพสต์ภาพดังกล่าว นอกจากนี้ เว็บไซต์โซเชียลมีเดียและตลาดกลางหลายแห่งที่ขายภาพศิลปะ NFT จะทำการลบลิงก์ NFT ที่น่ารังเกียจเหล่านี้ จึงมีความเป็นไปได้ต่ำมากที่ภาพศิลปะที่มีเนื้อหาล่วงละเมิดเหล่านี้จะสามารถสร้างเงินได้
ในขณะที่ นักวิจารณ์ตลาดซื้อ-ขาย NFT และเทคโนโลยีระบบการเงินแบบไร้ตัวกลาง (DeFi) แย้งว่างานศิลปะดิจิทัลสามารถใช้เป็นแหล่งรายได้ไม่เพียงแต่สำหรับผู้ก่อการร้ายเท่านั้น แต่ยังรวมถึงผู้ค้าอาวุธและยาเสพติด รัฐบาลที่ทุจริต และมิจฉาชีพที่น่ารังเกียจอื่นๆ ที่ไม่ต้องการเปิดเผยตัวตนและต้องการความเป็นส่วนตัว
Boeing เจรจา ก.กลาโหม คดีฉ้อโกงเครื่อง 737 Max ตก เพื่อประเมิน “ผลกระทบจากคำสารภาพผิด” ที่อาจมี ต่อการเซ็นสัญญากับภาครัฐในอนาคต
บราซิลแซงเบลเยียม ขึ้นแท่นตลาดส่งออก EV ของจีน โดยส่งออกทั้ง Hybrid และ EV ไปยังบราซิลเพิ่มขึ้น 13 เท่า ด้าน BYD มีแผนตั้งโรงงานผลิตเพิ่มเติมในบราซิล
ศาลชั้นต้นสั่งเรียกคืน ‘มาสด้า 2’ ปี 2014-2018 ทุกคัน พร้อมให้ชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้บริโภค! หลังโดนฟ้องเครื่องสั่น-เร่งไม่ขึ้น
ศิราวุธ ภุมมะกสิกร
อดีตวิศวกรโครงการ ระดับผู้จัดการ จบปริญญาตรีวิศวกรรมเครื่องกล จาก พระจอมเกล้าธนบุรี และ โท ด้าน Advanced Manufacturing Engineering จาก University of South Australia มีความสนใจในเรื่องประวัติศาสตร์ การเมือง และสวัสดิการสังคม