NewsiLaw ท้วงติง ‘เศรษฐา’ ชี้แก้รัฐธรรมนูญต้องมีความชัดเจนกว่านี้ ต้องมี สสร.ที่มาจากการเลือกตั้งเท่านั้น

iLaw ท้วงติง ‘เศรษฐา’ ชี้แก้รัฐธรรมนูญต้องมีความชัดเจนกว่านี้ ต้องมี สสร.ที่มาจากการเลือกตั้งเท่านั้น

 iLaw กลุ่มองค์กรเอ็นจีโอที่เคลื่อนไหวทางการเมือง ได้โพสต์ข้อความในเฟสบุ๊คว่า “รัฐธรรมนูญฉบับประชาชนต้องมาจากสภาร่างรัฐธรรมนูญที่มาจากประชาชน” ประกอบกับเนื้อหาที่มีการวิพากษ์วิจารณ์คำแถลงการณ์ของรัฐบาลเศรษฐา ทวีสิน ในประเด็นเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ

 

โดยมีเนื้อหาดังนี้

 

จากคำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ ที่นำโดย เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี จากพรรคเพื่อไทย มีการกำหนดให้การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เป็นหนึ่งในนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล โดยเขียนไว้ในเอกสารคำแถลงหน้าที่ 6 ซึ่งมีสาระสำคัญว่า 

 

รัฐบาลจะแก้ปัญหาความเห็นที่แตกต่างในเรื่องรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 เพื่อให้คนไทยได้มีรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยมากขึ้น โดยยึดรูปแบบการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขและไม่แก้ไขในหมวดพระมหากษัตริย์ 

 

โดยรัฐบาลจะหารือแนวทางในการทำประชามติที่ให้ความสำคัญกับการทำให้ประชาชนทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมออกแบบกฎกติกาที่เป็นประชาธิปไตย ทันสมัยและเป็นที่ยอมรับร่วมกัน รวมถึงการหารือแนวทางการจัดทำรัฐธรรมนูญในรัฐสภา เพื่อให้ประเทศสามารถเดินต่อไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคง”

 

จากคำแถลงนโยบายดังกล่าว ทำให้กลุ่มประชาชนร่างรัฐธรรมนูญมีความกังวลใจ เนื่องจากแนวทางการจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ของรัฐบาลยังไม่มีความชัดเจน และสวนทางกับนโยบายของพรรคเพื่อไทยที่เคยประกาศอย่างชัดเจนว่า จะจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน โดยคงรูปแบบการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข โดยสภาร่างรัฐธรรมนูญที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนและผ่านขั้นตอนการออกเสียงลงประชามติโดยประชาชน 

 

ทางกลุ่มประชาชนร่างรัฐธรรมนูญเล็งเห็นถึงความหวังดีของรัฐบาลที่ต้องการลดความขัดแย้งในการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ จึงต้องกำหนดให้มีการหารือแนวทางการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เสียก่อน และหลีกเลี่ยงที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญ ในหมวดที่ 1 บททั่วไป และหมวดที่ 2 พระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นประเด็นที่มีความละเอียดอ่อนและอ่อนไหวในสังคมไทย

 

แต่เมื่อเป้าประสงค์ของรัฐบาล  คือ การเห็นรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่เป็นประชาธิปไตย ทันสมัย และเป็นที่ยอมรับร่วมกัน รัฐบาลจึงควรเปิดพื้นที่ให้ประชาชนทุกคนได้เป็นผู้ตัดสินใจเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และรัฐบาลหรือรัฐสภาไม่ควรสร้างเงื่อนไขที่จะเป็นข้อจำกัดในการร่างรัฐธรรมนูญโดยประชาชน เพราะท้ายที่สุด การตัดสินใจใดๆ เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญล้วนเป็นฉันทามติของประชาชน ต่างจากการร่างรัฐธรรมนูญ ปี 2560 ที่ร่างขึ้นโดยคนเพียงกลุ่มเดียว และนำไปสู่วิกฤติและความขัดแย้งทางการเมืองที่รุนแรง

กลุ่มประชาชนร่างรัฐธรรมนูญขอเรียกร้องต่อคณะรัฐมนตรีที่นำโดยนายกรัฐมนตรี เศรษฐา ทวีสิน ในสองประเด็นดังนี้

 

  1. ทบทวนนโยบายเกี่ยวกับการจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่อีกครั้ง และพิจารณานำแนวทางการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่ประชาชนเสนอ ได้แก่ ‘ให้จัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับโดยสภาร่างรัฐธรรมนูญที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน’ มาเป็นแนวทางหลัก เนื่องจากประชาชนเสียงข้างมากได้ให้การสนับสนุนแนวทางดังกล่าวผ่านการออกเสียงเลือกตั้งเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2566

 

  1. คณะกรรมการศึกษาแนวทางการทำประชามติที่คณะรัฐมนตรีจะตั้งขึ้นควรจะพิจารณานำคำถามประชามติที่ประชาชนได้ระดมชื่อกันกว่าสองแสนรายชื่อเสนอมาเป็นแนวคิดหลักในการกำหนดคำถามประชามติ เพราะเป็นคำถามที่มีความครอบคลุมและชัดเจนในการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่โดยสภาร่างรัฐธรรมนูญที่มาจากประชาชน เพื่อเป็นหลักประกันให้กระบวนการร่างรัฐธรรมนูญต่อจากนี้เป็นไปอย่างชอบธรรมและเป็นที่ยอมรับทั่วกัน

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า