NewsHere We Go 15

Here We Go 15

สัปดาห์ที่ผ่านมา มีการถกเถียงในสังคมของคนกลุ่มหนึ่งเรื่องการรับ ปริญญาจากในหลวง คนกลุ่มหนึ่งในโลกโซเชียลได้ยกตัวอย่างการรับปริญญาของหลายประเทศ ทั้งที่มีพระมหากษัตริย์ และไม่มีพระมหากษัตริย์ ซึ่งมีรูปแบบไม่เหมือนกับประเทศเรา บ้างก็เลยอยากเปลี่ยนวิธีการของบ้านเราให้เหมือนอย่างบ้านเขา

 

คำถามคือ ทำไมต้องไปทำตามเขา ทำแบบของเราก็มีเอกลักษณ์ดีอยู่ ไม่อยากมารับจากในหลวงก็ไม่มีใครว่า ไม่มีใครบังคับ มหาวิทยาลัยกราบบังคมทูลเชิญ ในหลวงก็เสด็จฯ มาพระราชทาน บัณฑิตที่อยากรับจากพระองค์ก็มากัน ใครไม่อยากรับก็ไม่ต้องมา

 

บ้านที่ได้ปริญญาจากในหลวงแต่ละคน ก็เจริญก้าวหน้าดี มีงานทำ มีเงินใช้ มีความสุข ไม่เดือดเนื้อร้อนใจ การได้รับปริญญาจากในหลวง ไม่ได้ทำให้พวกเรามีชีวิตที่ต่ำต้อยหรือตกต่ำ มีภาพรับปริญญาจากในหลวง แถมได้ถ่ายรูปกับพ่อแม่ ปู่ย่าตายายและเพื่อนๆ ดูภาพครั้งใดก็สุขใจทุกครั้ง

 

อาทิตย์ที่ผ่านมา ได้ยินคนกลุ่มหนึ่งคุยกัน รู้สึกสับสน ฟังได้ว่า มีสิ่งดีงามที่บ่งบอกความ เป็นชาติไทย กลับมีหลายคนไม่ชอบ ไม่อยากมีอะไรที่ยึดเหนี่ยว เป็นคนไทยกลับไม่ต้องการรักษาไว้ซึ่งอัตลักษณ์ของตน อ้างเหตุของความไม่จำเป็น ความล้าหลัง ความเหลื่อมล้ำ ไม่เท่าเทียม เสียเวลา

แต่กลับชื่นชมวิถีของชนชาติอื่น

 

ทั้งที่ชาติเหล่านั้นเก็บเกี่ยวเม็ดเงินจากความโบราณของชาติเขา ตึกโบราณ ปราสาทโบราณ พระราชวังโบราณ รูปปั้นจักรพรรดิ กษัตริย์ อัศวินโบราณ อาหาร เพลง ระบำ รำฟ้อน ทั้งนั้น

 

แต่ก็เห็นคนรุ่นใหม่ นักเสรีนิยม เจ้าลัทธิสาธารณรัฐ ก็ไปเช็คอินถ่ายรูปโพสต์โชว์ แต่พอเป็น ความโบราณประวัติศาสตร์เก่าแก่ยาวนานของบ้านเราเอง กลับปฏิเสธ อยากล้มเลิก ทุบทิ้งทำลาย เปลี่ยนเป็นอย่างอื่นมาแทนที่ ช่างน่าประหลาดใจ

 

การปลูกฝังความคิด หรือถูกปลูกฝังกันมาว่าเป็นคนเหมือนกัน ‘ทุกคนต้องเท่ากัน’ ในแง่การปฏิบัติของรัฐต่อประชาชนนั้นเท่ากันคือเรื่องดีและควรทำ แต่หากจะทำให้ทุกคนเท่าเทียมกันหมดนั้นต้องบอกว่า ‘มันไม่มีอยู่จริง’ ไม่ว่าสังคมไหนบนโลกใบนี้

 

ครูกับศิษย์ยังไม่เท่ากันเลย ครูสั่งให้เราต้องทำการบ้านส่ง ทำรายงานส่ง ไม่ส่งไม่ได้คะแนน ทำไม่ดีก็ได้คะแนนน้อย มีคนได้เกียรตินิยม มีจบแบบธรรมดา จบแล้วทำงาน มีหัวหน้า มีเจ้านาย อยู่นานไปก็มีลูกน้อง ไม่เห็นมีอะไรที่เท่ากันเลย

 

ออกไปประท้วงกันทุกวันนี้ คอมเมนต์อะไร ด่าผู้คน ไม่รู้จักกันก็ด่า จะด่าอย่างไร ยังต้องฟังเพื่อน ฟังรุ่นพี่ รอสัญญาณว่าเขาให้คอมเมนต์อย่างไร ให้เดินไปทางไหน ให้ตะโกนด่าใคร ให้พ่นสี เขียนบนถนนว่าอะไร  แล้วถูกจับถูกดำเนินคดีก็ไม่เห็นว่าเท่าเทียมกันตรงไหนเลย

 

จะไปประท้วงก็ต้องไปนั่งรอก่อนเวลาเป็นหลายชั่วโมง คอยเฝ้าดู หน้าจอโทรศัพท์ คนสั่งเขาจะสั่งว่าอะไร ให้ไปทำอะไร แล้วก็ไปทำตาม ไม่รู้ด้วยซ้ำว่าคนสั่งนั่งหลบอยู่ตรงไหน

 

ทุกวันนี้ก็ทะเลาะกัน บ่นกัน เถียงกันเรื่องไม่ให้เกียรติกันเลย ไม่ออกมาดูดำดูดี ปล่อย ให้ตัวเล็กตัวน้อยทำกันเอง ออกมาชุมนุมกันเอง แล้วอย่างนี้มันเท่าเทียมกันตรงไหน?

 

แวะไปดูหมากรุกการเมืองที่เขากำลังเดินกันในอาทิตย์นี้กันหน่อยนึง วันนี้ธรรมนัสเปรียบได้ กับม้าพยศของ พล.อ.ประวิตร วันนี้สะบัดจ๊อกกี้ทิ้งซะแล้ว กลายเป็นม้าที่พร้อมทำอะไรก็ได้ให้ประยุทธ์ พ้นจากการเป็นนายกรัฐมนตรี

 

เที่ยวนี้แกเอาจริงแน่ คงไม่ใช่ทำครึ่งๆกลางๆอย่างคราวที่แล้ว ที่ทำไม่สำเร็จแถมยังถูกปลดจาก รมต.เสียอีก

 

ดูทีท่าจากการให้สัมภาษณ์ ออกหมัดชนิดทุกรูปมวย ภาษานักเลงเขาเรียกว่า ‘จัดเต็ม’ รุ่นพี่รุ่นน้องไม่มีอยู่ในสมองอีกต่อไป แต่ใช่ว่าจะง่ายหวานคอแร้ง ดูประยุทธ์เดินหมากตัวเล็กๆ เช่น ตั้งอดีตคนเสื้อแดง อดีตคนที่เคยเป็นศัตรูกันมากินตำแหน่งในทำเนียบรัฐบาลหลายคน

 

แปลความได้ว่าประยุทธ์ยังไม่ถึงตาจน มีกระดานและหมากให้เดินได้ อีกหลายตา และพร้อมเดินหมากสู้ มาคราวนี้มีอย่างน้อยสองรายการให้ประลองวิทยายุทธ์ คือ ลงมติงบประมาณปี 66 และลงมติไม่ไว้วางใจ

 

เรื่องงบประมาณคงไม่เป็นปัญหา น่าจะผ่านได้ คงพอจะทำให้เห็นทิศทางของการลงมติไม่ไว้วางใจ ซึ่งน่าจะเกิดขึ้นถัดไปในปลายเดือนมิถุนายนหรือต้นเดือนกรกฎาคม

 

เรื่องนี้สำคัญ เป็นเรื่องของศักดิ์ศรี ทำมาแปดปีจะมาล้มเอาวันนั้นเพราะคนชื่อธรรมนัส ถือว่าผิดวิสัยคนชื่อ ประยุทธ์ ประวิตร อนุพงศ์ เสียหมากตัวใดก็ได้ แต่ต้องไม่จนกระดานเพราะหมาก ธรรมนัส ซึ่งไม่ต้องดูดวงดาวหรือตำราใดๆ แน่นอนว่ามันอาจชุลมุนบ้าง แต่จบแน่นอน

 

มีหลายคนพูดว่ารูปหมากกระดานนี้ ประยุทธ์มีทางเลือก 3 ทาง (1) เล่นต่อและรุกจนชนะ  (2) เทหมากในกระดานทิ้ง แล้วเลือกตั้ง เอาหมากมาเดินกันใหม่ (3) เลิกเล่นกลับบ้าน ซึ่งเกิดขึ้นได้ทั้งสามทาง ถามว่าโอกาสจะเกิดทางใดได้มากที่สุด คำตอบคือ “ไม่รู้” ต้องตามดูเขาเดินหมากกันต่อ

 

โดย แกงส้ม

อ้างอิง :

link
link

อดีตวิศวกรโครงการ ระดับผู้จัดการ จบปริญญาตรีวิศวกรรมเครื่องกล จาก พระจอมเกล้าธนบุรี และ โท ด้าน Advanced Manufacturing Engineering จาก University of South Australia มีความสนใจในเรื่องประวัติศาสตร์ การเมือง และสวัสดิการสังคม

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ที่มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้งานเว็บไซต์ได้อย่างเป็นปกติ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อให้เราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมและความสนใจของคุณ

บันทึกการตั้งค่า